ท้องไตรมาสแรก หรือ การตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยทางการแพทย์แบ่งระยะของการตั้งครรภ์ออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน (40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน) ทั้งนี้คุณแม่อาจตั้งครรภ์นานถึง 42 สัปดาห์ หรือ 294 วันก็ได้ แถมแต่ละไตรมาสก็มีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แตกต่างกัน
การนับอายุครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยมีการแบ่งการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้เป็นการเจริญเติบโตทางโครงสร้าง และพัฒนาการเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกๆที่คุณแม่ควรระวัง คือ การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และสภาพจิตใจให้สมบูรณ์ เพื่อที่จะส่งผลไปยังทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรงดี
ช่วงไตรมาสแรกของว่าที่คุณแม่ สิ่งที่มั่นใจแล้วแน่นอนว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรเริ่มจากการไปนัดพบแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ โดยสามารถสังเกตอาการท้องเริ่มต้นได้ดังนี้
- หน้าอกเปลี่ยนแปลง คัดตึงเต้านม บริเวณฐานหัวนมสีเข้มขึ้น หรือความรู้สึกไวมากกว่าปกติ
- ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงมดลูกมากขึ้น ส่งผลให้กดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ต้องเข้าห้องน้ำเพิ่มขึ้น
- อ่อนเพลียง่าย อยากนอนเพิ่มขึ้น อาจมีการเวียนหัว รวมทั้งอาการแพ้ท้อง
- อารมณ์แปรปรวนกว่าปกติ หงุดหงิดและอ่อนไหวน้ำตาลได้ง่าย
การเจริญเติบโตและพัฒนาการในการ ท้องไตรมาสแรก
อายุครรภ์เดือนที่ 1 อาจมีอาการอ่อนเพลีย, ง่วงนอนง่าย, ปัสสาวะบ่อย, คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งอาจมีอารมณ์แปรปรวนเหมือนก่อนมีประจำเดือน คุณแม่บางคนอาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อย เนื่องจากตัวอ่อนฝังตัวอาการต่าง ๆ
ครรภ์เดือนที่ 2 เป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะว่าเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตเร็วมาก เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัส หรือยาที่กิน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ก็อาจเกิดความพิการได้ ทารกจะเริ่มมีการสร้างแขนขาและตา ส่วนในช่วงสัปดาห์ที่ 7-8 จะเริ่มสร้างนิ้วมือ ทั้งยังมีความตื่นเต้นเมื่อครั้งไปอัลตราซาวนด์จะได้ยินเสียงหัวใจอีกด้วย
อายุเดือนที่ 3 ในช่วงนี้ทารกจะมีอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขนขา ศีรษะ ทั้งยังมีการอ้าปากและหุบปากได้ แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเท่าไรนัก เนื่องจากน้องยังมีขนาดเล็ก ศีรษะเด็กเมื่อเทียบกับลำตัวและหัวใจจะมีขนาดใหญ่กว่า ทั้งยังเริ่มมีการขับของเสียจากไต ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ และถูกนำออกโดยสายสะดือ เด็กในระยะนี้จะมีความยาว 4 นิ้ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 วิตามิน คนท้อง วิตามินเสริมที่ดีที่สุดสำหรับคนท้องและทารกในครรภ์
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ ท้องไตรมาสแรก
- ในส่วนของอาหาร ควรกินอาหารให้ได้ในปริมาณปกติเท่าตอนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่คุณแม่จะสามารถกินได้ หากมีอาการแพ้ท้องจนไม่สามารถทานอาหารได้ ควรทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มอื่นทดแทน เช่น น้ำหวาน หรือ น้ำผลไม้
- การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะให้คุณแม่และน้องได้รับการดูแลตลอด 9 เดือน แพทย์จะให้คำแนะนำที่เหมาะสม พร้อมทั้งวิธีป้องกันเบื้องต้น ทั้งยังช่วยวินิจฉัยโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์
- ระหว่างการตั้งครรภ์ไม่นิยมให้ฉีดวัคซีน เว้นแต่ว่ามีความจำเป็นให้แพทย์พิจารณาก่อนเข้ารับวัคซีน หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยักมาก่อน จะฉีดวัคซีนบาดทะยัก 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ในไตรมาสที่ 1-2
- ไม่ได้มีข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ เว้นแต่กรณีที่คุณแม่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยมีประวัติการแท้งบุตรมาแล้วหลายครั้ง หรือมีเลือดออกขณะการตั้งครรภ์ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสแรก และในคุณแม่ที่เคยมีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย
อาหารที่คุณแม่ควรทานเพิ่มขึ้น
- โปรตีน ควรเลือกทานโปรตีนที่หลากหลายเพิ่มขึ้น เน้น โปรตีนจากปลา เต้าหู้ ไข่ และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือดื่มนมเพิ่มวันละ 1-2 แก้ว
- วิตามิน จะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่มีความสมดุล และเพิ่มความแข็งแรง รวมถึงเสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เน้นการกินผัก, ผลไม้ ส่วนการทานวิตามินซีควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม รวมถึงคุณแม่ที่มีอาการท้องผูกควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์เพิ่ม
- แร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ควรทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อแดง ไข่แดง และนม ส่วนใหญ่คุณแม่จำเป็นต้องกินยาเม็ดธาตุเหล็กเพิ่ม เนื่องจากการรับประทานอาหารอย่างเดียวไม่เพียงพอ
- โฟเลต เป็นส่วนประกอบจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาท หากทารกขาดโฟเลตอาจเกิดภาวะกะโหลกศีรษะไม่ปิด หรือไขสันหลังไม่ปิด โฟเลตมีมากในผักใบเขียว ถั่วเหลือง ส้ม กล้วย และนมเสริมโฟเลต แต่ควรเริ่มกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน
- แคลเซียม เป็นส่วนสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งสามารถทานเพิ่มได้จากนม หรืออาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กระดูกอ่อน ปลาเล็กปลาน้อย พร้อมทั้งควรเริ่มทานยาเม็ดแคลเซียมเพิ่มด้วย
- น้ำ ในช่วงตั้งครรภ์มีความต้องการน้ำมากเป็นพิเศษจึงควรดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยแก้อาการท้องผูกและป้องกันภาวะขาดน้ำ ภาวะที่เป็นอันตรายอย่างมาก
การเอาใจใส่คุณแม่ที่กำลัง ท้องไตรมาสแรก ของการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ การทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใสไม่วิตกกังวลเกินไป แต่ก็ไม่ละเลยอาการอื่นที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่มองว่าอาการผิดปกตินั้นเป็นเรื่องธรรมดา การฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มหรือคัดกรองความเสี่ยงตั้งแต่ช่วง 3 เดือนแรก สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้สูงถึง 90% และป้องกันอาการครรภ์เป็นพิษได้ถึง 70%
ทั้งนี้เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วควรมาพบแพทย์ตามนัด พร้อมปรึกษาแพทย์หากพบอาการผิดปกติ ไม่ควรซื้อยากินเอง เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์
การเอาใจใส่ดูแลคุณแม่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ถือเป็นสิ่งจำเป็น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่วิตกกังวลจนเกินไป แต่ก็ไม่ละเลยอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่มองว่าเป็นเรื่องปกติ โดยการฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ตรวจคัดกรองความเสี่ยงของครรภ์เป็นพิษในช่วง 3 เดือนแรก สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้สูงถึง 90% และสามารถป้องกันการเกิดครรภ์พิษได้ 70% ที่สำคัญคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมาพบแพทย์ตามนัด ปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติ ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เคล็ดลับการตั้งครรภ์ และวิธีสังเกตอาการคนท้องระยะเริ่มแรก
วิธีการตรวจครรภ์ ทำยังไงได้บ้าง เปิด 4 วิธีที่ต้องรู้
ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ?
ที่มา : Samitivej Hospitals, bpksamutprakan
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!