TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก เกิดอะไรขึ้นกับลูกบ้าง แม่มือใหม่ต้องทำยังไง

บทความ 3 นาที
ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก เกิดอะไรขึ้นกับลูกบ้าง แม่มือใหม่ต้องทำยังไง

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับทารกตัวน้อย และวิธีการปฏิบัติต่อเจ้าตัวเล็กหลังการคลอดทันทีนั้นมีผลกระทบต่อลูกอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบกันค่ะ

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก เกิดอะไรขึ้นกับลูกบ้าง

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก เป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ของพ่อแม่ เพราะทันทีที่พ่อแม่เห็นหน้าลูกก็จะเกิดความรู้สึกรักแรกพบเลยทันที แต่ช่วงเวลานั้น มักถูกพรากด้วยพยาบาลที่ต้องแยกตัวลูกน้อยไปทำความสะอาด ชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และดูแลเรื่องอื่นๆ กระบวนการพวกนี้เองที่ มีส่วนให้เกิดผลกระทบต่อทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะอะไรนั้น ทาง TheAsianparent จะเล่าให้ฟังค่ะ

จริงๆ แล้วหลังคลอด คุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้พยาบาลพาลูกเราไปอาบน้ำ ล้างไขและคราบเลือดออกจากตัวลูกในทันที เนื่องจากสามารถทำช้ากว่านี้ 1-2 ชั่วโมงได้ เพราะชั่วโมงแรกนี้ สิ่งที่คุณแม่ควรทำมากที่สุดคือ การให้ลูกกินนมแม่ให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างตัวคุณแม่และลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการคลอดเองหรือผ่าคลอด นอกเสียจากลูกจะมีปัญหา ต้องรีบเข้ารับการดูแลพิเศษ

 

ชั่วโมงแรกของลูกสำคัญเพราะอะไร?

สิ่งหนึ่งที่อยากให้ว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่รู้ไว้ว่า หลังจากที่ทารกตัวน้อยคลอดออกมาแล้วนั้น ควรวางลูกน้อยไว้บริเวณท้องของคุณแม่ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรกับเจ้าตัวเล็กทั้งสิ้น จากนั้น ให้นำผ้าห่มมาคลุมทั้งคุณแม่และลูกเพื่อสร้างความอบอุ่น โดยปล่อยให้ร่างกายของทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่อยๆ ผลิตฮอร์โมนอะดรินาลีน (ฮอร์โมนแห่งความสุข) ขึ้นมา เพื่อไม่ให้รบกวนกับการผลิตฮอร์โมนออกซิโทซินและโพรแลคทิน ที่จะทำหน้าที่ในการผลิตนมแม่และคอยสานสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกน้อยอีกด้วย

ในระหว่างที่คุณแม่นอนกอดลูกน้อยในอ้อมกอด ระยะเวลานี้คุณแม่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบกับลูกน้อย โดยไม่มีสิ่งอื่นมารบกวน แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าคุณแม่ยังต้องค่อยๆ เบ่งเอารกออกมา และยังต้องเย็บแผลด้วยนะคะ

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารกแรกเกิด

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารกแรกเกิด

ประโยชน์ 7 อย่าง ของชั่วโมงแรกหลังคลอด

1.ลูกสามารถดูดนมคุณแม่ได้ทันที

การให้ลูกดูดนมคุณแม่ทันทีนั้น จะทำให้ร่างกายของคุณแม่ขับรกออกมาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น ลดความเสี่ยงจากการตกเลือดหลังคลอดได้ เมื่อลูกถูกวางไว้บนพุงของคุณแม่ที่ปราศจากการกั้นของเสื้อผ้า ให้ผิวเปลือยเปล่าได้สัมผัสกัน ลูกจะค่อยๆ กระดึบๆ ขึ้นมาหาเต้านมของคุณแม่และพยายามที่จะดูดนมเองเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติของเด็กๆ เพื่อที่จะหาแหล่งอาหารแรกเหมือนกับลูกของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ นั่นแหละ

2.ควบคุมระบบต่างๆ ในร่างกายได้

เด็กทารกที่ถูกวางบนร่างกายของคุณแม่ทันที ร่างกายของลูกจะสามารถควบคุมอุณหภูมิและการหายใจได้ดีกว่า โดยปกติแล้วเด็กทารกแรกเกิด เด็กโต และผู้ใหญ่นั้น ไม่สามารถที่จะปรับอุณหภูมิของร่างกายตัวเองได้ เนื่องจาก 9 เดือนที่อยู่ในท้องของคุณแม่นั้น สภาพแวดล้อมในถุงน้ำคร่ำคือสภาพแวดล้อมที่มีการคุมอุณหภูมิได้สมบูรณ์ที่สุด เพราะหากร่างกายของลูกสูญเสียความร้อนมากเกินไป จะทำให้ร่างกายใช้พลังงานและออกซิเจนที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถทนได้ เพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้มีสเถียรภาพ

นอกจากนี้การให้ผิวลูกสัมผัสกับผิวคุณแม่ ยังช่วงลดความเสี่ยงในการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วย ลูกจะผลิตกลูโคสที่เก็บไว้ในร่างกายเพื่อเป็นพลังงานสำรอง ขณะที่รอคอยน้ำนมจากอกของคุณแม่ค่ะ

3.ประโยชน์ของการชะลอการตัดสายสะดือ

การไม่ตัดสายสะดือทันทีนั้น ลูกจะยังได้รับออกซิเจนจากสายสะดืออยู่ ขณะที่ร่างกายจะค่อยๆ ปรับมาเป็นการหายใจทางปอด ลูกจะมีโอกาสได้รับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคโลหิตจาง และการขาดธาตุเหล็ก แม้แต่ในคุณแม่ที่ผ่าคลอดก็สามารถทำได้นะคะ ลองปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะถึงวันคลอดดูว่า ในกรณีของคุณแม่นั้นทำได้หรือไม่ มีความเสี่ยงใดๆ หรือไม่

 

ประโยชน์ 7 อย่าง ของชั่วโมงแรกหลังคลอด

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารกแรกเกิด

4.ประโยชน์ต่อความผูกพันธ์ระหว่างแม่และลูก

การวางลูกไว้บนตัวของแม่นั้น ลูกจะรู้สึกมั่นใจและสบายตัว เนื่องจากสายใยระหว่างแม่และลูกสำคัญต่อการมีชีวิตรอดของทารกแรกเกิด ฮอร์โมนออกซิโทซินจะเพิ่มมากขึ้นในสมองของคุณแม่ระหว่างที่ตั้งครรภ์ และเมื่อลูกคลอดออกมาฮอร์โมนนี้ก็จะทำหน้าที่ ด้วยการแสดงออกถึงพฤติกรรมต่างๆ ของคุณแม่ อย่างเช่น การกอด การจูบ พูดเรื่องในด้านบวก โดยที่ฮอร์โมนนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณแม่ให้นมและอุ้มลูกให้ผิวได้สัมผัสกัน

5.ช่วยให้การให้นมแม่สำเร็จ

เนื่องจากการให้ลูกดูดนมทันทีหลังจากที่คลอดออกมา จะทำให้ลูกเรียนรู้เรื่องการดูดนมแม่ได้เร็วกว่า และช่วยให้มีแนวโน้มการให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ตามคำแนะนำของ WHO ประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วยละค่ะ

6.การแยกจากคุณแม่

เด็กทารกเกิดมาพร้อมกับการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ทันทีหลังการคลอด ลูกจะตื่นตัวและจ้องมองมาที่ใบหน้าของคุณแม่ จดจำกลิ่น เสียง และสัมผัสของคุณแม่ได้ แต่เมื่อลูกโดนจับแยกจากคุณแม่ เจ้าตัวเล็กจะทำการประท้วง สงเสียงดัง เพื่อดึงความสนใจของคุณแม่ ให้คุณแม่มาโอบกอดและสัมผัสตัว และเมื่อการร้องไห้ไม่เป็นผล เด็กๆ จะเข้าสู่ช่วงสิ้นหวัง ยอมแพ้ ลูกจะเงียบและสงบ เป็นสัญชาตญาณที่หลีกเลี่ยงอันตรายจากนักล่า รวมไปถึงระบบร่างกายลูกจะทำงานช้าลงเพื่อสำรองพลังงานและความร้อนเอาไว้

7.เพิ่มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ

ระหว่างที่อยู่ในครรภ์ ตลอดจนการคลอด ลูกจะได้รับการปกป้องจากคุณแม่ และเรียนรู้ว่าแบคทีเรียอันไหนดีหรืออันไหนที่ไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งเป็นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคอื่นๆ ในอนาคต มีงานวิจัยที่บอกว่าหากทารกแรกเกิดไม่ได้รับแบคทีเรียที่ดีจากคุณแม่ ระบบภูมิคุ้มกันของเขาก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงการติดเชื้อของลูกได้ในอนาคต การให้นมแม่ก็เป็นการช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่ดีให้กับลูกได้นะคะ

ชั่วโมงแรกหของทารกแรกเกิด

ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารกแรกเกิด

วางแผนยังไงหากอยากอยู่กับลูกในชั่วโมงแรก

  • ปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ รวมไปถึงนโยบายของโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อดูว่ามีแผนที่คุณแม่ต้องการหรือไม่
  • ขอดูสถานที่จริงว่ามีเครื่องมือพร้อมไหม เช่น มีไฟที่สามารถหรี่ได้ สภาพโดยรอบเงียบหรือไม่ และมีความเป็นส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน
  • ควรพูดคุยทำความเข้าใจกับคุณหมอ และพยาบาลถึงความต้องการของคุณแม่ล่วงหน้า

 

ที่มา bellybelly รูป: abc, Kate Kennedy Birth Photography

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

คลอดลูกในน้ำ ปลอดภัยกับแม่และลูกแค่ไหน?

เทคนิคลดความกลัวการคลอดลูก ของแม่ใกล้คลอด

เช็คความปกติลูก 10 เรื่อง แม่ต้องสังเกตทารกแรกเกิด ตั้งแต่หัวจรดเท้า

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก เกิดอะไรขึ้นกับลูกบ้าง แม่มือใหม่ต้องทำยังไง
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว