เมื่อคุณผู้หญิงอายุมากขึ้น ก็เริ่มกังวัลว่า ถ้าหาก แม่อายุมากมีลูก จะส่งผลอะไรต่อการมีลูกหรือไม่
แม่อายุมากมีลูก ลูกก็มีพัฒนาการที่ดีได้
การมีลูกเมื่ออายุมาก ความเสี่ยงในการที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ก็มีมากขึ้นด้วย เช่น ลูกอาจเป็นดาวน์ซินโดรม หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นออทิสติก หรืออัลไซเมอร์ได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยิ่งเวลาผ่านไปเท่าไหร่ โอกาสที่จะมีลูกยากก็ยิ่งเพิ่มขึ้นด้วย
แต่จากการศึกษาในชาวสวีเดน 1.5 ล้านคนพบว่า การมีลูกเมื่ออายุมากมีข้อดีมากมายเช่นเดียวกัน
เด็กที่เกิดจากแม่อายุมากจะตัวสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนน้อยกว่า มีแนวโน้มที่จะเข้ามหาวิทยาลัย และมีแนวโน้มที่จะทำข้อสอบได้ดีกว่าพี่ๆ ที่เกิดก่อน
ลองคิดตามซิคะว่า ผู้หญิงคนหนึ่งเกิดในปี 1960 มีลูกคนแรกเมื่ออายุ 20 ปี และมีลูกคนที่สองเมื่ออายุ 40 ปี ในช่วงเวลา 20 ปีที่ต่างกัน โลกมีการพัฒนาไปมากทั้งในด้านการแพทย์ อัตราการเสียชีวิต และการศึกษา ดังนั้น เด็กที่เกิดในปี 2000 จึงมีแนวโน้มที่จะเรียนสูงกว่าพี่ที่เกิดในปี 1980
ถึงแม้จะมีความเสี่ยงในเรื่องของสุขภาพ แต่พัฒนาการของเด็กเอง ก็ดีขึ้นได้ตามช่วงสมัยที่เกิดเช่นกัน
ผู้หญิงทั่วโลกมีลูกช้าลงด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เนื่องด้วย การเข้าถึงการคุมกำเนิดที่ดีกว่า โอกาสทางอาชีพที่ดีขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
หลายๆ ครอบครัว มีลูกช้าลง ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน
ในปี 1968 ประมาณ 75% ของทารกในสวีเดน เกิดจากแม่ที่อายุน้อยกว่า 30 ปี ในขณะที่ปี 2013 ประมาณ 60% ของทารก เกิดเมื่อแม่อายุ 30 ปีหรือมากกว่า
Mikko Myrskylä จากสถาบัน Max Planck เพื่อการวิจัยประชากรและคีรอนบาร์เคลย์ของ London School of Economics ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากชาวสวีเดนกว่า 1.5 ล้านคนที่เกิดระหว่างปี 1960 และ 1991
โดยโฟกัสที่พี่น้อง (ไม่รวมฝาแฝด) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุของมารดาเมื่อมีลูก และคุณลักษณะบางอย่างของลูกแต่ละคน รวมถึง ความสูง สมรรถภาพทางร่างกาย เกรดในโรงเรียนมัธยม และระดับการศึกษา
การศึกษาดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในเดือน เมษายน 2016 ใน the Population and Development Review
ที่สวีเดนเด็กๆ จะได้เรียนฟรีในทุกระดับชั้น เป็นผลให้อัตราคนที่เข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษามีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี โดยระหว่างปี 1960 และ 2000 มีการลงทะเบียนเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการศึกษาดังกล่าวพบว่า ในปี 2012 ประมาณ 33% ของชาวสวีเดนจบการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา
ทั้งนี้ แนวโน้มดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับประเทศอื่น เด็กอเมริกันและอังกฤษก็ยังใฝ่หาการศึกษาเพิ่มเติม และแม่ชาวอเมริกันและอังกฤษก็มีลูกช้าเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยไม่สามารถแนะนำให้คุณรอจนอายุมากแล้วค่อยมีลูก เนื่องจากความเสี่ยงด้านสุขภาพนั้นรุนแรงจริงๆ เด็กที่เกิดจากคุณแม่อายุ 20-24 มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรม 1 ใน 1,500 คน ในขณะที่ เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมถึง 1 ใน 200 คน
จากการศึกษายังพบว่า คุณแม่ที่มีอายุมากกว่ามีแนวโน้มที่จะก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้นซึ่งจะช่วยให้มีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้นและหาเงินได้มากขึ้นด้วย
ไม่ผิดที่คุณแม่จะมีลูกช้า เพราะต้องความมั่นคงและความพร้อมในการเลี้ยงลูก
Myrskylä กล่าวว่า เขาอยากจะชี้ให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับอายุของมารดากับการมีบุตร พ่อแม่ที่มีลูกเมื่ออายุมากเข้าใจดีถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก แต่พวกเขาไม่ได้คิดถึงผลในเชิงบวกเหล่านี้
จากการศึกษานี้อาจทำให้คู่ที่พยายามมีลูกมีกำลังใจมากขึ้น แม้เวลาที่ล่วงเลยจำทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีข้อดีอีกมุมมองหนึ่งเช่นกันค่ะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อ ติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัว ไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”
Source หรือ บทความอ้างอิง : https://qz.com/
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
หลังอายุ 35 ก็มีลูกได้ แต่อย่ารอจนสายเกินไป
อายุมากขึ้นส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!