อีกหนึ่งอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ นั่นก็คือ รสขมเฝื่อนในปาก รู้สึกเหมือนกำลังดูดแผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมอยู่อย่างไรก็อย่างนั้น และไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถขจัดรสนี้ไปจากช่องปากได้เลย รสขม ๆ เฝื่อน ๆ นี้ ที่จริงแล้ว เป็นการรับรสที่เปลี่ยนไป (Dysgeusia) ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นปกติ
รสขมเฝื่อนในปาก เป็นอย่างไร ?
เมื่อเกิดความรู้สึกขมเฝื่อน หรือการรับรสที่เปลี่ยนไปขึ้นเป็นครั้งแรก แม่ท้องก็จะรู้สึกแปลก ๆ เป็นความรู้สึกที่อธิบายได้ยาก และยิ่งครรภ์มีการพัฒนาไปมากเท่าไหร่ รสชาดแปลกประหลาดนี้ ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
ต่อมการรับรู้รสชาดที่เปลี่ยนไปนี้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ยิ่งคุณแม่คนไหนที่มีอาการแพ้ท้อง ผนวกเข้ากับความรู้สึกฝาดเฝื่อนที่ลิ้น ก็ยิ่งจะทำให้รู้สึกอยากอาเจียนหนักเข้าไปอีก ไม่ว่าจะรับประทานอะไร เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม ดื่มน้ำผลไม้ แต่ก็ไม่ช่วยให้ความรู้สึกนี้หายไปได้เลย
รสขมเฝื่อนในปากเกิดขึ้นตอนไหน ?
หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากถึงร้อยละ 93 นี้ จะประสบกับรสชาดฝาดเฝื่อนในช่องปาก ซึ่งจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เป็นอาการของต่อมรับรสที่เปลี่ยนแปลง คุณแม่บางคนบอกว่า รสชาดที่ปรากฏในปาก เสมือนกับการดื่มน้ำที่เทค้างเอาไว้ในแก้วสเตนเลส บางคนรู้สึกถึงความเปรี้ยว ๆ ในปาก มักจะเกิดขึ้นตอนท้องว่าง หรือยังไม่ได้ทานอะไร อธิบายได้ยาก แต่หากเกิดขึ้นกับแม่ท้องแล้ว ก็คงจะรู้ได้ในทันที
รสชาดขมเฝื่อนในปากจะหายไปตอนไหน ?
เช่นเดียวกันกับอาการแพ้ท้อง อาการต่อมรับรสเปลี่ยนไปจะดีขึ้น หรืออาจจะหายเป็นปลิดทิ้ง ในช่วงไตรมาสที่สอง เมื่อระดับฮอร์โมนตั้งครรภ์เริ่มคงที่มากขึ้น หรือหากแย่หน่อย คุณแม่ก็อาจจะต้องเจอกับอาการนี้ไปจนกว่าจะคลอด แต่แน่นอนว่า หลังจากลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว คุณแม่จะหายจากอาการขมเฝื่อนในปากแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมรับมือ! 4 อาการแม่ท้องแก่ไตรมาสสุดท้าย
รสขมติดคอ
สาเหตุของรสชาดขมเฝื่อนในปาก
- สาเหตุที่ทำให้เกิดรสชาดขมเฝื่อนในปาก นั่นก็คือ การตั้งครรภ์นั่นเอง คุณแม่คงไม่เคยมีปัญหาแบบนี้มาก่อน จนกระทั่งตั้งครรภ์ และเจ้ารสแย่ ๆ นี้ ก็เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้การรับรู้รสชาด กลิ่น และความอยากอาหาร ได้รับผลกระทบไปหมด ประสาทสัมผัสในการรับรู้กลิ่น ก็ไวขึ้นมาก อีกทั้งยังทำงานสัมพันธ์กับประสาทการรับรสอย่างดี จึงยิ่งทำให้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ได้กลิ่นฉุน ก็จะยิ่งเพิ่มรสขมเฝื่อนในปากให้มากขึ้นไปอีก
- อาการบวมน้ำ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของรสขมเฝื่อนในปาก ในขณะตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ได้เก็บกักน้ำเอาไว้มาก อาการบวมน้ำก็จะกระทบกับการทำงานของเซลล์ในร่างกาย รวมทั้งต่อมรับรสด้วย
แก้รสชาดขมเฝื่อนในปากได้อย่างไร ?
แม้ว่ารสชาดขมเฝื่อนนี้จะไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่การเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมวิธีรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้น ก็จะทำให้แม่ท้องคลายความวิตกกังวลไปได้ วิธีที่จะลดความรู้สึกขมเฝื่อนในปาก สามารถทำได้ดังนี้
- เครื่องดื่มที่เป็นกรดจะต้านรสขมเฝื่อนได้ ดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอย่าง ส้ม มะนาว สับปะรด กีวี แอปเปิลเขียว ก็จะช่วยลดความรู้สึกขมเฝื่อนลงได้ หรือถ้าคุณแม่ชอบของหวาน ก็ลองทานอมยิ้มที่มีรสชาดเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ ของหมักดองแช่น้ำส้มสายชูอย่าง แตงดอง มะกอกดอง ที่เก็บเอาไว้ทานตอนเปรี้ยวปากก็เอามาใช้ได้ มันฝรั่งทอดรสน้ำส้มสายชู กับเกลือก็ช่วยได้เหมือนกัน แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะเลือกกิน หรือเลือกดื่มอะไร ก็ต้องระวังอย่ารับประทานมากจนเกินไป
- การอมก้อนน้ำแข็งไว้ในปากก็สามารถช่วยได้ จะให้ดียิ่งขึ้น ลองผสมน้ำมะนาวเล็กน้อยลงไปในน้ำก่อนนำไปแช่ เพื่อเพิ่มรสชาดเปรี้ยวนิด ๆ
- พูดคุยกับแพทย์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนวิตามินสำหรับผู้หญิงมีครรภ์ให้มีรสขมเฝื่อนน้อยลง เพราะวิตามินบางประเภท ก็เป็นสาเหตุที่หนึ่งที่ทำให้เกิดรสชาดขมเฝื่อนในปากเช่นกัน
- รักษาอนามัยในช่องปากด้วย แปรงลิ้นเพื่อขจัดรสขมเฝื่อน ก็ช่วยได้ ใช้น้ำยาบ้วนปากระหว่างมื้ออาหาร โดยสามารถทำน้ำยาบ้วนปากเองได้จากการใช้น้ำอุ่นผสมเกลือ
- ใช้เบกกิ้งโซดา ¼ ช้อนชาผสมลงในน้ำ เพื่อใช้ปรับค่าความเป็นกรดด่างในช่องปากคุณให้สมดุล
- ในช่วงนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารมีกลิ่นฉุน และอาหารทะเล
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการผิดปกติแบบไหนที่คนท้องต้องไปพบหมอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 11
ในช่วงสองสามเดือนต่อจากนี้ คุณแม่อาจจะต้องอดทนกับรสชาดแปลก ๆ นี้ แต่วิธีที่กล่าวมาในข้างต้น ก็จะช่วยบรรเทาอาการให้คุณแม่ได้ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้หญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาขมเฝื่อนในปากไม่ได้บ่งชี้ถึงปัญหาซ่อนเร้นอื่น ๆ แต่ประการใด หากคุณแม่ไม่สบายใจ อาจลองปรึกษาแพทย์ดู เพื่อคลายความวิตกกังวล
5 อาการแปลกประหลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
อาการที่จะเกิดขึ้นกับแม่ท้องแต่ละคน ก็อาจจะแตกต่างกันไป แม้ว่าจะมีอาการพื้น ๆ ที่แม่ท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน อย่างเช่น ต่อมรับรสเปลี่ยนแปลง อาการแพ้ท้อง ปวดเมื่อย แต่ Dr. Robyn Horsager-Boehrer และ Dr. Elaine Duryea ผู้ซึ่งเป็นทั้งคุณแม่ และคุณหมอด้านสูตินรีเวชวิทยา ได้บอกเอาไว้ว่า อาการแปลกประหลาดแค่ไหน ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงตั้งครรภ์ คุณหมอทั้งสองได้แบ่งปันประสบการณ์แปลก ๆ ที่ประสบด้วยตัวเอง มาดูกันว่า มีอาการที่คุณแม่กำลังเผชิญอยู่ด้วยหรือเปล่า
คุณหมอโรบินเป็นนักดื่มกาแฟตัวยง แต่กลับไม่สามารถดื่มได้ ทั้งกลิ่น ทั้งรส ตีกันยุ่งเหยิงไปหมด สาเหตุเพราะท้องลูกแฝด คุณหมอยังบอกอีกว่า ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ตัวเองไม่สามารถดื่มกาแฟ โดยที่ไม่รู้สึกพะอืดพะอมได้เลย และนั่นทำให้คุณหมอต้องทรมานกับการตัดขาดกับคาเฟอีนอยู่พอสมควร
ต่อมรับรสที่เปลี่ยนไปนี้ เกิดขึ้นเพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่เพิ่มสูงขึ้น อาหารที่เคยโปรดปราน ก็อาจจะเกลียดได้ในชั่วข้ามคืน ในขณะเดียวกัน ก็อาจจะเอร็ดอร่อยกับอาหารที่เคยไม่ชอบนักหนาก็ได้ แปลกไหมล่ะ ? การรับรู้รสชาดที่เปลี่ยนไปนี้ ก็ยังทำให้เกิดรสเฝื่อน ๆ เหมือนวางเหล็กเอาไว้ที่ลิ้น คุณแม่อาจจะพะอืดพะอมมากที่เดียว
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับอาการนี้ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะรู้สึกดีขึ้นเพื่อระดับฮอร์โมนมีความคงที่ ในช่วงไตรมาสที่สอง บางคนอาจจะยาวนานหน่อย แต่หลังจากคลอดแล้ว จะกลับมารับประทานอาหารที่ชอบได้เหมือนเดิมแน่นอน เช่นเดียวกันกับที่คุณหมอโรบิน ก็สามารถกลับมารับประทานอาหารเช้า กับกาแฟได้อย่างดื่มด่ำแล้ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการผิดปกติของคนท้องในแต่ละไตรมาส วิธีสังเกตอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ที่แม่ต้องไปโรงพยาบาล
ความเจ็บรอบสะดือ
ในระหว่างการอัลตร้าซาวด์ คุณแม่บางคนสะดุ้งเล็กน้อย เมื่อคุณหมอขยับเครื่องมือไปบริเวณรอบ ๆ สะดือ ความเจ็บปวดนี้เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์แน่นอน แม้ว่าจะไม่อาจทราบสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่พื้นที่บริเวณหน้าท้อง ทั้งผิวหนัง และกล้ามเนื้อที่ยืดตัวออก รวมถึงขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้น และเบียดเสียดบริเวณสะดือ คุณแม่บางคนอาจจะพบว่าหลุมสะดือของตัวเอง โดดเด้งขึ้นมาจนแทบไม่เห็นเป็นรูอีกแล้ว นั่นก็เป็นเพราะขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง
คุณแม่อาจจะนอนตะแคงข้าง เพื่อลดความเจ็บปวดรอบสะดือลง หรือสวมใส่เข็มขัดพยุงหลัง เพื่อช่วยประคับประคองหน้าท้องก็ได้
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการไข้ อาเจียน ปวดเกร็ง หรือมีเลือดออกร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ร้อยละ 90 ของเส้นผมบนศีรษะนั้นอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต ในขณะที่อีกร้อยละ 10 นั้นอยู่ในช่วงของการหยุดพัก และในทุก ๆ 2 – 3 เดือน เส้นผมร้อยละ 10 นี้ ก็จะหลุดร่วง และเกิดเส้นใหม่งอกยาวออกมา
ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นตัวที่ทำให้เส้นผมมีช่วงระยะเวลาของการงอกยาวนานขึ้นกว่าเดิม นั่นหมายความว่า เส้นผมที่เจริญเต็มที่แล้ว และพร้อมจะหลุดร่วงนั้น มีปริมาณน้อยลงเช่นกัน แม่ท้องจึงมักจะมีผมหนา ดกดำ และยาวสลวยในช่วงตั้งครรภ์ ก่อนที่การหลุดร่วงทั้งหมด จะมากองกันอยู่ ณ ช่วงเวลาหลังคลอดนั่นเอง
-
เหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน
ฮอร์โมนที่พลุ่งพล่านขณะตั้งครรภ์นั้น ก็ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสูบฉีดอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกันกับบริเวณเหงือก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกระคายเคือง บวม และมีเลือดออกได้
การตั้งครรภ์ยังอาจทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้อีกด้วย ดังนั้น คุณแม่จะต้องรักษาความสะอาดในช่องปากเป็นอย่างดี อย่าแปรงฟันแรงเกินไป และหมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำ
ความรู้สึกชาที่โพรงฝ่ามือ หรือบริเวณระหว่างข้อมือกับฝ่ามือ อาจจะเกิดขึ้นกับแม่ท้องในตอนเช้าหลังตื่น หรือดึกดื่นหลังจากนอนหลับไปแล้วก็ได้ หากคุณแม่รู้สึกชา ๆ บริเวณโพรงฝ่ามือล่ะก็ ให้หลีกเลี่ยงการนอนทับมือตัวเอง หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกชามากกว่าเดิม เช่น การพิมพ์ดีด การเย็บปักถักร้อย เป็นต้น หากจำเป็นต้องทำ ก็ควรปรับเปลี่ยนท่าทางให้เหมาะสม เช่น ปรับความสูงของคีย์บอร์ด เป็นต้น การพันข้อมือก็อาจช่วยลดอาการได้
บทความที่คุณอาจสนใจ :
อาการที่พบบ่อยตอนท้องไตรมาสแรก
ฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานสำหรับคนท้อง
7 ผลไม้ที่ลดอาการแพ้ท้อง แพ้ท้องต้องกินยังไง รับมือไว้ให้หายชัวร์
แหล่งข้อมูล : utswmed.org ,whattoexpect.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!