X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

บทความ 5 นาที
คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ทั้งทางด้านร่างกาย และทางอารมณ์ อาการที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 คนท้องต้องรับมืออย่างไรดี? มาดูวิธีกันค่ะ

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แม่ๆ รู้ไหม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือทางด้านอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากอะไร อาการที่คนท้องต้องเจอในไตรมาสนี้มีอะไรบ้าง คนท้องต้องเตรียมรับมืออย่างไร วิธีดูแลตัวเองของคนท้องในไตรมาสที่สอง ช่วงนี้คุณแม่ต้องเจออะไรบ้างนะ

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

แม่ท้องไตรมาสสอง

แม่ท้องไตรมาสที่สอง

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายคนท้อง

  • ท้องขยายและหน้าอกใหญ่ขึ้น: ในช่วงนี้มดลูกของคุณแม่จะขยายตัวออกรองรับการขนาดตัวของทารกในครรภ์  ทำให้หน้าท้องของคุณแม่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงขนาดของหน้าอกที่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน หากเป็นไปได้แนะนำให้คุณแม่หาเสื้อชั้นในขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือจะซื้อชุดชั้นในแบบให้นมเตรียมไว้เลยก็ได้ค่ะ
  • เจ็บท้องหลอก (Braxton Hicks): ในช่วงท้ายๆ ของไตรมาสที่สอง คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงการหดตัวเล็กน้อยที่ช่องท้อง ซึ่งเราเรียกว่าเจ็บท้องหลอก แต่จะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่ทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกาย หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ค่ะ แต่ถ้าคุณแม่รู้สึกเจ็บมากๆ ให้รับไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนดได้
  • สีผิวเปลี่ยนไป: การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของคนท้องทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์เม็ดสีเพิ่มขึ้น จึงไม่แปลกเลยถ้าผิวของคนท้องจะเป็นจุดสีน้ำตาล หรือมีฝ้าขึ้นตามใบหน้า แต่ที่เห็นชัดมากๆ ก็คือ เส้นรอยดำกลางหน้าท้องที่เรียกว่า linea nigra แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะว่าหลังจากคุณแม่คลอดน้แงปล้วเส้นสีดำ และรอยผิวสัน้ำตาลจะค่อยๆ จางหายไปค่ะ อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเจอคือท้องลาย ขาลาย ซึ่งคุณแม่สามารถใช้มอยเจอร์ไรเซอร์บรรเทาอาการคันได้ค่ะ
  • คัดจมูก เลือดกำเดาไหล: การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนยังทำให้คุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับจมูก เพราะเมื่อร่างกายผลิตเลือดมากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมของเส้นเลือดและเกิดเลือดออกได้ง่ายๆ หากคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองคัดจมูกบ่อยๆ แนะนำให้ใช้น้ำเกลือล้างจมูกค่ะ พร้อมๆ กับดื่มน้ำให้มากๆ หรืออาจใช้เจลปิโตรเลียมทาให้ความชุ่มชื้นกับผิวรอบๆ จมูกด้วย
  • มีปัญหาในช่องปาก: คนท้องจะรู้สึกว่ามีเลือดออกตามไรฟันได้ง่ายเวลาที่แปรงฟัน หรือรู้สึกเสียวฟันได้ง่าย วิธีแก้คือให้เลือกใช้แปรงที่นิ่มแล้วบ้วนปากด้วยน้ำเกลือจะช่วยลดอาการระคายเคืองได้ค่ะ สำหรับคุณแม่ที่มีการอาเจียนบ่อยๆ จะเสี่ยงต่อโรคฟันผุได้ง่าย หากเป็นไปได้ให้ไปพบหมอฟันเพื่อเช็คสุขภาพช่องปากค่ะ
  • เวียนหัว: การเปลี่ยนแปลงระดับการไหลเวียนเลือดทำให้คุณแม่เวียนหัวได้ง่าย หากคุณแม่กำลังมีอาการนี้อยู่ แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้ช้าลงไม่ว่าจะลุกหรือจะนั่งค่ะ
  • ปวดขา เป็นตะคริวที่ขา: อาการเป็นตะคริวที่ขาเป็นเรื่องปกติของคนท้องเลยก็ว่าได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดช่วงเวลากลางคืน วิธีแก้อาการนี้ ให้คุณแม่ดื่มน้ำมากๆ เลือกสวมรองเท้าที่สบายๆ รองรับน้ำหนักตัวได้ดี อาบน้ำอุ่นก่อนนอนค่ะ แต่ถ้าเป็นตะคริวอยู่ ให้คุณแม่เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออก แล้วนวดบริเวณขาข้างนั้น อาจจะใช้น้ำแข็งมาประคบก็ช่วยได้ค่ะ
  • ตกขาว: ถ้าคุรแม่สังเกตเห็นว่าตัวเองมีตกขาวเหนียวๆ ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีอื่น หรือมีกลิ่นแรง พร้อมกับอาการปวดหรือคันบริเวณช่องคลอดมากๆ ต้องรีบพบแพทย์โดยทันที เพราะอาจหมายถึงการติดเชื้อในช่องคลอดได้
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ: เป็นอาการพบได้บ่อยของคุณแม่ตั้งครรภ์ ลักษณะอาการคือจะเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ เป็นไข้ หรือปวดหลังร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ควรเพิกเฉย หากปล่อยไว้อาจเกิดการติดเชื้อในไตได้

 

คนท้องไตรมาสที่สอง

ท้องไตรมาสที่สอง

การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของคนท้อง

ในช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยน้อยลง ทำให้มีเวลาเตรียมตัวสำหรับลูกน้อยมากขึ้นแล้วค่ะ เมื่อคุณแม่สังเกตว่าหน้าท้องเริ่มใหญ่ขึ้น คุณแม่ก็จะเริ่มมีอาการกังวลเกี่ยวกับการคลอดลูกว่าจะคลอดแบบไหน จะเลี้ยงลูกอย่างไร คุณแม่อาจหาคลาสเรียนเตรียมตัวเป็นคุณแม่ หรือคลาสออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดจากการตั้งครรภ์ ไหนจะเรื่องลาคลอดที่ทำงาน ซึ่งคุณแม่อาจจะต้องวางแผนและคุยกับหัวหน้างานล่วงหน้าหน่อย ความวิตกกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เหล่าคุณแม่ต้องเผชิญ เพื่อให้ลูกน้อยในท้องเติบโตแข็งแรงอย่างที่สุดค่ะ

คนท้องไตรมาสที่สอง

คนท้องไตรมาสที่สอง

 

การดูแลตัวเองของคนท้องไตรมาสที่สอง

ช่วงไตรมาสที่สอง คุณหมอมักจะนัดคุณแม่ตรวจเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และสุขภาพอื่นๆ ของคุณแม่ อาจมีการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดขนาดของมดลูก เพื่อดูว่าลูกในท้องมีการเติบโตอย่างไร รวมถึงคุณแม่อาจได้ดูหรือฟังเสียงหัวใจเต้นของลูกน้อยด้วยน่ะ สำหรับคุณแม่ที่อยากรู้ว่าลูกเพศไหน ไตรมาสนี้คุณแม่ได้รู้แน่นอนค่ะ

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดาสะท้อนถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน เพราะน้ำหนักแรกเกิดของทารกเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของทารก

มีรายงานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า ทารกที่น้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาก ๆ มักพบปัญหาการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด มีโรคต่อมไร้ท่อและระบบเผาผลาญพลังงานไม่ปกติ เมื่อทารกเหล่านี้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีรายงานยืนยันพบความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะเบาหวานแฝงในคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าปกติ

นอกจากนี้น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ของมารดาก็มีผลต่อการตั้งครรภ์ จึงควรเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะสมดังนี้

  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวปกติ ควรเพิ่มน้ำหนักไม่น้อยกว่า 8 กิโลกรัม แต่ไม่มากกว่า 12 กิโลกรัม
  • คุณแม่ที่ผอมเกินไป มี BMI น้อยกว่า 19.8 ต้องเพิ่มน้ำหนักให้มากกว่าปกติระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกได้สารอาหารเพียงพอ
  • คุณแม่ที่มีภาวะอ้วน ควรควบคุมไม่ให้น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป แต่ก็ยังจำเป็นต้องเพิ่มให้ได้ไม่ต่ำกว่า 6 – 7 กิโลกรัม

ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง โดยเฉพาะในเรื่องของโภชนาการคือสิ่งสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยและควรพบสูติ – นรีแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

 

สารอาหารที่สำคัญของคนท้องไตรมาสที่สอง

คนท้องไตรมาส2

คนท้องไตรมาสที่2

หลักการง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สอง คือ การรับประทานอาหารที่หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่หากทำไม่ได้หรือไม่แน่ใจควรให้ความสำคัญกับสารอาหาร จำพวกเหล่านี้ ได้แก่

โปรตีน 

โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญมาก สำหรับการนำไปใช้เสริมสร้างอวัยวะและกล้ามเนื้อของคุณแม่และทารกในครรภ์จึงควรรับประทานโปรตีนจากสัตว์จำพวกที่มีโปรตีนสูง  ไข่ และพืชให้หลากหลายชนิด โดยคุณแม่อาจจะต้องรับประทานโปรตีนเพิ่มในปริมาณมากกว่าคนปกติ  ในปริมาณที่คนตั้งครรภ์ต้องการเท่ากับ 75 – 110 กรัมต่อวัน ในทางปฏิบัติเพื่อให้ง่าย ควรเพิ่มสัดส่วนโปรตีนแต่ละมื้อให้ไม่ต่ำกว่า 30 – 40% ก็น่าจะเพียงพอ การรับประทานอาหารควรควบปริมาณ และ สัดส่วนให้พอดี เพื่อลดผลข้างเคียงของการแปรปรวนของน้ำหนัก และมวลร่างกาย

สารโฟลิก

กรดโฟลิกหรือโฟเลตเป็นสารอาหารสำคัญอันดับแรกที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ขาดไม่ได้ เพราะสารอาหารชนิดนี้เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการสังเคราะห์ดีเอนเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ หากร่างกายคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ขากสารโฟเลต หรือ ได้รับสารโฟเลต ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยตรง เสี่ยงทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด โรคปากแหว่งเพดานโหว่หรือเสียชีวิต

 

มีรายงานพบว่าทารกสมองไม่ปกติและท่อหุ้มไขสันหลังไม่ปิดในมารดาที่ขาดสารโฟเลต เนื่องจากสมองและไขสันหลังจะพัฒนาอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ภายใน 28 วันหลังการปฏิสนธิ มีรายงานพบว่า การบริโภคสารโฟเลต 400 – 800 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์และในช่วง 28 วันหลังการปฏิสนธินี้ มีผลทำให้อุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของทารกลดลงอย่างมาก

 

โดยทางกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์รับประทานสารโฟเลต 400 มิลลิกรัมต่อวัน โดยโฟเลตพบมากใ นอาหารจำพวกพืช สัตว์ปีก และจุลินทรีย์ พบมากในพืชใบเขียว ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว ตับ ไต และยีสต์ แต่อย่างไรก็ตามอาหารพวกนี้อาจไม่เพียงพอ ควรทานอาหารเสริมที่มีสารโฟเลตร่วมด้วยจะดีที่สุด

ธาตุเหล็ก 

ในแต่ละวันคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และวิตามินต่างๆที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก ธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดต่อทารกที่ค่อยๆเจริญเติบโตในไตรมาสที่สอง ในปริมาณเลือดในร่างกายคุณแม่จะเพิ่มขึ้นถึง 70% เพื่อให้เพียงพอต่อการนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกที่อาศัยอยู่ในครรภ์มารดา หากคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอในขณะตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ โดยสตรีตั้งครรภ์มากกว่าครึ่งมีภาวะโลหิตจางจากการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ หรือาจจะมีอาการข้างเคียงอย่างอื่นด้วย

 

ภาวะโลหิตจางของคุณแม่ถือเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ของการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้หญิงมีครรภ์ควรได้ธาตุเหล็กไม่ต่ำกว่า 27 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่า 15% ของหญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและมีผลต่อสภาวะมีบุตรยาก ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์จึงสำคัญมากสำหรับคุณแม่มือใหม่ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการขาดธาตุเหล็ก

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ไอโอดีน

โดยไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อคนทั่วไป และยิ่งมีความสำคัญและจำเป็นมากต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่ส่งผลต่อระบบประสาทและารทำงานของต่อมไทรอยด์ ทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ทารกในครรภ์ ซึ่งอาหารที่มีไอโอดีนสูงจะอยู่ในจำพวก อาหารทะเล อาทิเช่น กุ้ง หมึก หอย ปู และ ปลา เป็นต้น โดยหากคุณแม่รับประทานหรือได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

 

แคลเซียม 

ในช่วงคุณแม่ที่มีครรภ์อ่อน จะเป็นช่วงที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการต้องการแคลเซียมมากที่สุด โดยคนตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม หากคุณแม่คนไหนไม่มีเวลา อาจจะใช้ตัวช่วยเป็นการรับประทานวิตามินแคลเซียม ที่มีประมาณ 600 มิลลิกรัม ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้การรับประทานวิตามินแคลเซียมควรปรึกษาแพทย์สูติก่อนจะดีที่สุด

วิตามินรวม 

อาจะเป็นตัวช่วยเสริมให้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ได้บำรุงร่างกายเพิ่มเติม คุณแม่ที่ไม่มีเวลาในการดูแลตัวเอง ทั้งนี้ในการรับประท่นวิตามินรวมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะ วิตามินบางชนิด อาจไม่เหมาะสมต่อการับประทานปริมาณมาก อาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้

ที่มา: self 2

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

แปลกจริงมั้ย? มาดู 5 จานโปรดตอนป่อง ที่เหล่าคุณแม่ท้องต้องกินให้ได้

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย ควรทานอะไรระหว่างมื้อ

คำที่แม่ท้องอยากฟัง คำพูดที่คนท้องอยากได้ยิน คำพูดที่สามีควรพูดกับภรรยาท้อง คำที่แม่ท้องอยากฟังพ่อพูด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้
แชร์ :
  • คนท้องไตรมาสที่สาม มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

    คนท้องไตรมาสที่สาม มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

  • คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้ ?

    คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้ ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • คนท้องไตรมาสที่สาม มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

    คนท้องไตรมาสที่สาม มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

  • คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้ ?

    คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้ ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ