คุณแม่ไม่ควรให้นมลูก เมื่อมีสารไม่ดีในร่างกาย
คุณไม่ควรให้นมลูกเมื่อคุณแม่…
1. มีการติดเชื้อ HIV
2. มีการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretroviral Medications) หรือยาที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อ HIV
3. มีการติดเชื้อวัณโรค หรือกำลังรักษาตัวอยู่
4. มีการใช้สารเสพติด
5. มีการทำเคมีบำบัดมะเร็ง
6. ได้รับการบำบัดผ่านรังสี
7. ติดสุราหรือแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ทารกที่เป็นโรคกาแลคโตซีเมีย (Galactosemia) หรือแพ้นมก็ไม่ควรดื่มนมแม่
เหตุผลที่ให้นมแม่ไม่ได้ แม้ว่านมแม่จะดีที่สุด
เหตุผลที่ให้นมแม่ไม่ได้ แม้ว่านมแม่จะดีที่สุด เเต่ด้วยเหตุผลหลากหลายเหล่านี้ ทำให้คุณเเม่จำเป็นต้องตัดใจ ให้นมลูกไม่ได้จริงๆ
นมแม่ดีที่สุด แต่…
ในยุคสมัยที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงมากขึ้น ทำให้คุณเเม่หลายๆ คนทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงลูกมาขึ้น เเต่ก็มีคุณเเม่เพียงครึ่งนึงที่ให้นมเเม่ล้วนถึง 6 เดือน เเละมีเพียงเเค่ 17% ที่ให้นมลูกนานกว่านั้น
ทั้งนี้ปัญหาอื่นๆ ที่ทำให้คุณเเม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ เเละลูกน้อยไม่สามารถกินนมแม่ได้ก็มีเช่นเดียวกันนะคะ
1.ลูกเป็นโรคกาแล็กโทซีเมีย (Galactosemia)
โรคนี้เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลกาแลคโทสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสได้ จึงมีระดับน้ำตาลกาแลคโตสในเลือดสูง ทำให้เลือดไม่เเข็งตัว เเละส่งผลถึงการทำงานของตับเเละไต หากลูกเป็นโรคนี้จะมีอาการตัวเหลือง อาเจียน ตับโต โตช้า กินได้น้อย ท้องเสีย มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ โดยอาการจะพบภายใน 2-3 วันแรก
เด็กบางคนอาจจะกินนมเเม่ได้ เเต่ต้องอยู่ในความดูเเล เเละต้องทำตามคำเเนะนำของเเพทย์อย่างเคร่งครัด
2.แม่มีเชื้อ HIV
หากคุณเเม่ให้นมลูก ลูกจะมีโอกาสเสี่ยงสูงในการได้รับเชื้อ HIV ไปด้วยค่ะ สำหรับคุณแม่ที่พบว่าตัวเองติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
3.แม่เป็นวัณโรค
- ถ้าวัณโรคของแม่อยู่ในระยะกำเริบ มีเชื้อในเสมหะ ต้องแยกแม่ลูก แต่ให้ลูกกินน้ำนมแม่บีบให้คนอื่นป้อนได้
- จะให้แม่ลูกได้อยู่ด้วยกันต่อเมื่อวัณโรคอยู่ในระยะสงบแล้ว ไม่มีเชื้อในเสมหะ (คือแม่รักษาจนเชื้อไม่มีในเสมหะแล้ว)
- ถ้าแม่มีวัณโรคที่เต้านม หรือเต้านมอักเสบจากเชื้อวัณโรค ไม่สามารถให้น้ำนมแม่ได้
4.เเม่เป็นโรคมะเร็ง
และกำลังใช้ยาเคมีบำบัดหรือยาอื่นๆ ที่สามารถซึมเข้าในกระเเสเลือดและส่งผลต่อลูกได้
5.แม่รักษาด้วยรังสี
ในระยะเวลาที่คุณเเม่กำลังทำการรักษาด้วยรังสี จะยังไม่สามารถให้นมเเม่ได้ เเต่เมื่อการรักษาสิ้นสุดลงเเล้ว จึงจะสามารถให้นมลูกได้ค่ะ
6.แม่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ
อาการป่วยรุนเเรงที่มาจากการติดเชื้อต่างๆ เชื้ออาจจะส่งผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้ค่ะ ทั้งนี้สามารถปรึกษาคุณหมอที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่ก่อนว่าสามารถให้ได้นมลูกได้หรือไม่นะคะ
7.เเม่ติดยาเสพติด
เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน โคเคน ไม่ควรให้นมลูกนะคะ เเละควรจะเลิกสารเสพติดให้ได้ด้วยค่ะ
8.เเม่ป่วยหนัก
เช่น เป็นโรคหัวใจอย่างรุนเเรง หรือโรคโลหิตจางอย่างรุนเเรง อาจไม่ใช่ความคิดที่ดีนักหากจะให้นมลูก เเต่อย่างไรก็ตามหากคุณเเม่ต้องการจะให้นมลูกจริงๆ ควรปรึกษาเเพทย์ที่เชี่ยวชาญก่อนนะคะ
9.เเม่ติดเหล้าหนัก
หากสร่างเเล้วสามารถให้นมลูกได้ เเต่สำหรับคุณเเม่ที่ติดเหล้าอย่างหนัก เเน่นอนว่าคุณเเม่คงไม่ดื่มเเค่เเก้วเดียวหรือวันละไม่กี่เเก้ว อยู่ที่การเลิกอย่างเดียวเลยนะคะ ไม่ยากค่ะ เลิกเหล้าเเล้วหันมาให้นมลูกน้อยดีกว่านะคะ
10.เเม่ที่ผ่าตัดลดขนาดเต้านม
อาจจะไม่สามารถให้นมลูกได้ เนื่องจากจะมีปริมาณเนื้อเยื่อที่ถูกเอาออกมามาก ทำให้มีผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมเเละท่อน้ำนมค่ะ หากไม่เเน่ใจควรปรึกษาคุณหมอถึงข้อจำกัดที่คุณเเม่มีนะคะ
คุณเเม่เป็นโรคนี้ สามารถให้นมลูกได้
- วัณโรค : คุณเเม่สามารถเลี้ยงลูกได้เเละให้ลูกกินนมเเม่ได้ โดยให้รักษาคุณแม่ด้วยยาต้านวัณโรคเเละให้การรักษาลูกด้วยยาต้านเชื้อวัณโรคเป็นเวลา 6-9 เดือน
- เริม : ถ้าเป็นตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่หัวนมลานนม สามารถให้นมลูกตามปกติได้ แต่อย่าให้ลูกสัมผัสโดนแผล และแม่ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนจับลูก ถ้าเป็นที่หัวนมลานนม ให้งดดูดข้างที่เป็น และปั๊มนมข้างดังกล่าวทิ้งจนกว่าแผลจะหายสนิท แต่ให้ลูกดูดข้างที่ไม่เป็นแผลได้ตามปกติ
- อีสุกอีใส : สามารถให้นมได้ค่ะ และพบว่าถ้าติดโรคไปแล้ว แต่ได้กินนมแม่ต่อ จะช่วยให้อาการของโรครุนแรงน้อยลงอีกด้วย แค่ระวังอย่าให้ลูกโดนแผล และระวังอย่าหายใจรดลูกโดยการใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก ถ้าแม่เป็นโรค 5 วันก่อนคลอดหรือ 2 วันหลังคลอด ต้องให้ยาอิมมูโนโกลบูลินแก่ลูกเพื่อป้องกันการเป็นโรคชนิดรุนแรง และสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ
- ไวรัสตับอักเสบบี : สามารถให้นมลูกได้ แต่ลูกต้องได้รับวัคซีนและอิมมูโนโกลบูลินภายใน 12 ชั่วโมง
โภชนาการสำหรับแม่ช่วงให้นมลูก
5 อุปสรรคที่ต้องเผชิญเมื่อต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!