TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

บทความ 3 นาที
5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

หมอจะขอยกตัวอย่างความเชื่อที่ผิดเหล่านี้ ที่กุมารแพทย์ได้พบ เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่คุณพ่อคุณแม่นะคะ

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก ความเชื่อที่มีมาแต่ดังเดิมแต่โบราณเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วยของทารก อาจมีบางสิ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจและการกระทำที่ผิด จนเกิดอันตรายร้ายแรงแก่ทารกได้

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก

  • ทารกตาแดงควรใช้น้ำนมแม่หยอดตาเพื่อรักษา

กรณีศึกษา : คุณแม่ใช้น้ำนมแม่หยอดตาลูกวัยแรกเกิดที่ตาแดง เพราะมีผู้ใหญ่บอกว่าน้ำนมแม่มีความบริสุทธิ์จึงสามารถรักษาโรคตาแดงได้ แต่เมื่อหยอดแล้วกลับตาแดง และมีหนองมากขึ้น

ข้อเท็จจริง : ทารกตาแดง มีขี้ตาเป็นหนองมักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส น้ำนมแม่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรค หรือรักษาอาการตาแดงได้ หนำซ้ำยังเป็นแหล่งอาหารของเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นหากนำไปหยอดตาทารกที่ตาแดงจะยิ่งทำให้อาการรุนแรง มีการอักเสบติดเชื้อมากขึ้น จึงไม่ควรทำโดยเด็ดขาด

ข้อแนะนำ : หากทารกตาแดง มีหนอง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดหยอด และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่ตาด้วยค่ะ

 

  • ทารกมีไข้ไม่สบายควรไปกวาดคอ

กรณีศึกษา : ทารกวัย 9 เดือนที่มีไข้แล้วไปกวาดยาโดยเอายาแผนโบราณป้ายในลำคอด้วยใช้นิ้วมือ ซึ่งผู้ทำไม่ได้มีความรู้ทางการแพทย์แผนใด ๆ เพราะผู้ใหญ่บอกว่าเด็กไม่สบายแบบนี้ต้องไปกวาดยาเพื่อรักษา ปรากฏว่าทารกมีไข้สูงขึ้น เจ็บคอ กลืนลำบาก เบื่ออาหาร น้ำลายไหล คอบวม คอแข็ง จากโรคฝีหลังคอหอย จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นผลจากการกวาดยาที่ลำคอนั่นเอง

ข้อเท็จจริง : การกวาดยาเป็นการรักษาโรคแผนโบราณด้วยการใช้ยาสมุนไพรกวาดลงไปที่ลำคอของเด็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้ กลายเป็นโรคฝีหลังคอหอย มีอาการเหมือนกับทารกน้อยรายนี้ และต้องรักษาด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะ และบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนต้องได้รับการผ่าตัด

ข้อแนะนำ : หากทารกมีไข้ ไม่สบาย ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจรักษาหาสาเหตุที่ถูกต้องดีกว่านะคะ

 

  • ทารกมีฝ้าขาวที่ลิ้นควรใช้ปัสสาวะของลูกไปกวาดลิ้น

กรณีศึกษา : ทารกวัย 4 เดือนมีฝ้าขาวที่ลิ้น คุณพ่อใช้ผ้าอ้อมรองรับน้ำปัสสาวะของลูก แล้วนำไปกวาดลิ้น ตามคำแนะนำของผู้ใหญ่ ทำอยู่หลายวันก็ไม่ดีขึ้น จึงมาพบแพทย์

ข้อเท็จจริง : ฝ้าขาวที่ลิ้นของทารกมักเกิดจากคราบนมธรรมดา ซึ่งสามารถเช็ดออกโดยง่ายดายด้วยผ้าอ้อมชุบน้ำต้มสุก แต่หากเช็ดไม่ออกก็อาจเป็นการติดเชื้อรา ซึ่งรักษาโดยการใช้ยาต้านเชื้อราป้ายหรือหยดในบริเวณที่เป็น การใช้ปัสสาวะไปกวาดลิ้นไม่ได้ช่วยรักษาแต่กลับเป็นการนำเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทารกได้

ข้อแนะนำ : หากทารกมีฝ้าขาวที่ลิ้น ควรใช้ผ้าอ้อมชุบน้ำต้มสุกเช็ดออก หากเช็ดแล้วไม่ออกก็ควรไปพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อราค่ะ

 

  • ทารกท้องเสียเพราะยืดตัวตามวัย

กรณีศึกษา : ทารกวัย 6 เดือน มีอาการถ่ายเหลว 5-7 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีมูกปนเลือดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นอยู่นานหลายวันจนมีตาโหล ปากแห้ง จากการขาดน้ำ ไม่ได้มารับการรักษาที่โรงพยาบาลแต่แรกเพราะผู้ใหญ่บอกว่าเด็กวัยนี้ท้องเสียเป็นเรื่องปกติเพราะเด็กยืดตัว

ข้อเท็จจริง : อาการท้องเสียในเด็กวัยนี้ มักเกิดจากติดเชื้อโรค จากการที่เด็กเริ่มเคลื่อนไหว หยิบจับสิ่งของได้เอง ชอบเอาของเข้าปาก ไม่ได้เป็นเพราะการยืดตัว หากติดเชื้อไวรัสจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ อาการไม่รุนแรง แต่หากติดเชื้อแบคทีเรียอาจมีอาการรุนแรง ไข้สูง ได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

ข้อแนะนำ : หากทารกมีอาการท้องเสียมาก ทานได้น้อย ซึม ตาโหล ปากแห้ง จากการขาดน้ำ ไข้สูง มีอาการรุนแรง ควรรีบไปพบคุณหมอ ไม่ควรชะล่าใจว่าท้องเสียเป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้ เพราะอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้นะคะ

 

  • หากไม่ดัดขาทารกหลังอาบน้ำจะขาโก่ง

กรณีศึกษา : ทารกวัย 5 เดือน พี่เลี้ยงผู้ดูแลดัดขาให้ทุกครั้งหลังอาบน้ำตั้งแต่แรกเกิด ช่วง 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลสังเกตว่าร้องไห้งอแงทุกครั้งเมื่อจับขาจะดัด และร้องกวนทั้งวันผิดปกติ จึงมาพบแพทย์ เมื่อ x-ray ก็ปรากฎว่า กระดูกขาหัก

ข้อเท็จจริง : เด็กทารกจะมีขาที่ไม่ได้ดูตรงนักแต่แรกเกิด เมื่อโตขึ้นขาก็จะค่อย ๆ ตรงเป็นปกติได้เอง มีเด็กบางรายเท่านั้นที่มีภาวะขาโก่งกว่าปกติ การดัดขาทารกไม่ได้ช่วยป้องกันขาโก่งแต่อย่างใด

ข้อแนะนำ : ไม่ควรดัดขาทารกเพื่อให้ตรง หรือป้องกันขาโก่ง เพราะอาจนำมาซึ่งการบาดเจ็บ ผิดรูป หรือกระดูกหักได้ และหากสงสัยว่าทารกขาโก่งผิดปกติ ก็ควรไปปรึกษาคุณหมอนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด แม่ต้องรู้และระวังลูกน้อยเอาไว้

ไม่อยากให้ลูกต้องป่วยบ่อย ต้องสอนลูกให้ทำแบบนี้

อุทาหรณ์! ลูกพิการเพราะจ้างคนอื่นเลี้ยงลูก กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว