X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

บทความ 5 นาที
โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

เคยได้ยินอาการของคนที่กลัวสิ่งต่าง ๆ หรือไม่ เช่น กลัวเข็ม กลัวเครื่องบิน กลัวกระจก กลัวแดด เป็นต้น ถึงจะดูเป็นเรื่องกลัว เรื่องเล็ก ๆ ธรรมดา แต่รู้หรือไม่ว่า อาการกลัวเหล่านี้ อาจเป็น “โรคกลัว (Phobia)” ก็เป็นได้ มาดูกันว่า อาการกลัวต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนอาการทางจิต ของคุณหรือไม่!

 

โรคกลัวคืออะไร?

โรคกลัว (Phobia) คือ โรคที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือ สถานการณ์บางอย่างมากเกินกว่าเหตุ หรือ เป็นอาการกลัวอย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งอาการของโรคกลัวนี้ จะรุนแรงกว่าอาการวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป ผู้ที่เป็นโรคกลัว จะมีอาการกลัวเป็นเวลานาน และมีการตอบสนองทางกาย และใจต่อสิ่งที่กลัวด้วย เช่น อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจถี่ เหนื่อยหอบ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

โรคกลัว

โรคกลัว มีกี่ชนิด?

โรคกลัว หรือ โฟเบีย มีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ โรคกลัวแบบจำเพาะ และโรคกลัวแบบซับซ้อน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. โรคกลัวแบบจำเพาะ

โรคกลัวแบบจำเพาะ คือ ความรู้สึกกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือ กิจกรรมบางอย่าง ซึ่งจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยรุ่น อาการกลัวอาจเบาลงเมื่อเราเติบโตขึ้น เช่น โรคกลัวเครื่องบิน กลัวเลือด กลัวแมลง เป็นต้น

2. โรคกลัวแบบซับซ้อน

โรคกลัวแบบซับซ้อน มักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งมีผลมาจากความรู้สึกหวาดกลัว ต่อสถานการณ์บางอย่างที่ติดอยู่ในใจ หรือ สถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต โรคกลัวในกลุ่มนี้ ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • โรคกลัวชุมชน เป็นความรู้สึกกลัวการอยู่ในที่สาธารณะ ที่โล่งแจ้ง หรือ ที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือ บางคนอาจรู้สึกกลัว เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์คับขัน
  • โรคกลัวการเข้าสังคม เป็นอาการกลัวการพูดต่อหน้าผู้อื่นในที่สาธารณะ สถานที่ที่หลับได้ยาก อาจกระตุ้นให้เกิดอาการกลัว

 

โรคกลัวเกิดจากอะไร?

ปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคกลัวได้แน่ชัด ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่พบว่ามีหลายทฤษฎี ที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุของอาการกลัวต่าง ๆ เช่น อาจเกิดจากปมในจิตใจ หรือ ประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้น ๆ เป็นต้น และมีทฤษฎีที่บอกไว้ว่า สาเหตุของโรคกลัว อาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ประสบการณ์ที่เคยกระทบกระเทือนจิตใจ อาจเป็นต้นเหตุของอาการกลัว เช่น ผู้กลัวเข็มฉีดยา อาจมีสาเหตุมาจากความทรงจำฝังใจ ในตอนเด็ก
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ อาจมีความเสี่ยงได้มากกว่าคนทั่วไป
  • การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว เช่น พฤติกรรมของคนใกล้ชิด และ ลักษณะการเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก
  • กระบวนการทำงานของสมอง เกิดความผิดปกติ

โรคกลัว

การรักษาโรคกลัว

โรคกลัว อาจไม่ได้เป็นโรครุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่โรคกลัวสามารถลดอาการได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความกลัว แต่หากมีอาการโรคที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือสุขภาพ ก็ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษา โดยวิธีการรักษามีหลากหลายวิธี ดังนี้

  1. จิตบำบัด

การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด หรือ การปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อเรียนรู้วิธีการรับมือกับความกลัว หรือ อาจให้ผู้ป่วยทำรบำบัดจิตใจ ดังนี้

  • เผชิญหน้ากับความกลัว โดยให้ผู้ป่วยเรียนรู้การรับมือกับความกลัว ด้วยการค่อย ๆ เผชิญหน้ากับสิ่งทีกลัวทีละน้อย และปรับระดับความใกล้ชิดต่อสิ่งนั้น เช่น ผู้ที่มีความกลัวแมลงสาป อาจค่อย ๆ บำบัดด้วยการ ให้ดูรูปภาพของแมลงสาป ลองมองตัวจริง จากนั้นจึงให้ลองจับ ตามลำดับ แต่วิธีการบำบัดลักษณะนี้ ควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนอันตรายอื่น ๆ
  • การบำบัดพฤติกรรม คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด และ พฤติกรรมเพื่อรับมือความกลัว โดยแพทย์อาจชีแนะให้ผู้ป่วย ได้เข้าใจถึงความคิด และพฤติกรรมที่ผิดปกติ ควบคู่ไปกับร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ การรับมือกับความกลัวด้วยตัวเอง เมื่อต้องตกอยู่ในสภาพวะคับขัน

 

2. การรับประทานยา

ในบางกรณี แพทย์อาจจ่ายยาให้ผู้ป่วยไปรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล หรือ อาการตื่นกลัว ซึ่งก่อนที่แพทย์จะพิจารณาใช้ยากับผู้ป่วย แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดก่อน สำหรับยาที่แพทย์จะจ่ายให้ผู้ป่วย มีดังนี้

  • ยาต้านอาการซึมเศร้า ซึ่งจะเป็นยาที่ช่วยคลายความกังวล ซึ่งผู้ป่วยจะต้องเข้าพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อปรับการใช้ยาร่วมกัน และผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการถอนยา และมีผลต่อสุขภาพร่างกายได้
  • ยาคลายเครียด เป็นยาที่แพทย์นำมาช่วยคลายความกังวล ซึ่งต้องใช้ตามปริมาณที่แพทย์จ่ายเท่านั้น เพราะกลุ่มยานี้ หากมีการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเสพติดได้ ซึ่งการหยุดยา จะทำให้มีผลเสียต่อร่างกายของผู้ป่วยได้
  • เบต้าบล็อกเกอร์ เป็นยาลดความดันโลหิต ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาชนิดนี้ เพื่อช่วยลดอาการที่เกิดจากความวิตกกังวล เช่น หัวใจสั่น ใจเต้นเร็ว ความดันสูงขึ้น แขนขาสั่น เป็นต้น

 

โรคเครียดไม่ใช่โรคร้ายแรง และไม่ได้ส่งผล ต่อสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยมาก แต่โรคเครียดก็เป็นภาวะทางจิดตชนิดหนึ่ง ซึ่งหากมีภาวะกลัวรุนแรง อาจทำให้มีผลกระทบต่อชีวิต และสภาพจิตใจได้ ดังนั้นใครที่มีความเสี่ยง ที่อาการจะรุนแรงขึ้น ก็ควรเข้าพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการบำบัดรักษาต่อไป

 

ที่มาข้อมูล 1 2

บทความที่น่าสนใจ

โรคแพนิคในเด็ก อาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง รับมืออย่างไรดี?

19 ความกลัวแปลก ๆ ของเจ้าตัวเล็ก

5 สัญญาณบ่งบอก โรคกลัวการเข้าสังคม โรคกลัวคนเยอะ ของลูก

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว
แชร์ :
  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง ? อาการนี้ไม่แปลก แต่จะแก้ยังไงมาดู

    นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง ? อาการนี้ไม่แปลก แต่จะแก้ยังไงมาดู

  • ปวดหัวคิ้ว อาการนี้เป็นบ่อยใช่ไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?

    ปวดหัวคิ้ว อาการนี้เป็นบ่อยใช่ไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง ? อาการนี้ไม่แปลก แต่จะแก้ยังไงมาดู

    นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง ? อาการนี้ไม่แปลก แต่จะแก้ยังไงมาดู

  • ปวดหัวคิ้ว อาการนี้เป็นบ่อยใช่ไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?

    ปวดหัวคิ้ว อาการนี้เป็นบ่อยใช่ไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ