X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลเด็กแรกเกิด

บทความ 3 นาที
เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลเด็กแรกเกิด

ได้ยินกันมาบ่อยใช่ไหมค่ะถึงเรื่องน่าสะพรึงกลัวของการตื่นขึ้นมาให้นมกลางดึก ไหนจะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมไม่รู้จักจบจักสิ้นสักที จนทำให้การตั้งท้องช่วงไตรมาสสุดท้ายของคุณไม่เป็นสุขเลย อย่าได้กลัวไปค่ะ

เตรียม พร้อม ดูแล เด็กแรกเกิด แรกคลอด ลูก

เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลเด็กแรกเกิด

มีตั้งหลายวิธีที่จะทำให้ชีวิตวุ่นวายของคุณในช่วงแรกคลอดนั้นง่ายไปถนัดตาเลยทีเดียว อีกทั้งลูกน้อยก็เป็นสุขเพราะได้รับการดูแลอย่างดีอีกด้วย

หาเวลานอน ว่างเมื่อไหร่ก็นอนเลยค่ะ

เริ่มจากช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนเลยค่ะ คุณควรเริ่มจากการเข้านอนแต่หัวค่ำและงีบทุกครั้งที่มีเวลา เพื่อเตรียมเก็บพลังงานเอาไว้ใช้ตอนคลอดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แค่คุณเจ็บท้องนี่ก็แทบจะหมดแรงแล้วหละค่ะ ไม่ต้องพูดถึงความรู้สึกเหนื่อยและไม่มีแรงช่วงเจ็บท้องคลอดที่อาจจะกินเวลานานแสนนาน แค่ปล่อยให้ถึงช่วงที่คุณต้องออกแรงเบ่งอย่างเดียวก็พอ และช่วงแรกเกิดของลูก คุณต้องพักผ่อนให้มาก ๆ เข้าไว้

ปล่อยให้คนอื่นดูแลจัดการกับงานบ้านไป ถ้าไม่มีใครทำแทนจริง ๆ ก็ปล่อยไว้ก่อน เพราะว่าสิ่งแรกที่ควรทำในช่วงนี้คือการพักฟื้นของคุณและการดูแลลูกน้อย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างสายใยรัก การให้นม และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก คุณควรกินอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะช่วงให้นมลูก แล้วก็อย่าลืมต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมของลูกด้วยนะคะ

นอกจากนี้แล้วกิจกรรมอย่างอื่นก็อย่าเพิ่งไปใส่ใจนะคะ สำหรับฉันแล้ว สิ่งที่ชอบที่สุดช่วงให้นมลูกคือ การให้ลูกดูดนมจากเต้าเลยค่ะ เพราะไม่ต้องเก็บล้างขวดนม รับรองได้เลยว่ามีเวลานอนเพิ่มขึ้นอย่แน่นอน

Advertisement

เตรียมของใช้ลูกให้พร้อมช่วยลดความเครียดได้

ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของลูกควรเตรียมและจัดเข้าที่ให้เรียบร้อยตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 ผ้าอ้อมและทิชชูเปียกควรให้อยู่ใกล้มือ หยิบใช้สะดวก เสื้อผ้าลูกควรซักทำความสะอาดให้เรียบร้อยและอยู่ใกล้ที่เปลี่ยนเสื้อผ้า ในช่วงแรก ๆ คุณอาจจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ลูกบ่อยสักหน่อย เพราะลูกอาจจะสำรอกออกมา ผ้าอ้อมรั่ว หรืออาจจะสำลักนมจากอกของคุณก็เป็นได้

อ่านเพิ่มหน้าถัดไป


ในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ก็มาจับเข่าคุยกับสามีว่าจะใช้กลยุทธ์ไหนเลี้ยงลูกดี วิธีนี้จะช่วยให้คุณแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งพ่อแม่มือใหม่ที่ไม่มีใครช่วยดูแลนั้นจะตกใจทำอะไรไม่ถูกเลยในช่วง 2 สัปดาห์แรก นอกจากนี้ยังหงุดหงิดง่าย สมองไม่ปลอดโปร่งอีกด้วย ดังนั้นวางแผนไว้ล่วงหน้าว่ามีอะไรต้องทำบ้าง ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้จะทำอย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต้องทำอย่างไร

ทำงานเป็นทีมคือกุญแจสู่ความสำเร็จ

กว่าจะท้องได้ก็ต้องอาศัยคุณทั้งสองคน ดังนั้นการเลี้ยงลูกก็ต้องอาศัยแรงกายแรงใจจากคุณทั้งสองด้วยเช่นกันถึงจะถูก จริงอยู่ที่พ่อให้ลูกกินนมจากเต้าไม่ได้ แต่งานอื่น ๆ ที่สำคัญที่พอสามารถช่วยได้ก็มีถมเถไป ไม่ว่าจะกล่อมลูกให้หลับ ช่วยงานบ้าน ทำกับข้าวง่าย ๆ เปลี่ยนผ้าอ้อม เป็นต้น

แม่มือใหม่ทั้งหลายล้วนรู้สึกแปลก ๆ ถึงร่างกายที่เปลี่ยนไปหลังคลอดตลอดจนกลไกการผลิตนมของหน้าอก ช่วงหลังคลอดนี้อาจจะทำให้ร่างกายของคุณแม่ปวดและเมื่อยล้า ดั้งนั้นหากคุณพ่อช่วยดูแลคุณแม่ในช่วงนี้ได้เป็นอย่างดีแล้วหละก็ ความรักของทั้งคุณแม่และคุณพ่อก็จะแข็งแกร่งขึ้น และสามารถตกลงกันและช่วยเหลือกันจนเรื่องการเป็นพ่อแม่นั้นง่ายไปอย่างถนัดตา สิ่งที่ต้องขอเตือนคุณพ่อคืออย่าบ่นจุกจิกไร้สาระเด็ดขาดนะคะ

คำแนะนำสำหรับคุณสามี

ในช่วงที่ร่างกายของผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปย่อมทำให้เธอมีความรู้สึกนึกคิดที่ต่างไปจากเดิมด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับช่วงหลังคลอด พอดีสามีของฉันแซวดิฉันเล่นว่า เวลาให้นมลูกนี่เหมือนเป็นแม่วัวเลย พอดิฉันได้ฟังเท่านั้นแหละ เลยเสียเวลาไปครึ่งชั่วโมงนั่งร้องไห้ตาบวมเพราะนั่งนึกถึงสภาพวัวแม่ลูกอ่อน ดิฉันคงไม่โทษสามีหรอค่ะ เพียงแต่ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่นั่นเอง ผู้หญิงเราก็แค่ต้องการความรักและการดูแลช่วยเหลือจากสามีเท่านั้นเอง

สำหรับบางคนที่โชคดีมีคนรอบข้างคอยช่วยเหลือก็นับว่าเป็นการจัดการทำงานเป็นทีมเวิร์คที่ดีมากเลยค่ะ คนหนึ่งช่วยหน้าที่นั้น อีกคนช่วยอีกหน้าที่หนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วเราก็ได้พักเหนื่อยกันทุกคน แถมลูกยังได้รับการดูแลอย่างดีอีกด้วย

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลเด็กแรกเกิด
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว