X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Do & Don't อาหารแม่ท้อง ไตรมาสแรก

บทความ 8 นาที
Do & Don't อาหารแม่ท้อง ไตรมาสแรก

ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาในการพัฒนาระบบประสาทและการสร้างอวัยวะสำคัญ ทั้งยังเป็นช่วงที่่เปราะบางที่สุด คุณแม่จึงควรได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อย ในแต่ละช่วงอย่างเหมาะสม

Do & Don’t อาหารแม่ท้อง 1 เดือน

คุณแม่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จนกระทั่งประจำเดือนไม่มาจึงทำการทดสอบการตั้งครรภ์ และเมื่อรู้ว่าผลการทดสอบเป็นบวก ก็มีอายุครรภ์ไม่ต่ำกว่า 2-2.5 สัปดาห์แล้ว คุณแม่อาจเป็นกังวลว่า เผลอทำอะไรที่ไม่ดีต่อลูกในท้อง เช่น ยกของหนัก รับประทานอาหารไม่ระวัง เพราะทราบดีว่าช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงมากที่สุด และเป็นช่วงที่มีการพัฒนาสมองของทารกอย่างมากในสามเดือนแรก คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากจนกลายเป็นความเครียดนะคะ คุณแม่สามารถบำรุงลูกน้อยให้แข็งแรงได้ทันทีที่คุณแม่รู้ตัวว่าตั้งท้อง และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพดังนี้ค่ะ

อาหารแม่ท้อง 1 เดือนควรกิน

ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เจ็บเต้านม หิว และง่วงนอนบ่อย ซึ่งคุณแม่แต่ละคนอาจมีอาการที่ต่างกันไป บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ

ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการแพ้ท้องหรือไม่เมื่อตั้งครรภ์ 1 เดือน การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารอย่างสมดุลเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทั้งตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ด้วย โดยสารอาหารที่แม่ท้อง 1 เดือนควรได้รับเป็นพิเศษในช่วงนี้ ได้แก่

  1. แม่ท้องควรกิน : อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต

แม้ว่าคุณหมอที่คุณแม่ไปฝากครรภ์จะจ่ายกรดโฟลิกแบบเม็ดมาให้คุณแม่รับประทานแล้ว แต่คุณแม่ก็ควรได้รับโฟเลตจากอาหารด้วยนะคะ เพราะโฟเลตมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการสมองของตัวอ่อนในระยะแรก และอาหารที่อุดมโฟเลตก็หาได้ไม่ยากเลย เช่น ส้ม มันฝรั่ง บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ ถั่ว และผักใบเขียวทั้งหลาย เป็นต้น

บทความแนะนำ ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

  1. แม่ท้องควรกิน : วิตามินบี 6

วิตามินบี 6 เป็นหนึ่งในวิตามินสำคัญในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์แรก เพราะมันสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ แม้อาการแพ้ท้องเป็นปัญหาใหญ่ของแม่ท้องจำนวนไม่น้อย แต่คุณแม่ก็สามารถรับมือได้โดยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ปลาแซลมอน เนยถั่ว กล้วย และถั่วต่างๆ เป็นต้น

Advertisement
  1. แม่ท้องควรกิน : ผลไม้

ผลไม้เป็นอาหารที่ประโยชน์มากมาย ที่สำคัญคือไม่มีไขมัน จึงเหมาะที่จะนำมาทำเมนูสุขภาพสำหรับแม่ท้องได้อย่างดีเยี่ยม เพราะผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด ในผลไม้ยังมีน้ำและสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้บางชนิดยังเต็มไปด้วยไฟเบอร์ช่วยให้ขับถ่ายดีอีกด้วย คุณแม่ท้องควรรับประทานผลไม้ทุกวันตั้งแต่ตั้งครรภ์เดือนแรกเพื่อเป็นการเริ่มต้นครรภ์สุขภาพดีและแข็งแรง

บทความแนะนำ อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

  1. แม่ท้องควรกิน : ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

นมเป็นแหล่งสารอาหารชั้นยอด ทั้งโปรตีน วิตามิน แคลเซียม น้ำ ไขมันดี กรดโฟลิก และวิตามินดี ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็งก็มีคุณค่าเทียบเท่าการดื่มนม โดยคุณแม่ควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทุกวัน แต่ไม่จำเป็นต้องโด๊ปนะคะ เพราะอาจทำให้ลูกน้อยแพ้นมและผลิตภัณฑ์จากนมได้ค่ะ

  1. แม่ท้องควรกิน : เนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์เกือบทุกชนิดปลอดภัยสำหรับแม่ท้อง 1 เดือน ยกเว้นเนื้อหมูและอาหารทะเล สำหรับเนื้อหมู หากปรุงไม่สุกเพียงนิดเดียว อาจเป็นเหตุให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้ ในขณะที่อาหารทะเลมักพบสารปรอทในปริมาณมาก ซึ่งจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากเกินไปนะคะ เพราะเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะทุกชนิดมีความปลอดภัยสำหรับคุณแม่ท้อง และยังเป็นแหล่งโปรตีนและวิตามินหลายชนิดอีกด้วย

  1. แม่ท้องควรกิน : อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เหล็กเป็นแร่ธาตุสุดมหัศจรรย์ในการรักษาระดับการไหลเวียนของเลือดให้คงที่ทั้งของคุณแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ ทารกต้องการเลือดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กเพื่อช่วยในการจับกับออกซิเจนและสารอาหาร และส่งไปให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง เนื่องจากในเดือนแรกคุณหมอจะยังไม่จ่ายวิตามินเสริมธาตุเหล็กในคุณแม่จนกว่าจะถึงเดือนที่สี่ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้อง 1 เดือนควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ บีทรูท ข้าวโอ๊ต ปลาทูน่า ถั่วต่างๆ ผลไม้อบแห้ง และเนื้อไก่ เป็นต้น

  1. แม่ท้องควรกิน : อาหารที่มีน้ำตาล

คำแนะนำนี้อาจจะขัดกับความเชื่อที่ว่า คุณแม่ท้องยังไม่ต้องเพิ่มน้ำหนักในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และไม่จำเป็นต้องรับประทานเผื่อลูกในท้อง แต่เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมีความสำคัญในการรักษาระดับแคลอรี่ที่แม่ท้องต้องการเพิ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 200-300 แคลอรี่ คุณแม่ท้องจึงควรรับประทานน้ำตาลธรรมชาติเพื่อให้ร่ายกายได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้สด แพนเค้ก พุดดิ้ง น้ำผลไม้คั้นสด และสมูทตี้ เป็นต้น

อาหารแม่ท้อง 1 เดือน

อาหารแม่ท้อง 1 เดือนที่ควรหลีกเลี่ยง

ในเดือนแรกคุณแม่อาจยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ หากไม่มีอาการแพ้ท้องใดๆ แสดงออกมา จึงเป็นช่วงที่คุณแม่ไม่ได้คิดว่า อาหารอะไรที่คนท้อง 1 เดือนไม่ควรกิน ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกผิดกับตัวเองว่าอาจเผลอไปรับประทานอะไรที่เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า หากคุณแม่ทราบแล้วว่า กำลังตั้งครรภ์ อาหารต่อไปนี้คือ สิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ 1 เดือนค่ะ

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน : อาหารที่ทำให้มดลูกบีบตัว

คุณอาจถูกเตือนจากผู้ใหญ่ว่า คนท้องห้ามกินสับปะรด ชะเอม และมะละกอดิบ ในช่วงสองสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวและอาจทำให้แท้งหรือท้องเป็นตะคริวได้ หากคุณแม่รับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่มากเกินไปก็สามารถทำให้มดลูกบีบตัวได้จริง อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ท้องอยากทานก็สามารถทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อที่จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ค่ะ

บทความแนะนำ คนท้องกินสับปะรดได้ไหม จริงหรือที่คนท้องห้ามกินสับปะรด?

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน : อาหารทะเล

ตามที่ได้เล่าไปก่อนหน้านี้แล้วว่า อาหารทะเลมักจะมีการปนเปื้อนสารปรอท ซึ่งจะไปขัดขวางพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ และเนื่องจากคุณอาจไม่ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงอาหารทะเลทั้งหมดในช่วงที่พยายามมีบุตร โดยหันมารับประทานปลาน้ำจืดแทนไปก่อนในช่วงนี้ค่ะ

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน : ชีส

หลีกเลี่ยงชีสเนื้อนุ่ม เนื่องจากชีสพวกนี้มักทำจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และสามารถเป็นพาหะของโรคอาหารเป็นพิษและเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแก๊สอีกด้วย

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน : อาหารแปรรูป

ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ได้ปรุงสดใหม่และอาหารแปรรูป อาทิ น้ำผลไม้ นมข้น และอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรค คุณแม่ท้องอาจเลือกรับประทาน น้ำผลไม้คั้นสดโฮมเมด และสลัดผลไม้สดแทน โดยควรรับประทานภายใน 20 นาทีหลังจากทำเสร็จ

อ่าน Do & Don’t อาหารแม่ท้อง 2 เดือน คลิกหน้าถัดไป

Do & Don’t อาหารแม่ท้อง 2 เดือน

ในเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้องและไม่อยากอาหาร แต่อย่างไรก็ดี คุณแม่ยังคงต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะอาหารที่คุณแม่รับประทานจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประสาท สมอง และไขสันหลังของลูกน้อยในช่วงนี้

นอกจากนี้ระบบการไหลเวียนโลหิตและหัวใจเต้นก็พัฒนาในช่วงนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาหารแม่ท้องจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และนี่คือข้อมูลที่คุณแม่ควรทราบเกี่ยวกับอาหารแม่ท้อง 2 เดือน

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน

  1. แม่ท้องควรกิน: กรดโฟลิก

กรดโฟลิคหรือโฟเลต เป็นวิตามินบีวิตามินที่สำคัญที่จะต้องรับประทานในช่วงแรกแรกของการตั้งครรภ์ เพราะกรดโฟลิกช่วยให้การพัฒนาของท่อระบบประสาทดำเนินไปอย่างเป็นปกติ หากคุณไม่ได้รับประทานกรดโฟลิก ลูกน้อยของคุณมีเสี่ยงพิการจากความผิดปกติของท่อประสาทหรืออาจคลอดก่อนกำหนด

อาหารบางชนิด เช่น ผักโขม ธัญพืช ถั่ว ส้ม มันฝรั่ง บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ และผักใบเขียว มีกรดโฟลิกสูง คุณแม่ท้องควรรับประทานกรดโฟลิกให้ได้ประมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวันในช่วงเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ โดยเมื่อไปฝากครรภ์ คุณหมอก็มักจะให้กรดโฟลิกเม็ดเล็กๆ มารับประทานทุกวันค่ะ

บทความแนะนำ ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

  1. แม่ท้องควรกิน: ธาตุเหล็ก

เดือนที่สองของการตั้งครรภ์ ร่างกายคุณแม่ต้องผลิตเลือดเพิ่มขึ้นเพื่อหล่อเลี้ยงลูกน้อยในท้อง หากคุณแม่รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ คุณจะรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาและยังมีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางอีกด้วย

คุณแม่ควรบริโภคเหล็กประมาณ 27 มิลลิกรัมเหล็กต่อวัน ตั้งแต่ที่คุณรู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ แม้คุณแม่จะได้รับธาตุเหล็กบางส่วนผ่านทางอาหาร เช่น ตับ ไข่แดง เนื้อแดง งา ถั่วแดง ขนมปังโฮลวีต ลูกพรุน ผักโขม ถั่วลันเตา แต่ก็ยังไม่เพียงพอ คุณแม่จึงมักได้รับวิตามินเสริมธาตุเหล็กจากคุณหมอเมื่อไปตรวจครรภ์ค่ะ

  1. แม่ท้องควรกิน: แคลเซียม

กระดูกของลูกน้อยถูกสร้างขึ้นในช่วงเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการใช้แคลเซียม คุณแม่ควรกินแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมทุกวัน โดยสามารถรับแคลเซียมผ่านทางอาหาร เช่น นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ และผักใบเขียว เป็นต้น  หากคุณไม่ได้เพิ่มแคลเซียมในอาหาร ร่างกายของคุณจะดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกและฟันของคุณแม่ไปใช้ ทำให้กระดูกและฟันของคุณแม่อ่อนแอและเปราะง่าย

บทความแนะนำ แม่ท้องไม่กินแคลเซียมเสี่ยงกระดูกพรุน

  1. แม่ท้องควรกิน: โปรตีน

คุณแม่ควรเริ่มบริโภคโปรตีนมากขึ้น ตั้งแต่ที่คุณรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ โปรตีนช่วยให้ปริมาณเลือดที่เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณและยังทำให้พัฒนาการของกล้ามเนื้อทารกในครรภ์เป็นไปอย่างปกติ คุณจะได้รับโปรตีนที่ผ่าน เนื้อสัตว์ นม ไข่ และปลา แต่ต้องแน่ใจว่าปลานั้นมีสารปรอทต่ำ และควรบริโภคโปรตีนในชีวิตประจำวันให้ได้ 75-100 กรัมต่อวัน

อาหารแม่ท้อง 2 เดือน

อาหารแม่ท้อง 2 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

คุณแม่ท้องส่วนใหญ่อาจนึกแต่ว่าควรกินอะไรเพื่อบำรุงครรภ์ ให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี แต่อาจลืมนึกถึงอาหารบางชนิดที่ไม่ควรกินระหว่างตั้งครรภ์ เราได้รวบรวมอาหารแม่ท้อง 2 เดือนไม่ควรกินมาฝากด้านล่างนี้

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน: ไข่ดิบ

ไข่ดิบหรือไข่ที่ไม่สุกดีเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรงดรับประทานในเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ เพราะมันทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียซามอนเนลลา ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
  1. แม่ท้องไม่ควรกิน: นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์

คุณแม่ท้องไม่ควรกินนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพราะนมประเภทนี้จะมีเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังอาจมีเชื้อ ซามอนเนลลา รวมถึง เชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอื่น ๆ

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คุณแม่อาจทราบดีอยู่แล้วว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตราย ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด ดังนั้นควรหลีกให้ไกล ทำใจให้แข็งที่สุดเพื่อลูกน้อยของคุณ

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน: เนื้อสัตว์แปรรูป

คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปทุกชนิด เนื่องจากมันไม่ใช่เนื้อสด แต่เป็นเนื้อที่ผ่านกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้รสชาติดีขึ้น เช่น เบคอน ไส้กรอก ฮอตดอก แฮม ทำให้เก็บไว้ได้นานด้วยการแช่แข็งแช่เย็น ซึ่งอาหารเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโรค ทั้งนี้คุณแม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก เพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายเสียก่อน

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน: ปลาดิบ

ไม่แนะนำให้คุณแม่ท้องกินซูชิ เพราะอาหารดิบอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เป็นอันตราย รวมถึงอาหารทะเลปอกเปลือกที่ไม่ปรุงสุกก่อน เช่น หอย ปู กุ้งก้ามกราม และกุ้ง อย่างไรก็ตาม การรับประทานปลาสุกก็ควรเลือกปลาที่มีระดับสารปรอทต่ำ พยายามกินปลาขนาดเล็กมากกว่าปลาขนาดใหญ่ เพราะปลาขนาดใหญ่จะมีสารปรอทปนเปื้อนมากกว่า

เคล็ดลับการรับประทานอาหารของแม่ท้อง 2 เดือน

คุณควรจะเลือกบริโภคอาหารสด เช่น ผักสดและผลไม้ พยายามไม่รับประทานอาหารแช่แข็ง ทานอาหารเน้นโปรตีนจะช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยพัฒนาได้ดี อย่าบริโภคเกลือ ไขมัน และน้ำตาลมากเกินไป ควรเพิ่มปริมาณแคลอรี่โดยการบริโภคอาหารประเภทแป้งมากกว่าอาหารที่มีน้ำตาลจะดีกว่า

หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้อง ให้ดื่มน้ำขิงที่ทำจากขิงจริงๆ หรือดื่มชาคาโมไมล์ คุณแม่ไม่ต้องกังวลเรื่องการรับประทานอาหารมากนักหากรับประทานไม่ได้ เมื่อผ่านสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องจะหายไป และคุณแม่จะสามารถรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ค่ะ

อ่าน Do & Don’t อาหารแม่ท้อง 3 เดือน คลิกหน้าถัดไป

Do & Don’t อาหารแม่ท้อง 3 เดือน

ถึงแม้ว่าในช่วงเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ พุงของคุณแม่จะยังไม่ออก แต่การเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่รู้สึกได้คือ ปวดปัสสาวะบ่อย และหิวบ่อยขึ้น หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องก่อนหน้านี้ ช่วงนี้อาจเป็นหนักขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง อาการแพ้ท้องจะค่อยๆ หายไป อดทนอีกนิดนะคะ หากคุณแม่ยังพอรับประทานอาหารได้ขอให้เน้นอาหารต่อไปนี้ซึ่งจำเป็นสำหรับแม่ท้อง 3 เดือนค่ะ

อาหารแม่ท้อง 3 เดือนควรกิน

  1. แม่ท้องควรกิน : อาหารที่มีวิตามินบี 6

เนื่องจากคุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้มากในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือน ซึ่งทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย อาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 6 ได้แก่ ส้ม ไข่ ผักใบเขียว มันฝรั่ง จะช่วยลดอาการคลื่นไส้ และทำให้อารมณ์ของคุณแม่ดีขึ้น

  1. แม่ท้องควรกิน : ผลไม้สด

ผลไม้สดมีประโยชน์ต่อคุณแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ ผลไม้เป็นแหล่งวิตามินหลายชนิด ทั้งยังประกอบไปด้วย น้ำ ไฟเบอร์ น้ำตาลธรรมชาติ และสารต้านอนุมูลอิสระ คุณแม่สามารถทานผลไม้เพื่อเพิ่มน้ำหนักได้ เช่น กล้วยและฝรั่ง เป็นต้น

  1. แม่ท้องควรกิน : คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์ของคุณ ในเดือนนี้คุณแม่ควรเพิ่มโฮลเกรน และคาร์โบไฮเดรตจากขนมปัง ข้าว และมันฝรั่ง เพื่อเพิ่มพลังงานในกับเจ้าตัวน้อย ควรหลีกเลี่ยงแป้งและน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบ ซึ่งนอกจากไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้อ้วนอีกด้วย

  1. แม่ท้องควรกิน : เนื้อสัตว์

ถ้าคุณชอบรับประทานเนื้อสัตว์ ช่วงนี้ได้เวลาจัดเต็มเลยค่ะ เพราะเนื้อสัตว์เป็นแหล่งโปรตีน และแร่ธาตุสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ แต่ต้องมั่นใจว่า เนื้อสัตว์ที่คุณแม่รับประทานนั้นปรุงสุก และสะอาดนะคะ

  1. แม่ท้องควรกิน : ธาตุเหล็ก และโฟเลต

ธาตุเหล็ก และโฟเลตเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กและโฟเลตอาจทำให้เกิดความผิดปกติแก่ทารกในครรภ์ตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงได้ คุณแม่จึงไม่ควรพลาดอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ บีทรูท ข้าวโอ๊ต รำข้าว ปลาทูน่า ถั่ว และเนื้อสัตว์ ส่วนอาหารที่มีโฟเลตสูงได้แก่ ส้ม มันฝรั่ง บร็อคโคลี ไข่ และผักใบเขียว เป็นต้น

  1. แม่ท้องควรกิน : ผลิตภัณฑ์นม

นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์มีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพที่ดีของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ เนื่องจากทารกต้องการแคลเซียมและแร่ธาตุที่พบในนมและผลิตภัณฑ์จากนม

อาหารคนท้อง 3 เดือน

อาหารแม่ท้อง 3 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

ตั้งครรภ์เดือนที่สาม ยังถือว่าอยู่ในช่วงเปราะบางของการตั้งครรภ์ อาหารที่แม่ท้อง 3 เดือนควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  1. แม่ท้องไม่ควรกิน : อาหารกระป๋อง

อาหารกระป๋องมักจะมีน้ำตาลและเกลือปริมาณมาก รวมถึงสารปรุงแต่งกลิ่น และสารกันบูด แทนที่จะบริโภคสารสังเคราะห์เหล่านี้ คุณแม่หันมารับประทานอาหารสดจากธรรมชาติจะมีประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณแม่และเจ้าตัวน้อยมากกว่าค่ะ

2. แม่ท้องไม่ควรกิน : นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์

ในช่วงนี้ คุณแม่ควรป้องกันตัวเองและเจ้าตัวน้อยให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อและอาหารเป็นพิษ โดยรับประทานแต่ผลิตภัณฑ์นมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์เท่านั้น เพราะนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์จะมีเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังอาจมีเชื้อ ซามอนเนลลา รวมถึง เชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่อยากรับประทานอะไรที่แปลกไปจากเดิม หรือไม่มั่นใจว่าอะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ แนะนำปรึกษาคุณหมอตอนที่ไปตรวจครรภ์เพื่อความมั่นใจค่ะ เมื่อคุณแม่รับประทานอาหารได้อย่างสบายใจ  ทั้งอาหารที่คุณแม่กินเพื่อบำรุงร่างกาย และสุขภาพจิตที่ไม่เครียดหรือเป็นกังวล ย่อมส่งผลดีต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์อย่างแน่นอน

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

 

ที่มา www.momjunction.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

รู้ไว้ไม่เสี่ยง! 6 ข้อห้ามสำหรับคนท้อง 1-3 เดือนแรก

ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไรในไตรมาสแรก

อาการท้องไตรมาสแรก ที่ต้องพบในช่วงตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • Do & Don't อาหารแม่ท้อง ไตรมาสแรก
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว