X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไมเราถึงมีลูกยาก เป็นเพราะอะไร สาเหตุที่ไม่ท้องเกิดจากอะไร

บทความ 8 นาที
ทำไมเราถึงมีลูกยาก เป็นเพราะอะไร สาเหตุที่ไม่ท้องเกิดจากอะไร

สภาวะการ มีบุตรยาก คือความไม่สามารถปฎิสนธิหรือมีบุตรได้ ของชายหรือหญิงและภาวะนี้ยังหมายถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ผู้ชายเป็นหมันก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ร้อยละ 15 ของคู่สามี ภรรยาในประเทศไทยไม่สามารถมีลูกได้ภายในช่วง 12 เดือนที่พยายามจะมีลูก อรอุมา อายุ 39 ปี เคยพยายามมีลูกประมาณเกือบ ๆ ปี แต่เมื่อเธอไม่สามารถมีลูกได้ เธอเริ่มโทษตัวเธอเองว่าเป็นหมัน แต่หลังจากที่เธอและสามีตรวจร่างกายแล้วพบว่าสามีของเธอต่างหากที่เป็นหมัน

 

ภาวะการมีบุตรยาก คืออะไร ภาวะการมีบุตรยากคือความไม่สามารถปฎิสนธิหรือมีบุตรได้ ของชายหรือหญิงและภาวะนี้ยังหมายถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ความเข้าใจผิดของภาวะเป็นหมันที่พบได้บ่อยคือผู้หญิงเป็นหมันได้เท่านั้นแต่หนึ่งในสามของกรณีที่พบเกิดจากสาเหตุจากฝ่ายชายคือผู้ชายเป็นหมัน

 

ภาวะการมีบุตรยากพบบ่อยแค่ไหน สาเหตุที่ไม่ท้อง

สาเหตุที่ไม่ท้อง

ปัญหาการมีบุตรยากคือปัญหาที่ผู้หญิงหรือผู้ชาย คนใดคนหนึ่งที่มีปัญหาในการผลิตทายาท รวมถึงผู้หญิงที่แท้งบุตรด้วย โดยส่วนใหญ่ปัญหามีบุตรยากมักเกิดกับผู้หญิง แต่ 1 ใน 3 ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากฝั่งผู้ชายเช่นกัน

เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน?

โดยทั่วไปแล้ว 1 ใน 7 ของคู่รักทั่วโลกจะมีปัญหานี้

อะไรคือความเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหามีลูกยาก

มีหลายปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหามีบุตรยาก แต่จะแตกต่างกันไปสำหรับหญิงชาย

  • ปัจจัยเสี่ยงสำหรับผู้ชายคือ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด บุหรี่ อายุที่มากขึ้น กัมมันตภาพรังสี การทำคีโม และปัญหาสุขภาพ
  • ปัจจัยเสี่ยงของผู้หญิง คือ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด บุหรี่ อายุที่มากขึ้น ความเครียด การควบคุมอาหารที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนัก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งการฝึกกีฬาต่าง ๆ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมีบุตรยากด้วย

 

มีบุตรยาก อยากมีลูก

 

ภาวะการมีบุตรยากพบบ่อยแค่ไหน

โดยทั่วไปแล้ว หนึ่งในเจ็ดคู่สามีภรรยาทั่วโลกมีปัญหาการมีบุตรยาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาล้วนมีสาเหตุคล้าย ๆ กัน สำหรับประเทศไทย อัตราการมีบุตรยากอยู่ที่ประมาณร้อยละ15 ของประชากรทั่วประเทศ

 

สาเหตุที่ไม่ท้อง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก

สาเหตุการมีบุตรยากนั้นมีมากมายและสาเหตุเหล่านั้นก็ยังขึ้นอยู่กับเพศด้วยเช่นกัน

– สาเหตุส่วนมากของฝ่ายชายคือ แอลกฮอลล์ ยาเสพติด การสูบบุหรี่ อายุ สารรังสี เคมีบำบัดและปัญหาทางสุขภาพ

– สาเหตุส่วนมากของฝ่ายหญิงคือ แอลกฮอลล์ ยาเสพติด การสูบบุหรี่ อายุ ความเครียด อาหารการกินที่ไม่ดี ปัญหาน้ำหนักตัว โรคติดต่อทางเพศ ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหรือแม้แต่การออกกำลังกาย

ดอกเตอร์ เขียร์ร่า โลห์ สูตินรีแพทย์กล่าวไว้ว่าสาเหตุการมีบุตรยาก หลัก ๆ มีสามประการ คือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปัญหาการตกไข่ (การตกไข่หลายใบหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมน) และปัญหาของผู้ชาย โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีอาการเซลล์เติบโตผิดที่ ปกติเซลล์ที่เติบโตภายในมดลูกกลับเกิดเติบโตนอกมดลูก  สำหรับปัญหาการตกไข่หลายใบนั้นเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 5-10 โดยมักมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติหรือไม่มีเลย

 

สาเหตุและวิธีการรักษาสำหรับภาวะการมีลูกยากสำหรับฝ่ายชาย

การรักษาภาวะการมีบุตรยากสำหรับฝ่ายชาย มีหลายวิธีและการเลือกวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและความสบายใจในการรักษาของคนไข้

ความผิดปกติของฮอร์โมน

ความผิดปกติของฮอร์โมนสองส่วนจากต่อมใต้สมอง คือฟอลลิเคิล สติมิวเลติงฮอร์โมน (follicle stimulating hormone หรือ FSH ) และลูทิไนซิงฮอร์โมน (luteinizing hormone หรือ LH) ความผิดปกตินี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เกิดหรือเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาโรคอื่น ๆ โดยปกติแล้วคนไข้จะมีอาการหลั่งน้ำเชื้อโดยไม่มีตัวอสุจิและและฮอร์โมนเพศชายลดน้อยลงจนไม่มี

การรักษาสาเหตุการขาดฮอร์โมน LH และ FSH คือการสร้างสเปิร์มให้ทำงานโดยทันทีและการตั้งครรภ์มักจะเกิดขึ้นหลังจากการรักษาไม่นาน ร้อยละ 6 ของผู้ชายที่มีปัญหาการมีบุตรยากมีสาเหตุจากการขัดขวางของการขนถ่ายสเปิร์มเนื่องจากปัญหาการพัฒนาของระบบอวัยวะสืบพันธุ์เคยติดเชื้อมาก่อนหรือการตัดท่อนำอสุจิทิ้งในอดีต การผ่าตัดต่อท่อนำอสุจินั้นสามารถทำได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำอสุจิมาใช้ผสมเทียมในหลอดแก้ว (IVF) เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ การรักษาทางการแพทย์เช่น การใช้เสริมสเตอรอยด์และการรักษาแบบทำลายเซลล์ ปกติการผลิตสเปิร์มรักษาได้โดยการหยุดยาหรือการเปลี่ยนยา

ภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์ม

ภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์ม สาเหตุที่ไม่ท้อง

 

ภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์ม

สาเหตุของปัญหานั้นไม่ชัดเจนนัก ภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์มจะเป็นสาเหตุในการมีบุตรยาก เนื่องจากมีการลดจำนวนการเคลื่อนไหวของสเปิร์มและมีผลต่อการปฏิสนธิอย่างรุนแรง โอกาสการตั้งครรภ์จะมีเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการรักษาภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์ม แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีวิธีการปฏิสนธิในหลอดแก้วเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาสมรรถภาพทางเพศ

ปัญหานี้ประกอบไปด้วยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากอวัยวะเพศชายแข็งตัวไม่เพียงพอ ปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิ การมีเพศสัมพันธ์กันน้อยครั้ง และเวลาที่ไม่เหมะสมในการมีเพศสัมพันธ์ การเข้ารับคำปรึกษาอย่างเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญเป็นการรักษาวิธีหนึ่งที่นิยมกัน เด็กหลอดแก้วคืออะไร เด็กหลอดแก้วเกี่ยวข้องกับการนำไข่และสเปิร์มมาปฎิสนธิกันจากการเลือกโดยธรรมชาติ ไข่โดยทั่วไปจะยอมให้สเปิร์มเพียงตัวเดียวเข้าไปปฎิสนธิและหลังจากนั้นจะนำไปสู่กระบวนการปฎิสนธิในห้องปฎิบัติการ หลังจากปฎิสนธิแล้ว ตัวอ่อนจะโตขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำกลับเข้าไปในมดลูก การตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จจะได้รับการยืนยันสองสัปดาห์หลังจากนั้น

 

ปัจจัยของการมีบุตรยากในคู่สมรสฝ่ายหญิง

  • สุขภาพกาย ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ มีผลทำให้ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์น้อยลง ทำให้โอกาสของการตั้งครรภ์น้อยลงด้วย
  • สุขภาพจิต ความเครียด ความวิตกกังวล โรคจิต โรคประสาท มีผลทำให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ มีการตกไข่นานๆครั้ง หรือไม่มีการตกไข่เลย
  • ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งจะมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์โดยตรง
  • ความผิดปกติในช่องเชิงกราน เช่น มีเยื่อพังผืด เนื้องอก ซึ่งยึดเบียดทำให้ท่อนำไข่ทำงานได้ไม่ปกติ
  • ความผิดปกติของการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เช่น ไฮโปธาลามัส ต่อมใต้สมอง ต่อมธัยรอยด์ และต่อมหมวกไต เป็นต้น

 

ใครที่เหมาะที่จะทำการทำเด็กหลอดแก้ว

เด็กหลอดแก้วเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีท่อนำไข่ที่เสียหายหรืออุดตันและแก้ไขไม่ได้ เด็กหลอดแก้วยังเหมาะสำหรับผู้หญิงที่เป็นหมัน ไม่สามารถมีบุตรได้ตามวิธีการหรือสภาวะปกติ เนื่องจากมีอาการของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การตกไข่ผิดปกติ การเป็นหมันโดยไม่ทันตั้งครรภ์ ปัญหาด้านสเปิร์มและปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน อัตราการประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วในโรงพยาบาลในประเทศไทยมีประมาณร้อยละ 30-35 และร้อยละ 25-27 สามารถคลอดลูกโดยใช้การผสมเทียมเด็กหลอดแก้ว

นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอ่อนแช่แข็งซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ของคนไข้จำนวนมากทีเดียว

 

การทำอิ๊กซี่คืออะไร (ICSI)

อิ๊กซี่หรือการฉีดสเปิร์ม (Intra-Cytoplasmic Sperm Injection – ICSI) เป็นการฉีดสเปิร์มแต่ละตัวเข้าไปในไข่แต่ละฟองเพื่อให้เกิดการปฎิสนธิในห้องปฎิบัติการ

 

ใครเหมาะที่จะทำอิ๊กซี่ (ICSI)

อิ๊กซี่เหมาะสำหรับสามีที่มีปัญหาสเปิร์มไม่มีคุณภาพหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปฎิสนธิในอดีต มันเป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกท้อแท้หรือหมดกำลังใจถ้าคุณค้นพบว่าคุณเป็นหมัน แต่จำไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวและนี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีโอกาสมีลูกสักหน่อย ถ้าคุณลองทุกวิธีแล้วแต่ก็ยังล้มเหลว การอุปถัมภ์และรับเด็กมาเป็นลูกบุญธรรมก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีให้คุณลองตัดสินใจดู

ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถมีการตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ (Primary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่ไม่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาก่อนเลย ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ (Secondary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยที่ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นที่เป็นการตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดลงด้วยการแท้งหรือการคลอดก็ตาม

Fecundability หมายถึง โอกาสที่คู่สมรสจะตั้งครรภ์ในหนึ่งรอบประจำเดือน ซึ่งคู่สมรสปกติมี fecundability rate อยู่ที่ประมาณร้อยละ 20-25 และจะเป็นอัตราที่คงที่ทุกรอบเดือน แต่จากการศึกษาพบว่า อัตราการตั้งครรภ์รวมใน 1 ปี คือ ร้อยละ 93 และภายใน 3 เดือนแรก ประมาณร้อยละ 50 ของคู่สมรสจะตั้งครรภ์ได้ แต่ในเดือนที่ 4 – 6 มีคู่สมรสเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่สามารถตั้งครรภ์ได้ อัตราดังกล่าวมานี้เป็นกุญแจสำคัญในการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยวิธีการต่างๆที่ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้น เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ให้เท่าหรือใกล้เคียงกับคู่สมรสปกติ คือ ร้อยละ 20-25

Fecundity หมายถึง โอกาสที่คู่สมรสจะมีการตั้งครรภ์และการตั้งครรภ์นั้นสามารถดำเนินไปจนถึงการคลอดบุตรมีชีพ ภายใน 1 รอบประจำเดือน

โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 85 ของคู่สมรสจะสามารถมีบุตรได้ภายใน 1 ปี หลังการแต่งงาน และประมาณร้อยละ 95 ของคู่สมรสจะมีบุตรได้ภายใน  2 ปี แต่ภาวะมีบุตรยากมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหาที่เพิ่มความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมทางเพศของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน และการเปลี่ยนคู่เพศสัมพันธ์บ่อยๆ การทำแท้งผิดกฎหมายที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเกิดการอักเสบติดเชื้อของอวัยวะในช่องเชิงกรานได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก อีกทั้งในปัจจุบันนี้สตรีมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น พร้อมที่จะแต่งงานและมีบุตรช้าลง ทำให้อุบัติการณ์การมีบุตรยากในปัจจุบันสูงเพิ่มมากขึ้น อุบัติการณ์ของภาวะมีบุตรยากในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาพบว่ามีประมาณร้อยละ 12 ในฝ่ายหญิงที่มีอายุ 15-44 ปี ซึ่งอุบัติการณ์ในประเทศไทยก็พบว่า มีอัตราที่ไม่แตกต่างกัน

สาเหตุของภาวะมีบุตรยากนี้พบได้แตกต่างกันไปในแต่ละคู่สมรส สาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้ ส่วนการรักษาเพื่อช่วยให้มีบุตรก็แตกต่างกันตามสาเหตุของแต่ละคู่สมรส ซึ่งมีได้ตั้งแต่ระดับที่ง่ายๆ ไปจนถึงการช่วยเหลือในขั้นสูงด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น เด็กหลอดแก้ว การทำอิ๊กซี่ เป็นต้น

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ

การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ

  1. ฝ่ายชายสามารถสร้างตัวอสุจิที่มีจำนวน รูปร่าง และการเคลื่อนไหวในเกณฑ์ปกติ
  2. ท่อนำอสุจิของฝ่ายชายไม่มีการอุดตัน
  3. ฝ่ายชายมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และสามารถหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้
  4. ตัวอสุจิต้องเคลื่อนที่เข้าไปถึงปากมดลูก ผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก และเข้าไปตามท่อนำไข่ เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  5. ฝ่ายหญิงสามารถผลิตไข่ที่ปกติได้ และมีการตกไข่เข้าไปในท่อนำไข่ได้
  6. ไข่ที่ถูกผสมเป็นตัวอ่อนที่ปกติแล้ว ต้องเคลื่อนเข้าไปในโพรงมดลูกได้ และมีการฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมรองรับการฝังตัว
  7. ตัวอ่อนที่ฝังตัวแล้ว สามารถเจริญเป็นทารกต่อไปได้

 

ความสามารถในการมีบุตรของคู่สมรส

ความสามารถในการมีบุตรของคู่สมรสขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงที่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี จะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการมีบุตรได้สูงสุด(4) และหลังจากนั้นโอกาสของการตั้งครรภ์จะค่อยๆลดลง ตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นหากคู่สมรสที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และพยายามมีบุตรมาเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน ก็ควรได้รับการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยากได้
  • อายุของฝ่ายชาย ในคู่สมรสที่ฝ่ายชายมีอายุ 55 ปี ขึ้นไป จะมีความผิดปกติของอสุจิมากขึ้น(5)
  • ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์  มีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากอสุจิที่สร้างขึ้นมาใหม่มีคุณภาพดีและแข็งแรงกว่าอสุจิที่สร้างมานานแล้ว และตัวอสุจิจะสามารถมีชีวิตอยู่ในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิงได้ประมาณ 2 วัน ดังนั้นความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมคือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ระยะเวลาของการแต่งงาน ในระยะเวลา 18 เดือนแรกของการแต่งงาน อัตราการตั้งครรภ์สะสมจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 60, 80 และ 90 หลังการแต่งงาน 6 เดือน 12 เดือน และ 18 เดือนตามลำดับ แต่หลังจากนั้นหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อาจเกิดจากสาเหตุของการมีบุตรยาก ซึ่งต้องการการตรวจวินิจฉัยและการรักษา

 

ที่มาจาก : https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com

บทความ อื่นๆ ที่น่าสนใจ

สิงคโปร์เตรียมแจกเงิน ส่งเสริมการมีลูก หลังประชาชนส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่มีบุตร

ภาวะการมีบุตรยากในเพศชาย ขนาดเจ้าโลกของสามี ทำให้มีลูกยาก?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทำไมเราถึงมีลูกยาก เป็นเพราะอะไร สาเหตุที่ไม่ท้องเกิดจากอะไร
แชร์ :
  • ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?

    ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?

  • การทำอิ๊กซี่ การรักษาภาวะมีบุตรยากควบคู่กับการทำเด็กหลอดแก้ว

    การทำอิ๊กซี่ การรักษาภาวะมีบุตรยากควบคู่กับการทำเด็กหลอดแก้ว

  • ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

    ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?

    ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?

  • การทำอิ๊กซี่ การรักษาภาวะมีบุตรยากควบคู่กับการทำเด็กหลอดแก้ว

    การทำอิ๊กซี่ การรักษาภาวะมีบุตรยากควบคู่กับการทำเด็กหลอดแก้ว

  • ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

    ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ