สำหรับคุณแม่ที่ต้องเผชิญกับภาวะคลอดยาก เพราะคุณแม่มีอุ้งเชิงกรานแคบ ลูกหัวโต จนไม่แน่ใจว่าจะคลอดธรรมชาติได้ไหม หรือจำเป็นต้องผ่าคลอด cpd ซึ่งในวันนี้เราจะพาแม่ ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับ cpd ว่า cpd คือ อะไร มีความสำคัญต่อคุณแม่มากแค่ไหน ถ้าอยากรู้แล้วตามไปอ่านข้างในบทความได้เลยค่ะ
ภาวะคลอดยาก อุ้งเชิงกรานแคบ cpd คือ อะไร
อุ้งเชิงกราน หรือ cpd คือ กระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ห่อหุ้มช่องทางคลอด เป็นตัวกำหนด ลักษณะช่องทางคลอด อุ้งเชิงกราน เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างช่องท้องกับขาของคุณแม่ ในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงทุกคนประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ มดลูก ปากมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ อุ้งเชิงกรานทำหน้าที่พยุงค้ำจุนอวัยวะภายในเหล่านี้ไว้
cpd คือ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คลอดยาก
- ในผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย มีผลคือ ช่องคลอดจะสั้นซึ่งน่าจะตีว่าระยะทางผ่านของทารกย่นระยะลง แต่ความจริงแล้วผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ยกระดูกเชิงกรานมักจะเล็กและสอบเข้าหากันทำให้ช่องคลอดแคบ ดังนั้น เมื่อเชิงกรานแคบทำให้ช่องคลอดแคบตามไปด้วย
- โดยเฉลี่ยผู้หญิงที่มีความสูงน้อยกว่า 150 เซนติเมตร ถือว่าต้องระวัง ในขั้นตอนการคลอดทารกอาจคลอดออกมาติดหัวไหล่ ทำให้การคลอดทุลักทุเล อาจส่งผลร้ายทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้
- หากคุณแม่ที่มีอุ้งเชิงกรานแคบ และมีความประสงค์อยากจะคลอดเองนั้นสามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ค่ะ เพียงแต่ทารกในครรภ์อาจจะต้องตัวเล็ก มีขนาดไม่เกิน 3000 กรัม
- ปัจจัยอื่น ๆ ถ้าคุณแม่มีลมเบ่งเก็บแรงเบ่งได้ดี และขนาดของลูกไม่ใหญ่มาก คุณแม่ก็สามารถคลอดเองได้ แต่คุณแม่ต้องอึดและอดทนมากค่ะ ยิ่งถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ก็คลอดเองได้สะดวกเลยค่ะ
- ถ้าปล่อยให้เจ็บท้องคลอด คุณแม่อาจจะเจ็บทรมานยาวนานเกินไป อาจเกิดอันตรายกับคุณแม่และทารกได้ กรณีเช่นนี้ คุณหมอมักจะผ่าตัดคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และลูกค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก เป็นเพราะ 7 สาเหตุนี้
ภาวะที่อุ้งเชิงกรานแม่กับขนาดศีรษะทารกไม่เหมาะสมกัน
ในเพจใกล้มิตรชิดหมอได้โพสต์เกี่ยวกับ #เรื่องเล่าจากห้องคลอด cpd คืออะไร โดยอธิบายถึงภาวะ cephalopelvic disproportion หรือ CPD ภาวะที่อุ้งเชิงกรานแม่กับขนาดศีรษะทารกไม่เหมาะสมกัน ซึ่งมาจากประสบการณ์แม่ท้องท่านหนึ่ง ไว้ว่า
มีคุณแม่ท้องสองรายที่มีอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ซึ่งคุณแม่น้ำหนักตัวค่อนข้างเยอะ ประมาณ 100 กว่ากิโลกรัม และหมอพบว่าคุณแม่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงมาตลอดการตั้งครรภ์ ถึงแม้จะยังไม่ถึงขั้นวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันสูงก็ตาม แต่เมื่อได้ตรวจคลำหน้าท้องของคุณแม่แล้ว ก็พบว่าเด็กตัวค่อนข้างโต คุณหมอประมาณน้ำหนักน่าจะเกิน 3500 กรัม และศีรษะค่อนข้างลอย คือ ยังไม่ลงในอุ้งเชิงกราน
จึงได้มีการพูดคุยกันในทีมว่า ความดันคุณแม่ดูไม่ค่อยน่าไว้ใจ แม้ไม่ได้เข้าเกณฑ์ครรภ์เป็นพิษเพราะไม่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่หลังจากประเมินน้ำหนักเด็กแล้วก็ดูตัวใหญ่ด้วย จึงให้ทางเลือกในการกระตุ้นคลอด และทางคุณแม่เองก็ได้ตกลงตามคำแนะนำของคุณหมอค่ะ
สำหรับคุณแม่รายนี้แม้จะเป็นท้องที่สอง แต่ท้องแรกคุณแม่แท้งตอนไตรมาสแรก จึงยังไม่เคยผ่านคลอดมาก่อน คุณหมอจึงประเมินเหมือนท้องแรก โดยขั้นตอนก่อนการกระตุ้นคลอด ก็จะต้องประเมินปากมดลูกว่าพร้อมที่จะรับการกระตุ้นหรือยัง ซึ่งเมื่อประเมินปากมดลูกค่อนข้างนุ่ม และเปิดประมาณ 1 เซนติเมตร บางตัวนิดหน่อย ถ้าจะให้คะแนนความพร้อมของปากมดลูกก็อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง นั่นแปลว่าโอกาสกระตุ้นสำเร็จ สามารถคลอดทางช่องคลอดได้รับโอกาสล้มเหลวก็พอ ๆ กันเลยค่ะ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่คุณแม่อ้วนมาก ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ cephalopelvic disproportion หรือ CPD เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งแปลตามตัว คือ ภาวะที่อุ้งเชิงกรานแม่กับขนาดศีรษะทารกไม่เหมาะสมกัน อาจจะแสดงในลักษณะที่ว่ากระตุ้นคลอดไปแล้ว ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม หรือปากมดลูกเปิดระยะหนึ่งแล้วศีรษะเด็กไม่ลงมาก็ได้ หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า ปากมดลูกไม่เปิด หรือหัวเด็กไม่ลง แล้วทำให้ต้องไปผ่าคลอดกันบ่อย ๆ แต่อย่างที่เคยบอก เสี่ยงเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ว่าจะเกิดแน่ ๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เหตุผลว่าจะต้องไปผ่าคลอดเลย ยังสามารถลองกระตุ้นให้คลอดทางช่องคลอดได้ แต่แค่พึงระลึกไว้ในใจว่าอาจจะเกิด CPD ได้นะ
เกณฑ์การวินิจฉัย CPD หรือการดำเนินการคลอดล้มเหลว
การดำเนินการคลอดล้มเหลวที่ควรได้รับการผ่าตัดคลอด ควรจะพิจารณาจากการดำเนินการคลอดทางช่องคลอดเป็นหลัก โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ปากมดลูกต้องเปิดอย่างน้อย 4 เซนติเมตรขึ้นไป และบางตัวอย่างน้อยก็ต้องร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. มดลูกต้องหดรัดตัวสม่ำเสมอและแรงพออย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนการตัดสินใจ
3. การดำเนินการคลอดมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ protraction disorders, arrest disorders และ second stage disorders
การวินิจฉัย CPD ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เช่น ทารกตัวโตมากเกินไป ประมาณน้ำหนักไม่น้อยกว่า 4,500 กรัม ก็ควรได้รับความเห็นชอบจากสูติแพทย์อย่างน้อย 2 ท่าน เพื่อลงความเห็นและเหตุผลกำกับเอาไว้
ดังนั้น การดูแลภาวะการผิดส่วนของศีรษะทารกและอุ้งเชิงกรานจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะต้องตัดสินใจระหว่างการรอสำหรับการคลอดทางช่องคลอดต่อหรือตัดสินใจผ่าตัดคลอด ซึ่งปัจจุบันแม้การผ่าตัดจะมีความปลอดภัยกว่าสมัยก่อน แต่ความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอดและการดมยาสลบก็ยังถือว่าสูงกว่าการคลอดเองทางช่องคลอดอยู่ดีค่ะ หากแต่การตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมร่วมกับการเกิดผลลัพธ์ของการดูแลคลอดที่ไม่ดี คุณแม่หรือทารกในครรภ์ก็อาจจะเสียชีวิตได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
6 สัญญาณเตือน โค้งสุดท้ายใกล้คลอด คุณแม่เตรียมตัวได้เลย
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด วิธีสังเกต และแยกระหว่างปัสสาวะรั่วกับถุงน้ำคร่ำแตก
ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ข้อดีข้อเสีย และวิธีดูแลแผลผ่าคลอด
ที่มา : med.cmu
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!