อุปสรรค การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่แม่ส่วนใหญ่ต้องเจอ
คุณแม่ทราบดีว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย แต่บางครั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มักจะมีอุปสรรคที่เชื่อว่า คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเจออย่างน้อยไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
อาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก
สาเหตุของการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกเกิดได้จาก 4 สาเหตุ คือ
- แม่เอาลูกเข้าเต้าไม่ถูกวิธีทำให้ลูกอมแต่หัวนมทำให้เจ็บ
- ลูกมีปัญหาพังผืดใต้ลิ้น
- การถอนหัวนมออกจากปากลูกที่ผิดวิธี ที่ถูกต้องคือคุณแม่ต้องกดที่คางลูกเพื่อเปิดปากก่อนแล้วจึงถอนหัวนมออกจากปากลูก
- การทำความสะอาดหัวนมบ่อยเกินไป อาจเพราะความเข้าใจที่ผิดว่าต้องทำความสะอาดหัวนมโดยใช้สำลีเช็ดหัวนมก่อนเอาลูกเข้าเต้าทุกครั้ง ซึ่งการทำความสะอาดบ่อยเกินไปทำให้เกิดการเสียดสีและอาจเกิดแผลที่หัวนมได้ง่าย
คุณแม่มือใหม่ อาจจะยังไม่ชินกับการให้นมลูก
7 ปัจจัยสร้างลูกน้อยสมองดีตั้งแต่ในครรภ์
1. อายุคุณแม่
คุณแม่ที่มีเจ้าตัวน้อยในวัย 30 มีแนวโน้มที่ลูกจะฉลาด ตามการวิจัยของ the London School of Economics ทั้งนี้การที่ลูกฉลาดอาจไม่ได้เป็นเพราะอายุของแม่ แต่พบว่าแม่ที่มีลูกคนแรกในวัยสามสิบนั้น มักจะมีการศึกษาที่สูงขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงมากขึ้น มีไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น มีการวางแผนก่อนจะมีบุตร และมีการหาความรู้ในการดูแลครรภ์เป็นอย่างดี
2. ความรักและการเอาใจใส่เจ้าตัวน้อย
คุณแม่ที่แสดงออกถึงความรักที่มีต่อเจ้าตัวน้อย เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ลูกมีสุขภาพดี มีความสุข และรู้สึกผ่อนคลาย การสื่อความรักด้วยการพูดคุยกับลูกในท้องอย่างอ่อนโยนจะส่งผลดีต่อความจำ และอารมณ์ของเจ้าตัวน้อย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพื้นฐานด้านภาษาที่ดีอีกด้วย
บทความแนะนำ “คุยกับลูกในท้อง” วิธีที่พ่อมิค-แม่เบนซ์ส่งผ่านความรักถึงลูกสาวในท้อง (ชมคลิป)
3. น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม
การที่คุณแม่น้ำหนักเพิ่มมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ส่งผลให้ลูกตัวโต คลอดยาก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อสมองของเจ้าตัวน้อย แต่หากคุณแม่น้ำหนักเพิ่มน้อยเกินไปก็ส่งผลให้ทารกศีรษะและสมองเล็ก ทำให้ลูกมีระดับไอคิวต่ำ ทั้งนี้น้ำหนักที่เหมาะสมของคุณแม่ท้องควรเพิ่มขึ้น 10-12 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์
บทความแนะนำ คุมน้ำหนักตอนท้องอย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี
4. อาหารทะเล ปลา และโอเมกา-3
ปลา ถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญ สำหรับคุณแม่ตั้งท้อง
นักวิจัยพบว่าทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 หรือดีเอชเอในเลือดสูงกว่า จะมีความสามารถในการจดจ่อได้ยาวนานกว่า โดยพบว่า ในเด็กอายุ 6 เดือนจะจดจ่อได้ดีกว่าเด็กที่คุณแม่มีระดับดีเอชเอต่ำกว่าถึงสองเดือน นอกจากนี้ยังพบว่า การที่คุณแม่รับประทานปลามากขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สามารถเพิ่มไอคิวของลูกได้ และการรับประทานปลาในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกดูเหมือนจะมีผลต่อคะแนนการทดสอบไอคิวของลูกมากกว่า เมื่อเที่ยบกับคุณแม่ที่รับประทานปลาในภายหลัง
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) แนะนำให้รับประทานอาหารทะเลไม่เกิน 340 กรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 2 มื้อต่อสัปดาห์ โดยให้รับประทานปลาที่หลากหลายและเลือกอาหารทะเลที่มีสารปรอทต่ำ เช่น กุ้งทะเล ปลาแซลมอน ปลาดุกทะเล ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน และปลากะตัก
บทความแนะนำ สุดยอดอาหารบำรุงครรภ์ 10 อย่าง
5. เบคอนและไข่
ดร. เจอรัลด์ เวสแมน บรรณาธิการบริหาร the Federation of American Societies for Experimental Biology journal กล่าวว่า เบคอนและไข่ช่วยเพิ่มพลังสมองให้ลูกในครรภ์ เนื่องจากโคลีนซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการพัฒนาสมองในส่วนของการจดจำข้อมูลใหม่และระลึกถึงความทรงจำที่เก็บไว้
บทความแนะนำ โคลีนพัฒนาสมองทารกตั้งแต่ในครรภ์
6. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์ต่อ การหายใจ ของ เจ้าตัวน้อย ในครรภ์ และ การพัฒนา ระบบประสาท อัตโนมัติ จากการ ศึกษาของ The American Physiological Society พบหลักฐาน ที่ชี้ให้ เห็นว่า คุณแม่ ที่ยังคงออกกำลังกาย ระหว่างตั้งครรภ์ มีลูกที่ฉลาดกว่า นอกจากนี้ การศึกษาของ the University of Montreal พบว่า หากคุณแม่ ท้อง ออกกำลังกาย เพียง 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยเพิ่ม การทำงานของสมองทารก แรกเกิดได้ การเต้นแอโรบิค ช่วยเพิ่มการ ทำงาน ของ ไมโทคอนเดรีย ในสมอง ของแม่ ซึ่ง ทำหน้าที่ เป็นแหล่ง พลังงานของเซลล์ โดยจะส่งผ่านไปทางรกและเป็นประโยชน์ต่อสมองของทารกในครรภ์เช่นเดียวกัน
บทความแนะนำ 7 วิธีออกกำลังกาย แม่ตั้งครรภ์ควรลอง
7. คลอดในสัปดาห์ที่ 41
ตามรายงานของวารสาร JAMA Pediatrics พบว่า ทารกที่คลอดเมื่ออายุครรภ์ 41 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่วัยเรียนจะมีคะแนนสอบที่สูงกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ที่จัดอยู่ในกลุ่มปัญญาเลิศสูงกว่า ในขณะที่มีเปอร์เซ็นต์ในกลุ่มสติปัญญาต่ำน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม หากเด็กอยู่ในครรภ์แม่นานถึง 42 สัปดาห์ถือว่าตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดอาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้
อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี แม่ต้องสร้างและบำรุงลูกด้วยโภชนาการที่ดีมาตั้งแต่ตอนที่ลูกอยู่ในท้อง และเมื่อลูกคลอดออกมาแล้วอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองก็ยังมีความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง และนอกจากอาหารก็ต้องกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัยลูกด้วย
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
souce หรือ บทความอ้างอิง : nhs.uk
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้เกี่ยวกับนมแม่
สารพันความรู้เกี่ยวกับนมแพะ
อาหารสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!