เด็ก ๆ งอแงง่ายค่ะ ลูกไม่ยอมนอน เพราะเขาไม่สามารถจัดการอะไรด้วยตัวเองได้ หรือแม้แต่ไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ เวลาที่ลูกง่วงนอนมาก ๆ แทนที่จะนอนหลับง่าย ๆ ก็กลายเป็นยากมากขึ้นไปอีก มาดู วิธีรับมือ ลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วง แต่ไม่ยอมนอน ลูกไม่ยอมนอน ทารกไม่ยอมนอน กันดีกว่า
ลูก1เดือนไม่ยอมนอน ทำไมง่วงแล้วไม่ยอมนอน ลูกไม่ยอมนอน ทารกไม่ยอมนอน
Overtired Baby หรือเด็กที่เหนื่อยเกินไป หรือง่วงมากเกินไปจนทำให้นอนยาก ไม่ยอมนอน หรือนอนไม่หลับนั่นเองค่ะ ลูกจะมีอาการร้องไห้งอแง หลังที่นอนหลับไปได้สักพักก็จะตื่นในเวลาที่รวดเร็ว และไม่ยอมหลับอีกรอบแล้วละค่ะ งานเข้ากันเลยนะคะคุณพ่อคุณแม่ ยิ่งถ้าเป็นกลางดึกของวันทำงานด้วยละก็
เมื่อลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วงเกินไป ร่างกายของลูก เมื่อถึงจุดที่พร้อมแก่การเข้านอนมาแล้ว ร่างกายก็จะส่งสัญญาณความเครียดที่เกิดขึ้นออกมา ฮอร์โมนความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอล และอะดรีนาลีนจะเข้ามามีบทบาทตามสะแสเลือดในร่างกาย ทำให้ร่างกายยากที่จะสงบ และผ่อนคลาย ซึ่งรูปแบบการทำงานของร่างกายนี้นั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นวัฏจักร และทำให้อาการนอนยากของลูกยิ่งยาก ๆ ขึ้นไปอีกค่ะ
อาการที่บอกว่า ลูกเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป ลูกไม่ยอมนอน เป็นอย่างไร
เมื่อลูกไม่ได้นอนพักผ่อนระหว่างวัน หรือช่วงระยะเวลาที่ตื่นนานกว่าระยะเวลาของการนอนหลับ เนื่องจากเด็ก ๆ ในวัยนี้ ต้องการการนอนที่มากกว่าผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่านี้ ร่างกายลูกจะไม่สามารถจัดการตัวเองให้ตื่นนานขนาดนี้ได้ โดยช่วงเวลาที่เด็กแรกเกิดตื่นในแต่ละครั้งนั้นไม่ควรเกิน 45 นาที ซึ่งทำให้เด็กแรกเกิดหลาย ๆ คน มีอาการเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป จนทำให้นอนหลับยาก นอนน้อย ตื่นบ่อยได้นั่นเองค่ะ อาการที่บ่งบอกว่าลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วงเกินไปแล้ว นั่นก็คือ
- ขยี้หน้าขยี้ตา
- เบือนหน้าหนีออกจากสิ่งเร้าต่าง ๆ
- หาว สะอึก หรือจามบ่อย ๆ
- งอแง และโวยวาย
- ติดหนึบกับคุณพ่อหรือคุณแม่หรือพี่เลี้ยง ไม่ยอมนอนเอง
- ช่วงที่ลูกตื่นจะนานมากขึ้นเรื่อย ๆ
วิธีรับมือให้ลูกนอนหลับได้นาน ๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเอาลูกนอนคือ ทำให้ลูกสงบลงก่อน อาจจะด้วยวิธีใด ๆ ก็แล้วแต่ เช่น ห่อตัวลูก กอดหรืออุ้มลูก เอาลูกเข้าเต้าดูดจนกว่าจะพอใจ กล่อมลูกหรือโยกเบา ๆ เปิดเพลงหรือเสียงธรรมชาติ (White Noise) ปิดไฟภายในห้องให้มืดสนิท ร้องเพลงกล่อมลูก
สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ในวัยเตาะแตะ หรือวัยอนุบาล ให้อ่านนิทานที่มีเนื้อหาไม่ตื่นเต้นมากนัก ในห้องที่มีแสงไฟสลัว ๆ หรือให้เล่นเงียบ ๆ คนเดียว หรือปล่อยให้อ่านหนังสือเงียบ ๆ บริเวณเตียงนอนนั่นแหละค่ะ
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป
คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลาดังนี้ค่ะ หากลูกตื่นนอนไป โอกาสที่ลูกจะเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป ก็จะยิ่งสูงขึ้นทำให้นอนหลับได้ยากขึ้นนะคะ
- ทารกแรกเกิด – 6 เดือน ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 45 – 60 นาที
- เด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 2 ชั่วโมง
- เด็กอายุ 1 – 3 ปี ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 4 – 5 ชั่วโมง
นอกจากนี้ หากลูกจะนอนนานเกินไปบ้าง ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงจนเกินไป ปล่อยให้นอนนาน ๆ ได้นะคะ อีกวิธีที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ปรับเวลาได้ก็คือ การทำตารางกิจวัตรประจำวันให้เหมือนกันทุกวัน เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้เองว่าเมื่อที่ถึงเวลากิน เล่น หรือนอนค่ะ
อีกหนึ่งวิธีให้ลูกหลับนานด้วยเทคนิค Dream Feed
บทความ : ฝึกลูกนอนยาวด้วยเทคนิค Dream Feed
การให้เขาได้ดูดนมแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น ก่อนที่เขาจะตื่นมาหิวกลางดึก สามารถช่วยให้การนอนหลับของลูกดีขึ้นและหลับได้นานขึ้น เทคนิคนี้เรียกว่า dream feed
Dream Feed ทำอย่างไร
เทคนิค dream feed ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน ทิซซี่ ฮอลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนของทารก ได้แนะนำ 5 สเต็ปง่ายๆ ของเทคนิค นี้ที่พ่อแม่ทำตามได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ต้องแน่ใจว่าขณะที่ทำทั้ง 5 สเต็ปต่อไปนี้ ต้องไม่ทำให้ลูกตื่นนะคะ
- อุ้มเจ้าตัวน้อยที่กำลังหลับขึ้นมาเบาๆ
- เข้าเต้าหรือวางขวดนมบนริมฝีปากล่าง
- กระตุ้นให้ลูกดูด แต่ต้องไม่ทำให้ลูกตื่น
- เมื่อเจ้าตัวน้อยดูดเสร็จแล้ว ให้จับตัวลูกตั้งขึ้นแป๊บนึง เพื่อไล่ลมในท้อง
- ค่อยๆ วางลูกลงบนที่นอน และปล่อยให้ลูกหลับต่อ
ฮอลล์แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองเทคนิค dream feed โดยสังเกตตารางการนอนของลูก เช่น ปกติเขาจะหลับประมาณ 1 ทุ่ม และตื่นระหว่าง 5 ทุ่ม ถึง ตี 1 และอาจตื่นอีกครั้งตอนตี 5 ดังนั้น แนะนำให้ทำ dream feed ประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง คือก่อนที่ลูกจะตื่นมาร้องกินนมกลางดึกนั่นเองค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้น เพราะการหลับของลูกไม่ได้ถูกรบกวนด้วยความหิว
ที่มา babysleepsite
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วิธีกล่อมลูกให้หลับ เมื่อลูกนอนยาก
ฝึกลูกนอนยาวด้วยเทคนิค Dream Feed
10 วิธี ฝึกลูกนอนเร็ว เทคนิคที่ทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น วิธีให้ลูกนอนง่ายๆ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!