อาหารเป็นพิษในเด็ก มีอาการอย่างไร? รักษาวิธีใด? ป้องกันยังไง?
อาการ อีกอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นในเด็ก โดยที่เราแทบจะคาดเดาไม่ได้เลย อาการหนึ่งก็คือ อาหารเป็นพิษในเด็ก จริงๆแล้วอาการนี้ เป็นอะไร ที่ค่อนข้างมีความอันตรายเป็นอย่างมาก และ อาจจะทำให้เสียชีวิตเลยก็ได้เช่นกัน แต่ในเมื่อเราไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอดเวลา ทำให้การป้องกันอาจจะทำได้ยาก
วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับอาการอาหารเป็นพิษในเด็ก ทำไมมันถึงเกิดขึ้นได้ง่าย และ มันมีวิธีใดที่จะสามารถป้องกัน หรือ รักษาได้หรือไม่
อาหารเป็นพิษในเด็ก
ทำไมเราถึงได้ยินชื่อโรคอาหารเป็นพิษบ่อยนัก
อาหารเป็ นพิษในเด็ก
อาหารเป็นพิษ ไม่ใช่ปัญหาใหม่ หากแต่มีมานาน นับจากสมัยโบราณกาลแล้ว ในปัจจุบันอาหาร ที่ปนเปื้อน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง กว่าเดิมมากเนื่องจากการนำเข้า และ ส่งออก สินค้าอาหาร ทั่วโลก เราเลิก เพาะปลูกอาหาร ของเราเอง และ หันไปพึ่งพา เกษตรกร รายใหญ่ให้เป็น ผู้ผลิตอาหาร ให้เรา ดังนั้นหากมี ผลผลิตกะหล่ำปลี รุ่นหนึ่งที่ปนเปื้อน ผู้ได้รับผลกระทบ จึงไม่ใช่แค่ครอบครัว ที่ปลูกกะหล่ำปลี เท่านั้น แต่มีแนวโน้ม จะส่งผลอันตราย ถึงผู้บริโภค จำนวนมากด้วย
อาหารมีการปนเปื้อนได้อย่างไร
อาหารเป็นพิ ษในเด็ก
อาหารมี การปนเปื้อน ได้ด้วยหลายสาเหตุ และ อาจก่อให้เกิด ความทรมาน หรือ เป็นอันตราย ถึงชีวิตได้ สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
- การเลี้ยงสัตว์ อย่างไม่ถูกสุขลักษณะ โรงเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อบริโภคเนื้อ หลายแห่งมีการให้อาหาร และ เลี้ยงสัตว์ ในสภาพ ความเป็นอยู่ที่ไม่ ถูกสุขอนามัย
- การใช้อุปกรณ์ ไม่ถูกวิธี และ ไม่ถูกสุขอนามัย เช่นถัง บรรจุนม ห้องแช่เย็น ฯลฯ การใช้อุปกรณ์ ที่สะอาด ด้วยวิธีที่ถูกต้อง นั้นเป็น สิ่งสำคัญตลอด ทั้งกระบวนการ ตั้งแต่จากแม่วัว มาจนถึง ตู้เย็นของคุณ
- การใช้ปุ๋ย อย่างไม่เหมาะสม บางครั้ง เกษตรกร ใส่ปุ๋ย ซึ่งไม่ควรใช้ กับ อาหารที่คนบริโภค
- วิธีขนส่ง แบบมักง่าย
- ทำความสะอาด อาหาร ไม่ถูกวิธี ก่อนรับประทาน
- การเก็บรักษา / การควบคุมอุณหภูมิ ที่ร้าน หรือ ที่บ้านของ คุณไม่เหมาะสม
- การ ปรุงอาหาร ไม่ถูกวิธี เช่น ปรุงอาหาร สุกไม่ทั่ว หรือ ใช้อุปกรณ์ทำอาหาร ที่สกปรก ฯลฯ
อาการของโรค อาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิ ษในเด็ก
แม้ว่าใคร ๆ ก็อาจต้องเจอ กับ โรคอาหารเป็นพิษ แต่เด็กเล็กๆ มีโอกาสเป็น มากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจาก ระบบย่อยอาหาร ที่อ่อนวัย และ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ที่อ่อนแอกว่า (ในการต่อสู้กับเชื้อโรค) รวมไปถึงปริมาณกรด เอ็นไซม์ และ แบคทีเรีย มีประโยชน์ในท้องที่มีน้อยกว่า ในผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้ และ เพราะโรคอาหารเป็นพิษ บางชนิดเป็น อันตรายถึงชีวิต จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องรู้จัก สัญญาณ ของโรคนี้ซึ่งได้แก่
- ปวดศีรษะ อย่างรุนแรง
- ปวดท้องเกร็ง (อย่างรุนแรง)
- อาเจียน
- ถ่ายเป็นเลือด / ท้องเสีย
- มีไข้
- ปวดเมื่อยตัว
หากลูก ของคุณมีอาการข้างต้น ควรรีบพา ไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาทันที
บทความแนะนำ: ดูอาการลูกเป็นไข้
วิธีรักษาโรคอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษใน เด็ก
วิธีบำบัดรักษา ที่สำคัญที่สุด คืออย่าให้ร่างกายขาดน้ำ และ จำเป็นต้องให้ ร่างกาย ขับพิษ ออกให้หมด น้ำเป็นทางเลือก ที่ดี่สุดเช่นเดียว กับของเหลวอื่นๆ ซึ่งมีอิเล็กโทรไลต์ แพทย์ อาจอยากกระตุ้น ให้ผู้ป่วยอาเจียน ต่อไป หรือ ไม่ก็ได้ ขึ้นกับประเภท ของ โรคอาหารเป็นพิษ
สาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อย
อาหาร ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิด โรคอาหารเป็นพิษ มากที่สุดได้แก่
- เนื้อสัตว์ ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ หรือวางทิ้ง ไว้ข้างนอกนานเกินไป
- หอย
- น้ำผึ้ง ในเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ
- ผัก และ ผลไม้ ที่ไม่ได้ล้าง สารเคมี ดิน สิ่งสกปรก และ ปุ๋ยให้หมดดี
- ไข่ ซึ่งเก็บรักษาไม่ถูกวิธี
- อาหารบรรจุ ห่อซึ่งบริโภคหลัง วันหมดอายุ หรือ บรรจุไม่ถูกวิธี
รู้ไว้ใช่ว่ากับวิธีป้องกันอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิ ษในเด็ก
การป้องกัน โรคอาหารเป็นพิษ ไม่ให้เกิดขึ้น กับ ลูกน้อยของคุณ (และกับตัวคุณเอง) ย่อมเป็นเรื่อง น่าพิสมัย มากกว่า ต้องมาวิตกกังวล ว่าควรรักษาโรค นี้อย่างไร จริงอยู่ว่าไม่มีวิธีการใด จะหลีกเลี่ยงผล ของการทานอาหาร นอกบ้าน ได้อย่างสิ้นเชิง แต่คุณสามารถ ลดความเสี่ยงจากโรคอาหาร เป็นพิษลงได้มาก หากปฏิบัติดังนี้
- ทานแต่อาหารที่ปรุงสุกอย่างทั่วถึงและเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- ทานแต่ผักผลไม้ที่ล้างทำความสะอาดแล้วอย่างทั่วถึง
- ล้างมือก่อนเสิร์ฟอาหาร
- ล้างมือ อุปกรณ์ทำอาหาร จานชามและพื้นผิวที่ใช้ประกอบอาหารด้วยน้ำยาล้างจานที่ได้มาตราฐาน
- ทานอาหารภายในวันที่แนะนำให้บริโภค
- ให้ลูกล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง
Source : kidshealth
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
10 อาหารที่ทําให้ท้องอืด อาหารที่ทำให้ปวดท้อง ยิ่งกินยิ่งปวดท้อง!
บทความใกล้เคียง: รักษาอาการท้องผูก
บทความใกล้เคียง: อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!