ลูกจะเกิดมามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายของเขาไหมนะ ? แล้วคุณจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากอะไรต่อจากนี้หรือไม่ ? เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่คุณต้องมีความรู้ในการเตรียมตัว และเข้าร่วมการตรวจทุกอย่างก่อนคลอด เพื่อหาปัญหาของคุณให้เจอเสียก่อน ยิ่งตรวจหาปัญหาเจอก่อน ก็จะยิ่งมีเวลา และวางแผนการรักษาได้หลายรูปแบบมากขึ้น ตรวจครรภ์ก่อนคลอด สำคัญนะ !!! แม่ท้องแก่ห้ามละเลยเด็ดขาด
ตัวอย่างการ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด
- การเจาะถุงน้ำคร่ำ
- การตัดชิ้นเนื้อจากรก (CVS)
- การเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ (FBS)
การตรวจแต่ละประเภท มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน และเหมาะกับแม่ท้องที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ กันออกไป อย่างไรก็ตาม การตรวจแต่ละประเภทก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ตัวอย่างการตรวจครรภ์ก่อนคลอด มีดังนี้
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
หมายถึง การรวบรวมข้อมูลและตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม การเผาผลาญอาหารผิดปกติจากกรรมพันธุ์ และการติดเชื้อในครรภ์
การตรวจนี้เหมาะกับใคร
การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เคยมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือได้รับผลการตรวจคัดกรองที่ไม่ปกติ
เมื่อไหร่จึงควรตรวจ
มักจะเป็นระยะเวลาตั้งครรภ์ระหว่าง 15 – 20 สัปดาห์
ตรวจอย่างไร
แพทย์จะนำน้ำคร่ำบางส่วนจากผนังมดลูกออกมาในขณะที่ทำการอัลตร้าซาวน์ด้วยเข็มเล็กมากๆ เซลล์นี้จะถูกเพาะเลี้ยงในจานเพาะเชื้อ และจะทำการวินิจฉัย คนไข้อาจจะมีความรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย แต่ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น คนไข้จะได้รับผลการตรวจภายใน 1-2 สัปดาห์
ความเสี่ยงที่อาจเกิด
มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกบาดเจ็บ แต่ก็น้อยมาก ขั้นตอนนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรเพียง 1 ต่อ 200 อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่ำที่เกิดการติดเชื้อที่มดลูก และน้ำคร่ำรั่ว
การตัดชิ้นเนื้อจากรก (CVS)
หมายถึง มักใช้วิธีนี้ในการหาข้อมูลโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ข้อดีของการตรวจแบบนี้ ที่ไม่เหมือนการเจาะน้ำคร่ำ คือ สามารถตรวจได้ในระยะตั้งครรภ์ที่เร็วกว่า สามารถให้ครอบครัวตัดสินใจ และรับฟังคำปรึกษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
การตรวจนี้เหมาะกับใคร
การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เคยมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือได้รับผลการตรวจคัดกรองที่ไม่ปกติ
เมื่อไหร่จึงควรตรวจ
มักจะเป็นระยะเวลาตั้งครรภ์ระหว่าง 15 – 20 สัปดาห์
ตรวจอย่างไร
แพทย์จะใช้เข็มสะกิดเนื้อเยื่อบาง ๆ ในรกออกมาในระหว่างการทำอัลตร้าซาวด์ เนื้อเยื่อบาง ๆ นี้จะนำไปตรวจหาการคลอดบุตรที่ผิดปกติ เพราะทารกเกิดจากรก และตัวอย่างของเนื้อเยื่อนี้จะต้องมีโครโมโซมเหมือนกันกับทารกที่ยังอยู่ในครรภ์ขณะนี้ อาจจะมีอาการเจ็บปวดเบา ๆ ระหว่างกระบวนการนี้และจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ด้วย คนไข้จะได้รับผลการตรวจภายใน 1 – 2 สัปดาห์
ความเสี่ยงที่อาจเกิด
การตรวจแบบนี้ก่อให้เกิดการแท้งบุตรเพียง 1% แต่ยังมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และข้อบกพร่องของการเจริญเติบโตของเด็ก หากทำการตรวจนี้เร็วเกินไป
บทความแนะนำ: สร้างความสัมพันธ์กับลูกน้อยแรกเกิด
การเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ (FBS)
หมายถึง มักใช้วิธีนี้ในการหาข้อมูลโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และการติดเชื้อที่อาจเกิดผลกระทบกับทารกในครรภ์และภาวะโลหิตจาง หรือระดับเกล็ดเลือfต่ำ ข้อดีที่สำคัญที่สุดของการตรวจแบบนี้คือ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อทารกในครรภ์ที่อาจถูกรบกวนจากการตรวจ
การตรวจนี้เหมาะกับใคร
เหมาะสำหรับมารดาที่พบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรอง เช่น จากการอัลตร้าซาวด์ เมื่อการตรวจในแบบอื่น ๆ ยังสรุปไม่แน่ชัด หรือเมื่อทราบถึงการติดเชื้อโรคบางอย่างที่อาจกระทบถึงบุตรในครรภ์ได้
เมื่อไหร่จึงควรตรวจ
มักจะเป็นระยะเวลาตั้งครรภ์ระหว่าง 18 – 23 สัปดาห์
ตรวจอย่างไร
แพทย์จะใช้เข็มเจาะผ่านท้อง เข้าไปถึงมดลูก และเก็บตัวอย่างเลือดจากทารกในครรภ์ ในระหว่างการทำอัลตร้าซาวด์ อาจเจ็บปวดเล็กน้อยระหว่างขั้นตอนที่ทำ และจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ คนไข้จะได้รับผลการตรวจภายใน 3 – 5 วัน
ความเสี่ยงที่อาจเกิด
มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรเพียง 1 – 1.5%
โค้งสุดท้ายก่อนคลอด แม่ท้องแก่เจออะไรบ้าง
เรื่องจริงที่แม่ท้องใกล้คลอดต้องเจอ โค้งสุดท้ายแล้วคนท้องต้องเจออะไรบ้าง?
1.กังวลว่าเมื่อไหร่จะถึงวันคลอด
คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้ว่าวันไหนคือวันครบกำหนดคลอดคร่าวๆ เท่านั้น สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดอาจจะไม่ต้องกังวลมากนักเพราะว่ารู้วันเวลาที่แน่นอน แต่สำหรับแม่ที่คลอดธรรมชาตินั่นไม่เหมือนกัน บบางทีถึงวันครบกำหนดแล้วแต่ยังไม่คลอดสักทีจนเลยไปถึง 42 สัปดาห์เลยก็มี
2.น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น
ยิ่งนานวันคุณแม่จะรู้สึกว่าท้องโตขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นจะเดินก็ลำบาก เนื่องจากภายในม้องของคุณแม่ไม่ได้มีแค่ลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังมีรก มีน้ำคร่ำ ไหนจะน้ำหนักตัวของคุณแม่เองอีก ทำให้คุณแม่ยิ่งรู้สึกว่าเคลื่อนไหวลำบาก เหนื่อยง่าย จะยืนจะเดินนานๆ ก็ไม่ได้อีก
3.ความอดทนเริ่มลดน้อยลง
เมื่อลูกโตขึ้นมดลูกก็จะไปเบียบพื้นที่ในร่างกายของคุณแม่ให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้คุณแม่ท้องผูกเอาได้ง่ายๆ ไหนจะฮอร์โมนในร่างกายที่เพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบ่ยตัว และเริ่มมีโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคริดสีดวงทวาร และผื่นคัน ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าเมื่อไหร่ลูกจะคลอดสักทีนะ แม่เริ่มไม่ไหวแล้ว
4.อาการต่างๆ รุมเร้า
แม่ท้องมีปัญหาเรื่องน้ำหนัก ท้องผูก ไม่สบายเนื้อตัวมาตลอดการตั้งครรภ์ และส่วนใหญ่มักจะบ่นกันเรื่องปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหน่วงๆ บริเวณหัวเหน่า ขาบวม เท้าบวม ระบบขับถ่ายแย่ กรดไหลย้อน ทุกสิ่งทุกอย่างถาโถมเข้ามา และมักจะรู้สึกแย่มากๆ ในช่วงใกล้คลอด เพราะเกิดการหดตัวที่มากขึ้น รวมถึงการเจ็บท้องหลอกที่ถี่ขึ้นอีกด้วย
5.พยายามถามทุกอย่าง
ความกังวลของคุณแม่จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นในช่วงโคงสุดท้ายก่อนคลอด โดยเฉพาะท้องแรก คุณแม่จะยิ่งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากคนที่มีประสบการณ์มาก่อน หรือถามใครก็ได้ที่ช่วยให้ข้อมูล หรือช่วยคลายความกังวลของคุณแม่ให้ได้มากที่สุด
6.นอนหลับยาก
ถึงแม้ว่าคุณแม่จะพยายามนอนตามที่หลายคนแนะนำมาก แต่ก็นั่นแหละพอจะนอนจริงๆ ก็เหมือนนอนไม่เต็มที่ หลับได้สักพักก็ต้องตื่น เพราะลูกดิ้นบ้าง ปวดเมื่อย แขนขาชาบ้าง เจ็บหน่วงๆ จนทำให้ตื่น หรืออาจรู้สึกว่าหายใจไม่สะดวกบ้าง
7.เข้าห้องน้ำบ่อย
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท้องต้องงตื่นนอนบ่อยๆ ด้วยความที่กระเพาะปัสสาวะที่มดลูกที่ขยายเบียดมากขึ้น ทำให้พื้นที่ลดลงน้อย คุณแม่จึงต้องขยันเดินเข้าห้องน้ำบ่อยๆ จนทำให้คุณแม่รู้สึกรำคาญตัวเองบ้างก็มี เพราะว่าเพิ่มจะนอนหลับได้เอง ต้องตื่นไปเข้าห้องน้ำเสียแล้ว
8.เบื่อที่จะรอแล้ว
คุณแม่ที่รอคอยลูกน้อยมาจนถึงสัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด จะรู้สึกตื่นเต้นมากๆ และอยากจะเจอหน้าลูกเร็วๆ และถ้าถึงกำหนดคลอดแล้วแต่ลูกยังไม่คลอดจะรู้สึกว่าอยากให้ลูกคลอดมาสักที ไม่อยากจะรอแล้ว ทำให้คุณแม่หลายคนเริ่มที่จะหาวิธีเร่งคลอดเพื่อที่จะได้พบลูกน้อยได้เร็วขึ้น
ที่มา : www.healthline.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คุณแม่ต้องรู้ วิธี เตรียมพร้อม คลอดธรรมชาติ ก่อนคลอดต้องเตรียมตัวยังไง?
หญิงไทยทุกคนมีสิทธิในการฝากครรภ์ฟรีแล้ว
เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลเด็กแรกเกิด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!