โรคของทารกแรกเกิด
ทุกวันนี้ อากาศ มลพิษ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป โรคร้ายเกิดขึ้นมากมาย แม่ท้องต้องระวังตั้งแต่แรกเริ่มการตั้งครรภ์ จวบจนกระทั่งวันคลอด เมื่อลูกแรกเกิด อุแว๊ อุแว๊ ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ ที่แม่ต้องเอาใจใส่ ใช้เวลาทั้งหมดที่มีมาดูแลลูกน้อย และเพื่อให้แม่ ๆ ระแวดระวัง เรามีบทความเกี่ยวกับ โรคของทารกแรกเกิด เป็นโรคที่พบบ่อยในปัจจุบัน มาให้แม่ ๆ ได้ศึกษากันค่ะ
โรคทารกแรกเกิด 0 – 1 ปีที่พบบ่อย
เมื่อทารกคลอดออกมา ก็ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะทารกแรกเกิดนั้นอ่อนแอ อวัยวะต่างๆ ก็ยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ เสี่ยงต่อโรคร้าย หากพ่อแม่ไม่รู้จักสังเกตให้ดี หรือรักษาแบบผิดวิธี ระวังจะมีผลต่อพัฒนาการลูกรัก ในบทความนี้เราจึงขอนำเสนอ โรคทารกแรกเกิด 0 – 1 ปีที่พบบ่อย ให้ทั้งแม่ท้องได้ป้องกัน และเตือนใจแม่หลังคลอดให้ระวัง เฝ้าสังเกตอาการ และดูแลทารกแรกเกิดอย่างใกล้ชิด
โรคที่แม่ท้องต้องระวังตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์
โรคธาลัสซีเมียหรือโลหิตจาง
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคเลือดจางชนิดหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อแม่ที่เป็นโรคหรือพาหะของโรคจึงส่งต่อไปยังลูกในครรภ์ได้ ถ้าทั้งพ่อและแม่ เป็นโรคหรือพาหะของภาวะเลือดจางธาลัสซีเมียแบบเดียวกัน ทารกในครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ หรือหลังคลอดเพียง 1 – 2 ชั่วโมง
สำหรับอาการของทารกที่รุนแรงมาก
- ตาจะเหลือง
- มีปัญหาม้ามและตับโต
- สังเกตได้ว่า กระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป
เพื่อความปลอดภัย คุณหมอจึงแนะนำให้มีการเจาะเลือดคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในการฝากครรภ์
โรคดาวน์ซินโดรม
ดาวน์ซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรม สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ลักษณะเด่นของเด็กดาวน์ซินโดรม
- ศีรษะจะเล็กและแบน
- ตาเฉียงขึ้น
- มีดั้งจมูกที่แบน
- ปากเล็ก ๆ
- หูเกาะต่ำ
- ลิ้นโตคับปาก และไม่สูง
ส่วนปัญหาสุขภาพจะมีพัฒนาการล่าช้า ระดับสติปัญญา ซึ่งวัดจากไอคิว (IQ) จะอยู่ระหว่าง 20-70 ซึ่งต่ำ หรือเรียกว่า ปัญญาอ่อน และเด็กกลุ่มดาวน์มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือมีระบบการได้ยินที่ผิดปกติ
สำหรับคุณแม่ที่อายุเกิน 35 ปี มักจะมีความเสี่ยงสูงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม จึงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมระหว่างตั้งครรภ์
โรคและอาการที่แม่ต้องสังเกตทารกแรกเกิด
1.โรคทารกแรกเกิด 0 – 1 ปีที่พบบ่อย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทารกแรกเกิดที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิด แบ่งได้เป็น หัวใจพิการชนิดมีภาวะตัวเขียว และชนิดไม่มีภาวะตัวเขียว โดยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้น มาจากความผิดปกติของขั้นตอนการสร้างหัวใจ ซึ่งอาการของทารกแรกเกิดที่ต้องสังเกต เช่น ริมฝีปากเขียว หายใจแรง ซี่โครงบาน หน้าอกบุ๋ม ตัวเย็น มือเท้าเย็น ซีดแบบเฉียบพลัน แต่ที่ต้องระวังที่สุดคือ กลุ่มที่มีอาการหัวใจวาย จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ อาจต้องผ่าตัดและรักษาด้วยอุปกรณ์พิเศษทางสายสวน
2.โรคทารกแรกเกิด 0 – 1 ปีที่พบบ่อย ภาวะตัวเหลืองในทารก
ภาวะตัวเหลืองในทารก หลังคลอดใหม่ ๆ ทารกมักจะมีอาการตัวเหลืองเป็นเรื่องปกติ มากถึง 3-4 วันเลยทีเดียว แต่ถ้ายังไม่หาย และมีอาการตัวเหลืองมากจนผิดปกติ เพราะมีความเสี่ยงว่า ทารกจะตัวเหลืองจนถึงขั้นเป็นพิษกับเนื้อสมอง ทำให้เป็นสมองพิการ ถึงตอนนั้น ทารกจะมีอาการบิดเกร็งแขนขา หลังแอ่น ชัก ร่วมด้วย ถ้าพบแพทย์ไม่ทัน ก็ถึงขั้นเสียชีวิตได้
3.โรคทารกแรกเกิด 0 – 1 ปีที่พบบ่อย ภาวะติดเชื้อในทารก
ภาวะติดเชื้อในทารก อย่างที่เกริ่นเอาไว้ว่า ร่างกายของทารกแรกเกิดนั้นบอบบาง อ่อนแอ มีภูมิต้านทานน้อย ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ แต่ที่น่ากังวลมาก ๆ คือ การติดเชื้อนั้นลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญ โดยเฉพาะทารกที่คลอดออกมาแล้วมีน้ำหนักตัวน้อย หรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด
แม่ๆ ต้องสังเกตให้ดี หากลูกดูดนมน้อย ซึม ไม่ค่อยร้อง ตัวเย็น หายใจผิดปกติ หรือถ้ามีไข้สูง จนถึงขั้นชัก เกร็งกระตุก ให้รีบนำลูกมาพบแพทย์โดยด่วน
4.โรคทารกแรกเกิด 0 – 1 ปีที่พบบ่อย ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด
ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ภาวะนี้ซ่อนเร้นอยู่ในตัวทารก สังเกตได้ยาก แต่หากรักษาช้าเกินไป ไม่ให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก (ภายใน 2 เดือน) จะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการเจริญเติบโตและสมอง ส่งผลให้ปัญญาอ่อนได้
ดังนั้น พ่อแม่ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ หากได้รับการแจ้งจากโรงพยาบาล หรือกระทรวงสาธารณสุขว่า สงสัยทารกจะมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน
ป้องกันลูกรักให้ห่างไกล โรคทารกแรกเกิด 0 – 1 ปีที่พบบ่อย พ่อแม่ต้องป้องกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ฝากท้องให้เร็ว บำรุงครรภ์ให้ดี หมั่นพบแพทย์ตามนัด แล้วก็ตั้งใจเลี้ยงลูกรักในวัยทารกแรกเกิดให้ดี เพื่อให้ลูกเติบโตได้อย่างแข็งแรง
ที่มา :
รศ.นพ.ประชา นันท์นฤมิตหน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
นพ.วีระกิจ หิรัญวิวัฒน์กุล กุมารแพทย์ ประจำศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
รู้จักโรคขนคุดในเด็ก พบได้ทั้งเด็กเล็กและทารก
โรคลิ้นหัวใจรั่วในทารกแรกเกิด โรคที่พ่อแม่ควรรู้จัก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!