X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?

บทความ 5 นาที
ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?

คุณควรเตรียมตัวก่อนมีลูกอย่างไรดี ควรตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ไหม? การตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ลองมาอ่านดูกัน

ฉันควรตรวจร่างกาย ก่อนการตั้งครรภ์ไหม? – เตรียมตัวก่อนมีลูกอย่างไรดี

ฉันควรตรวจร่างกาย

ฉันควรตรวจร่างกาย

สูตินรีแพทย์แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้หญิงสาวที่ต้องการมีบุตรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ การตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ในขั้นต้นสามารถคัดกรองความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งท้อง ผลการตรวจร่างกายยังสามารถช่วยป้องกันการแท้งบุตรหรือปัญหาเกี่ยวกับทารกในครรภ์สำหรับผู้หญิงที่ร่างกายไม่แข็งแรง สมบูรณ์ นอกจากนี้ ผลการตรวจร่างกายยังบอกข้อมูลมากมายที่สามารถช่วยให้คุณตั้งครรภ์อย่างแข็งแรงและช่วยให้ทราบปัญหาการตั้งครรภ์อื่น ๆ ได้ทันเวลา ยิ่งไปกว่านั้น แทนที่จะใช้ความพยายามในการตั้งครรภ์เองเดือนแล้วเดือนเล่า มันจะดีกว่าไหมหากคุณจะมีคำตอบที่แน่น่อนตั้งแต่ต้น

ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?-เตรียมตัวก่อนมีลูกอย่างไรดี

ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?

Advertisement

การตรวจร่ายกายก่อนการตั้งครรภ์ทำอย่างไร

ก่อนอื่นสูตินรีแพทย์จะถามคุณเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ ปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานหรือไทรอยด์ซึ่งอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ได้ สูตินรีแพทย์ของคุณจะถามคุณเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับผู้หญิงโดยเฉพาะซึ่งประกอบไปด้วยอาการเจ็บป่วย การแท้งบุตร หรือการการผ่าตัด นอกจากนี้ คุณหมอก็จะถามคุณเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาในช่วงไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงประวัติการกินและนิสัยการออกกำลังกายด้วย

การตรวจร่ายกายก่อนการตั้งครรภ์: การตรวจกระดูกเชิงกรานและการตรวจมะเร็งปากมดลูก

การตรวจร่างกายขั้นแรกเป็นการตรวจกระดูกเชิงกรานซึ่งจะบอกว่ามีการติดเชื้อหรือโรคติดต่อทางเพศหรือไม่ คุณหมออาจจะขอตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อดูว่ามดลูกและรังไข่ปกติหรือไม่  ไม่มีเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นการตรวจหาความผิดปกติช่องภายในมดลูก ชิ้นเนื้อจะถูกเก็บมาจากบริเวณปากมดลูก ถ้าเกิดมีข้อกังวลเกิดขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องมีการตรวจหาไวรัสหูด (HPV)

การวางแผนการตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถคิดได้ล่วงหน้า โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจสุขภาพของทั้งสองฝ่ายก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเวลบีแนะนำว่าควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์สัก 3 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ  หากคุณพ่อคุณแม่แข็งแรงและมีสุขภาพดี ก็ย่อมมีโอกาสคลอดลูกที่แข็งแรงและมีสุขภาพดีเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีแพคเกจทั้งจากโรงพยาบาลและคลินิกออกมาให้เลือกมากมาย แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าเราควรตรวจอะไรบ้าง แต่ละอย่างตรวจไปทำไม วันนี้จะมาคลายความสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ

การซักประวัติ

จะเป็นการสอบถามทั่วไป หรือสอบถามถึงปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งคุณแม่ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรสังเกตุสิ่งต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลเวลาไปพบแพทย์นะคะ ซึ่งสิ่งที่หมอจะซักถาม ได้แก่

  • ประวัติการคุมกำเนิดการใช้ยาคุมกำเนิด ประวัติการตรวจมะเร็งปากมดลูก ความผิดปกติเกี่ยวกับรอบประจำเดือน  ซึ่งคุณแม่ที่วางแผนจะมีบุตรควรเริ่มจดบันทึกและสังเกตุอาการเหล่านี้ไว้จะช่วยทำให้เราทราบอายุครรภ์และวันคลอดได้ครับ
  • ประวัติการเจ็บป่วยการรับประทานยา โรคประจำตัว รวมถึงการผ่าตัด การให้เลือด รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการอักเสบของช่องคลอด และผลการตรวจภายใน
  • ประวัติทางสูติกรรมแพทย์จะสอบถามว่า เคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่ จำนวนการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์เป็นพิษ เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด การผ่าตัดทำคลอด การตั้งครรภ์แฝด การแท้งบุตร หรือให้กำเนิดเด็กพิการ คุณแม่ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อม รวมถึงประวัติการรับประทานกรดโฟลิกด้วยครับ เพราะแพทย์จะได้วางแผนการดูแลคุณแม่ได้อย่างถูกต้อง
  • ประวัติการฉีดวัคซีนเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจจะติดต่อไปยังทารกหรือไม่ เช่น โรคหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบ ไข้สุกใส บาดทะยัก ฯลฯ
  • ประวัติทางครอบครัวเป็นการสอบถามว่า มีใครเป็นโรคทางพันธุกรรม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเลือด ฯลฯ หรือไม่
  • ประวัติการใช้ยาทั้งจากที่แพทย์สั่งหรือการซื้อยามารับประทานเอง รวมไปถึงการแพ้ยา เพราะยาบางชนิดมีผลต่อการตั้งครรภ์
  • ประวัติส่วนตัวเช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน สิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย สัตว์เลี้ยงในบ้าน, ประวัติการออกกำลังกาย  ประวัติการทำฟันและการตรวจสุขภาพช่องปาก รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน การใช้ยาเสพติด ฯลฯ เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจมีผลต่อเด็กและให้คำแนะนำได้ ประวัติอื่น ๆ เช่น ประวัติการทำฟัน
ฉันควรตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายทั่วไป

จะเป็นการตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งพ่อและแม่ โดยคุณหมอจะตรวจดูว่า มีโรคบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ หากตรวจว่าพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งแพทย์เฉพาะทางและสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าสมควรให้มีการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย อย่างโรคที่พบบ่อย ๆ เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส แผลริมอ่อนและแข็ง ไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนโรคเอดส์ ถ้าคุณแม่ติดเชื้อจะมีโอกาสถ่ายทอดไปสู่ลูกได้มากถึงร้อยละ 20-30 (ถ้าได้รับยาระหว่างตั้งครรภ์ จะลดโอกาสการถ่ายทอดไปสู่ลูกน้อยกว่าร้อยละ 10) หากพ่อหรือแม่ติดเชื้อเอดส์ ก็ไม่ควรจะปล่อยให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

การตรวจเช่นนี้จะตรวจทั่วไป คือ

  • การวัดส่วนสูง
  • ชั่งน้ำหนัก
  • วัดความดันโลหิต
  • ตรวจระบบหายใจ
  • ตรวจระบบหัวใจ
  • ตรวจเต้านม
  • ตรวจหน้าท้อง
  • ตรวจภายใน (กรณีมีความหากจำเป็น)
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก

การเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ และเอกซเรย์ปอด

(ตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์)

คุณพ่อคุณแม่ควรได้รับการตรวจเลือดอย่างละเอียด เพื่อดูว่ามีโอกาสตั้งครรภ์โดยที่ภาวะแม่ลูกกลุ่มเลือดไม่เข้ากันหรือไม่ หากเกิดภาวะนี้ขึ้น หมอจะได้ให้คำแนะนำเพื่อให้การตั้งครรภ์ผ่านพ้นไปอย่างปลอดภัยได้ โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่หมอจะสั่งให้ตรวจก็ได้แก่

  • หมู่เลือด ให้ทราบว่าแต่ละคนมีเลือดกรุ๊ปใด เพื่อสะดวกในกรณีที่ต้องการเลือดฉุกเฉิน
  • ตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือด เพื่อประเมินสุขภาพทั่วไป
  • ระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • เอกซเรย์ปอด
  • ตรวจความเข้ากันของเลือด Hemoglobin Tying เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงว่ามีความผิดปกติของ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือไม่ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรมและเป็นโรคหนึ่งที่เป็นกันมาก ซึ่งหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้ก็จะส่งผลกระทบเรื่องสุขภาพถึงลูก
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ซึ่งเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากพบว่ามีเชื้อแสดงว่าคุณเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์และสายเลือด ถ้าหากไม่มีการป้องกันให้ดีอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อได้
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันหากไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดไว้อย่างน้อยสามเดือน เพราะหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ หากพบเชื้อจะได้ป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย และคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการติดต่อไปสู่ลูก เช่น หัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบบี และซิฟิลิส สำหรับการตรวจโรคทางพันธุกรรม หากพบว่าทั้งพ่อและแม่ต่างก็มีโรคทางพันธุกรรมแฝงอยู่ในตัว โดยทั่วไปแล้วจะมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกได้ 1 ใน 4 คน โดยจะมี 1 คนที่ปกติ มี 2 คนที่ปกติแต่มีโรคแฝง ส่วนอีก 1 คนนั้นจะผิดปกติหรือมีโรคปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ยิ่งถ้าพ่อแม่เป็นโรคเลือดธาลัสซีเมียทั้งคู่ หมอก็จะไม่แนะนำให้มีลูก

การตรวจภายใน

  • เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวเป็นคุณแม่โดยจะเป็นการตรวจเพื่อดูว่ามดลูกและรังไข่ปกติดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจช่องคลอดเพราะมีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์และการคลอด และยังถือเป็นโอกาสในการตรวจมะเร็งปากมดลูกไปด้วย ส่วนคุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนแล้วมักปวดท้องมาก มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกของเยื่อบุมดลูกซึ่งไปเจริญผิดที่ได้ครับ ควรรีบไปหาหมอเพื่อตรวจดู เพราะโรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น หากได้รับการรักษาแล้ว โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็มีมากขึ้นครับ
  • สำหรับการตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิคุณพ่อก็สำคัญ เพราะหากเกิดความผิดปกติขึ้นมา จะได้รับคำแนะนำและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ดีกว่าปล่อยให้ผ่านไปแล้วจนกลายเป็นเรื่องที่แก้ไขยาก

การตรวจพิเศษอื่น ๆ

หลังจากที่ตรวจร่างกายและตรวจภายในไปแล้ว หากแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติบางอย่าง ก็อาจจะต้องให้ตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย เช่น ตรวจอัลตราซาวนด์ในช่องท้อง หรือส่องกล้องตรวจในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

 

บทความอื่น ๆ ที่สนใจ

การฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์

แม่ท้องขาดกรดโฟลิกทำให้ลูกเสี่ยงพัฒนาการทางภาษาล่าช้า

การตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ การนัดตรวจครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้างระหว่างตั้งครรภ์ ทุกไตรมาส

 

https://www.amarinbabyandkids.com/pregnancy/get-pregnant/preparation/application-ovulation-calculator/

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว