X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความ 5 นาที
วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน เริ่มฉีดตอนไหน คุณพ่อคุณแม่ทรายมั๊ยคะว่าโรคไอกรนจะมีความรุนแรงหากเกิดในวัยเด็ก เราไปดูกันเลยค่ะว่า ทำไมต้องฉีด วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

 

โรคไอกรน 

ไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส หลังติดเชื้อในช่วงแรกจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการไอต่อเนื่องอย่างรุนแรงและมีเสียงไอที่เป็นเอกลักษณ์  (ไอมีเสียงที่เกิดจากการหายใจลำบาก) จึงมีอีกชื่อเรียกว่า Whooping Cough เป็นที่มาของชื่อไอกรนในภาษาไทย

ในทารกหรือเด็กเล็กอาจไม่พบอาการไอ แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจเป็นหลัก ไอกรนเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม ทารกและเด็กเล็กจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากที่สุด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน ควรเริ่มฉีดตอนไหน ?

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

เริ่มฉีด 3 เข็มแรกเมื่อเด็กที่มีอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, และเข็มที่ 4 เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือน จากนั้นควรฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Dose) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังฉีดครบชุด 4 ครั้งแรกแล้ว ตอนอายุ 4-6 ปี และเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี ผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี เนื่องจากวัคซีนที่ได้รับในวัยเด็กจะหมดลงในช่วงวัยรุ่น และในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนในช่วงสัปดาห์ที่ 27 และ 36 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจช่วยปกป้องทารกจากโรคไอกรนในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังการคลอดอีกด้วย

Advertisement

 

อาการของโรคไอกรน 

หากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการชัก สามารถพบได้เช่นกัน แต่พบไม่บ่อยนัก

 

  • ระยะต้น 

ผู้ป่วยจะมีอาการนําามูกไหล แน่นจมูก ไอเล็กน้อยเหมือนอาการหวัด ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์

 

  • ระยะรุนแรง 

ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดกันไม่มีจังหวะพักตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไปและเมื่อจบชุด ผู้ป่วยจะพยายามหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงดังฮู้ปขึ้น ในเด็กเล็กอาจมีอาการเขียวได้เนื่องจากอาการไอรุนแรงมาก  ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการอาเจียนร่วมด้วยหลังการไอ ผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดออกในตาขาวและมีจุดเลือดออกกระจายอยู่บริเวณใบหน้าและลําตัวท่อนบน อาการในระยะนี้จะเป็นอยู่นานประมาณ 10 วันถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 2-6 สัปดาห์

 

  • ระยะฟื้นตัว 

อาการไอจะค่อย ๆ ทุเลาและหายไปในเวลา 6-10 สัปดาห์ อาการไอแต่ไม่รุนแรงอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์

 

สาเหตุของโรคไอกรน

  • โรคไอกรนสามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก จากคนสู่คน ผ่านการไอ จาม หรือการหายใจร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเป็นเวลานาน
  • เชื้อโรคจะกระจายอยู่ในละอองของเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย และจะติดต่อไปสู่ผู้อื่นต่อไป เมื่อผู้นั้นสัมผัสละอองเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว
  • หากไม่สบาย หรือมีร่างกายอ่อนแอ ก็สามารถติดเชื้อได้ โดยเฉพาะเด็กทารกที่มักจะติดเชื้อจากพี่น้อง พ่อแม่ หรือผู้ที่ดูแล
  • โรคไอกรนสามารถพบได้กับคนทุกวัย ในประเทศไทยมีการให้วัคซีนโรคนี้อย่างทั่วถึง แต่มักพบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี เพราะยังได้วัคซีนไม่ครบตามโปรแกรม ซึ่งจะได้วัคซีนไอกรนครบ 3 เข็มเมื่ออายุ 6 เดือน

 

การวินิจฉัย โรคไอกรน มีวิธีไหนบ้าง 

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

  • การเพาะเชื้อ

โดยการเก็บตัวอย่างเชื้อหรือสารคัดหลั่งที่บริเวณจมูกหรือลำคอไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรค

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
  • การตรวจเลือด 

เพื่อตรวจสอบจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย หากพบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวนที่มากขึ้นจะแสดงถึงการติดเชื้อหรือการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย

 

  • การเอกซเรย์ทรวงอก

เพื่อตรวจความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นที่ปอด เช่น ปอดอักเสบ หรือมีน้ำในปอด เป็นต้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคปอดบวม

 

ภาวะแทรกซ้อน บางครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต 

ทารกและเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจชั่วคราว การติดเชื้อที่ปอด หรือปอดบวม อาการชักอย่างรุนแรง กลุ่มอาการทางสมอง หรือเสียชีวิต เป็นต้น

ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น น้ำหนักตัวลดลง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นลม กระดูกซี่โครงหักจากการไออย่างรุนแรง ไส้เลื่อน เส้นเลือดแดงที่ผิวหรือในตาขาวแตก เป็นต้น

 

การรักษาโรคไอกรน

  • รับประทานยาต่อเนื่องนานประมาณ 2 สัปดาห์ ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดใช้ยาก่อนที่แพทย์กำหนด เพราะจะส่งผลต่อระดับของยาปฏิชีวนะในเลือดและอาจทำให้ดื้อยาได้
  • เด็กทารกหรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับระบบการหายใจ หรือมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำร่วมด้วยหากผู้ป่วยมีอาการของภาวะขาดน้ำ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในสถานที่ที่เงียบสงบ มืด และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การนอน
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือซุป ควรระวังการเกิดภาวะขาดน้ำโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก สามารถสังเกตได้จากหลายอาการ เช่น ปากแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้ม เป็นต้น
  • รับประทานอาหารมื้อเล็กลง เพื่อหลีกเลี่ยงการอาเจียนหลังอาการไอ
  • อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการไอ เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ เป็นต้น

 

การป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

  • การให้วัคซีน

วัคซีนป้องกันไอกรนจะให้โดยการฉีดที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี วัคซีนไอกรนนี้จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานซึ่งเด็กทุกคนต้องได้รับ วัคซีนไอกรนที่เป็นวัคซีนพื้นฐานนี้เป็นชนิดเต็มเซลล์ อยู่ในรูปของวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค

 

  • ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนซึ่งยังได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 ครั้ง

ระดับของภูมิคุ้มกันอาจไม่เพียงพอในการป้องกันโรค เมื่อสัมผัสกับผู้ป่วยก็อาจมีอาการได้ ปัจจุบันแนะนําให้ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนสําหรับผู้ใหญ่ จํานวน 1 ครั้ง แก่หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ระหว่าง 27-36 สัปดาห์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไอกรนในระดับที่สูงและสามารถให้ภูมิคุ้มกันนี้ผ่านไปยังทารกในครรภ์และป้องกันโรคไอกรนได้

 

  • ในเด็กโตอายุ 10-12 ปี สามารถรับวัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (ทีแด๊ป)

เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกันแต่วัคซีนที่ใช้จะเป็นชนิดที่ต่างกับวัคซีนที่ใช้ในเด็กเล็ก  เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนไอกรนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากอายุ 10-12 ปี ก็สามารถรับวัคซีนนี้ได้เช่นกันจําานวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักกระตุ้นซ้ำทุกๆ 10 ปี

วัคซีนทีแด๊ป คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

 

นอกจากวัคซีนแล้วสามารถป้องกันได้ ดังนี้ 

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะ หากพบว่ามีสมาชิกในครอบครัวได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงบุคคลที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด
  • ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนได้มากที่สุด
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนการคลอด
  • การดูแลสุขอนามัย ไอกรนเป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ จะแพร่กระจายผ่านการไอหรือการจาม การมีสุขอนามัยที่ดีจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้
  • ปิดปากด้วยกระดาษทิชชูก่อนการไอหรือจามทุกครั้ง และทิ้งกระดาษทิชชูลงในถังขยะ
  • หากไม่มีกระดาษทิชชู ควรไอหรือจามใส่ที่ข้อพับแขน ไม่ควรไอหรือจามโดยใช้มือปิดปาก
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เป็นประจำ แต่ละครั้งควรใช้เวลาในการล้างมือประมาณ 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ

 

 

ที่มา : (rama.mahido),(pobpad),(rama)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

เสริมภูมิคุ้มกันเด็กเล็ก วัย 1-3 ปี อย่างไรใน สถานการณ์โรคระบาด

ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?

ลูกปอดบวม หลอดลมอักเสบ เป็นไข้หวัดใหญ่ แม่แชร์อุทาหรณ์ มโนไปว่าลูกร้อน จนป่วยเป็นชุด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • วัคซีน
  • /
  • วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แชร์ :
  • ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

    ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

  • เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

  • ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

    ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

  • ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

    ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

  • เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

  • ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

    ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว