X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ท้องอายุ 40 up เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย

บทความ 3 นาที
แม่ท้องอายุ 40 up เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ขึ้นไป นับว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า ความเสี่ยงนั้นมีทั้งตัวคุณแม่เองและทารกน้อยในครรภ์ นอกจากนี้ผลวิจัยพบว่า แม่ตั้งครรภ์อายุ 40 ขึ้นไป เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย จะเป็นอย่างไรติดตามอ่านค่ะ

ท้องตอนอายุ 40 up เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย

คนท้องอายุ40 ปีขึ้นไปเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ

การตั้งครรภ์ของคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปี  ทารกอาจเสี่ยงกับภาวะดาวน์ซินโดรมเพราะแม่ที่อายุมาก  ไข่ที่ได้รับการผสมนั้นก็มีอายุมากเช่นกัน   ดังนั้น   จึงมาพร้อมกับความเสี่ยงที่หลากหลาย  จากการแถลงผลการวิจัย การประชุมนานาชาติโรคหลอดเลือดสมองอเมริกันสมาคม 2016   พบว่า  คนท้องที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป  เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย   จากการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่มีอายุ 50-79 เป็นระยะเวลากว่า 12 ปี มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย ร้อยละ 4.6 โดยพบว่า

– คนท้องอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง มีความเสี่ยง ร้อยละ 3.8

– โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากเลือดออกในสมอง  มีความเสี่ยง ร้อยละ  2.5 – 3

– โรคหัวใจและหลอดเลือด  มีความเสี่ยงร้อยละ 3.9

ดร. Qureshi กล่าวว่า  สาเหตุที่คนท้องอายุมากกว่า 40 ปี มีความเสี่ยงนั้นเกิดจาก ผู้หญิงที่อายุมากมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้มาก  รวมไปถึงการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดเมื่อตั้งครรภ์เลือดจะสูบฉีดมากกว่าเดิม แต่สภาพร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดน้อยส่งผลให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานหนักขึ้นนั่นเอง

การป้องกันความเสี่ยงที่คุณหมอแนะนำ

คนท้องอายุ40 ปีขึ้นไปเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ

1. การตัดสินใจตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ควรตรวจเช็คร่างกายเพื่อดูความแข็งแรงของร่างกายคุณแม่ รวมไปถึงโรคทางพันธุกรรมที่อาจแฝงอยู่

บทความแนะนำ   ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม

2. ฝากครรภ์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจร่างกายและให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพครรภ์ของคุณแม่

3. ทำจิตใจให้สบาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

4. หากเกิดความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น เช่น ปวดเกร็งท้อง มีเลือดออกจากช่องคลอด หรือมีอาการอื่นใดที่ไม่น่าไว้วางใจต้องพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ

แม้ว่าผลวิจัยจะออกมาอาจทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากเกิดความกังวลใจ  แต่อย่าเพิ่งคิดมากหรือกังวลไปก่อนนะคะ  หากคุณแม่อยู่ในความดูแลของคุณหมอก็ไม่น่าห่วงอะไร  เพราะมีคุณแม่จำนวนมากที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากแต่เด็กที่ออกมามีสุขภาพแข็งแรง  ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ

 

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

fitpregnancy.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลูกที่เกิดจากแม่อายุมากก็มีพัฒนาการที่ดีได้

ท้องตอนอายุมากกว่า 35 จะมีปัญหาหรือไม่

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT รู้ทันความเสี่ยงโครโมโซมของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT รู้ทันความเสี่ยงโครโมโซมของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่ท้องอายุ 40 up เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย
แชร์ :
  • ตรวจ NIPT รู้ทันความเสี่ยงโครโมโซมของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT รู้ทันความเสี่ยงโครโมโซมของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ตรวจ NIPT รู้ทันความเสี่ยงโครโมโซมของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT รู้ทันความเสี่ยงโครโมโซมของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว