X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง

บทความ 5 นาที
ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง

ทำไมคนเราถึงไอ อาการไอเกิดจากอะไร รักษายังไงได้บ้าง

ไอ เกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า หลายคนเป็นกังวล ว่าอาการไอจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพหรือเปล่า บทความนี้จะมาไขคำตอบที่หลายคนสงสัย  

โดยทั่วไป อาการไอเป็นกลไกการทำงานอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่ช่วยป้องกันฝุ่น สิ่งสกปรก หรือละอองที่เป็นอันตราย ไม่ให้เข้าไปในปอดและหลอดลม 

 

ไอ เกิดจากอะไร 

อาการไอนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. ไวรัส เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการไอ ซึ่งไวรัสดังกล่าว จะทำให้เป็นหวัด หรือมีไข้ และไอ เพื่อกำจัดเสมหะที่มีเชื้อโรคที่ปนอยู่ออกมา

2. สารระคายเคือง แม้บางคนจะไม่ได้เป็นภูมิแพ้ แต่หากบังเอิญไปอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่มีสิ่งกระตุ้นร่างกาย เช่น อากาศหนาว ควันบุหรี่ หรือกลิ่นน้ำหอมแรง ๆ เป็นต้น ก็อาจทำให้ไอได้ 

3. เสมหะ อาการไอจากเสมหะ มักเกิดในเวลาที่เราเป็นหวัด มีไข้ เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นไซนัสอักเสบ ซึ่งจะเกิดในขณะที่เสมหะกำลังไหลลงไปตามลำคอของเรา

4. กรดไหลย้อน ใครที่เป็นกรดไหลย้อนและมีอาการไอ ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะเมื่อเรามีอาการแสบร้อนกลางอก กรดในกระเพาะจะไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอ ซึ่งอาจทำให้เส้นเสียง ลำคอ หรือหลอดลมระคายเคืองได้ ดังนั้น เราจึงไอออกมา

5. โรคร้ายแรงเกี่ยวกับทางเดินหายใจ อาการไอ อาจเกิดจากโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งโรคเหล่านี้ จะทำให้ท่อทางเดินหายใจของร่างกายเราทำงานไม่ปกติ 

6. หอบหืดหรือภูมิแพ้ คนที่เป็นโรคนี้ จะไอเมื่อสูดดมเชื้อราหรือสิ่งที่ตัวเองแพ้เข้าไปทางจมูก เพื่อเป็นการขับเอาสิ่งเหล่านั้นออกจากร่างกาย

7. สาเหตุอื่น ๆ ปัจจัยอื่นอย่าง ปอดติดเชื้อ หยุดหายใจขณะหลับ หรือผลข้างเคียงจากการรับประทานยา ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เราไอได้เช่นกัน

โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการไอที่เกิดจากไวรัสมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาการไอที่เกิดจากปัญหาสุขภาพอย่างโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะต้องอาศัยการรับประทานยา ควบคู่กับการปรึกษาแพทย์ 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

 

ทำไมเราถึงไอ รักษายังไง

อาการไอ เกิดจากได้หลายสาเหตุ

 

ไอ รักษาได้ยังไงบ้าง

อาการไอ ที่เกิดจากสาเหตุไม่ร้ายแรงอย่างไวรัส หรืออาการภูมิแพ้ สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ดูแลตัวเองง่าย ๆ ได้ที่บ้าน อาการไอ สามารถรักษาเองได้ง่าย ๆ โดยการรับประทานยาแก้ไอ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา พักผ่อนให้เพียงพอ หรือดื่มชาอุ่น ๆ ผสมน้ำผึ้ง อย่างไรก็ตาม หากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มีอาการไอ ไม่ควรให้เด็กรับประทานน้ำผึ้ง เพราะจะทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น หากเป็นหอบหืดหรือภูมิแพ้ ควรพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เราเกิดอาการแพ้ หากมีสัตว์เลี้ยง ก็ไม่ควรนำเข้ามาในห้องนอน และควรติดแผ่นกรองฝุ่นที่เครื่องปรับอากาศด้วย
  • ดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ ขิงมีฤทธิ์ช่วยต้านอาการอักเสบ มีงานวิจัยชี้ว่า ขิงทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจคลายตัว จึงช่วยลดอาการไอ โดยนักวิจัยได้ทำการทดลองกับทั้งคนและสัตว์ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ แม้ขิงจะช่วยลดอาการไอ แต่อาจทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายท้อง หรือมีอาการแสบร้อนกลางอกได้
  • ดื่มน้ำให้มาก บางคนไอเพราะคอแห้ง ดื่มน้ำน้อย มีงานวิจัยรายงานว่า การดื่มน้ำที่มีอุณหภูมิเท่ากับห้อง ช่วยลดอาการไอ และคัดจมูกได้ นอกจากนี้ การดื่มน้ำยังช่วยลดอาการเจ็บคอ อาการหนาวสั่น หรืออาการอ่อนเพลีย
  • ลองดมอะไรอุ่น ๆ แนะนำให้ลองอาบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำเพื่อลดอาการไอ ควรทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการไอจะบรรเทาลง รวมทั้ง ควรดื่มน้ำเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากที่อาบน้ำอุ่นด้วย
  • รากมาร์ชแมโลว์ เป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้ มีสรรพคุณบรรเทาอาการระคายเคืองที่เกิดจากการไอเพราะเสมหะ รวมทั้งยังมีงานวิจัยชี้ว่า ยาแก้ไอสมุนไพรที่ผสมรากมาร์ชแมโลว์ ช่วยลดอาการไอที่เกิดจากหวัดและโรคติดเชื้อทางเดินหายใจได้ดี แต่การรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ อาจมีผลข้างเคียง คือ ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง
  • กลั้นคอด้วยน้ำเกลือ เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยลดอาการไอแบบมีเสมหะ และลดอาการเจ็บคอ แต่ไม่ควรให้เด็กทำวิธีนี้ เพราะเด็กอาจเผลอกลืนน้ำเกลือเข้าไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
  • รับประทานสัปปะรด
    สัปปะรดมีสารโบรมีเลน ที่ช่วยในการละลายเสมหะ แนะนำให้รับประทานสัปปะรดผลแทนการดื่มน้ำสัปปะรด เพราะน้ำสัปปะรด อาจจะมีปริมาณสารโบรมีเลนน้อย จึงอาจจะบรรเทาอาการไอได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก
  • รับประทานใบไธม์ ไธม์เป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอ และปัญหาทางเดินอาหาร มีงานวิจัย พบว่า ยาแก้ไอที่ผสมไธม์และไอวี่ ช่วยลดอาการไอได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน บางคนมีอาการไอเพราะเป็นกรดไหลย้อน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน เช่น เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน ช็อกโกแลต อาหารทอดและอาหารที่มีไขมัน อาหารรสเปรี้ยว อาหารรสเผ็ด อาหารที่มีส่วนผสมของมะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม สะระแหน่ เป็นต้น
  • โพรไบโอติก โพรไบโอติก อาจจะไม่ได้ช่วยรักษาอาการไอโดยตรง แต่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยการควบคุมสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ หากต้องการทานโพรไบโอติก ให้ลองดื่มเครื่องดื่มที่มีแลคโตบาซิลัส ซุปมิโสะ โยเกิร์ตรสดั้งเดิม กิมจิ หรือกระหล่ำปลีดอง อย่างไรก็ตาม อาหารแต่ละชนิดมีปริมาณโพรไบโอติกต่างกัน จึงควรรับประทานอาหารเสริมที่มีโพรไบโอติกร่วมด้วยจึงจะดี

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : อาการไอของลูก บอกโรคอะไรได้บ้าง

 

ทำไมเราถึงไอ รักษายังไง 2

อาการไอที่เกิดจากโรคหวัดธรรมดา รักษาได้โดยการพักผ่อน

 

ไอแบบไหน ต้องไปหาหมอ

โดยทั่วไป อาการไอนั้นหายเองได้ และไม่ต้องไปหาหมอ แต่หากมีอาการต่อไปนี้ แนะนำให้เข้าพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของการไอ 

  1. ไอมาแล้วมากกว่า 1 สัปดาห์ โดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
  2. เสมหะมีสีเขียวหรือสีเหลือง และมีกลิ่นเหม็น 
  3. มีไข้สูงมากกว่า 38.8 องศาเซลเซียส
  4. เป็นไข้นานมากกว่า 3 วัน 
  5. มีอาการขาดน้ำ
  6. มีอาการไอรุนเเรง
  7. มีอาการหนาวสั่น
  8. มีอาการอ่อนเพลีย

อย่างไรก็ตาม อาการไอส่วนใหญ่นั้น เกิดจากหวัด หรือสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่เข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองด้วยการไอออกมา เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย แต่หากเมื่อใดก็ตามที่หายใจติดขัดหรือมีเลือดออกร่วมด้วย ให้รีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

ที่มา : 1 , 2 , 3

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง
แชร์ :
  • ผมร่วงเยอะมาก เกิดจากอะไรได้บ้าง? จะเป็นอันตรายไหม?

    ผมร่วงเยอะมาก เกิดจากอะไรได้บ้าง? จะเป็นอันตรายไหม?

  • ท้องแล้วหลุดบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง รู้ก่อนลูกหลุดอีกรอบ

    ท้องแล้วหลุดบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง รู้ก่อนลูกหลุดอีกรอบ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ผมร่วงเยอะมาก เกิดจากอะไรได้บ้าง? จะเป็นอันตรายไหม?

    ผมร่วงเยอะมาก เกิดจากอะไรได้บ้าง? จะเป็นอันตรายไหม?

  • ท้องแล้วหลุดบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง รู้ก่อนลูกหลุดอีกรอบ

    ท้องแล้วหลุดบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง รู้ก่อนลูกหลุดอีกรอบ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ