X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รักษาอาการป่วยที่บ้าน: ลูกท้องผูก

10 Feb, 2015

เมื่อลูกท้องผูกไม่เพียงต้องเจอกับปัญหาการที่ของเสียเคลื่อนผ่านไม่สะดวก แต่อาจต้องทรมานกับอาการที่ของเสียจับตัวกันแข็งอยู่ภายใน เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ลูกของคุณจะอยู่ในอาการเจ็บปวดและไม่สบายตัว พ่อแม่มือใหม่ส่วนใหญ่จะพาลูกไปหากุมารแพทย์ทันที แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาการท้องผูกของลูกน้อยนั้นสามารถรักษาได้ที่บ้านโดยที่ไม่ต้องมีการใช้ยาเลย?

อาการท้องผูกของลูกน้อย

อาการท้องผูกของลูกน้อย

อาการท้องผูกที่เกิดในเด็กทารกนั้นเป็นความกังวลที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาสำหรับเด็กที่ดื่มนมผงหรือสำหรับเด็กที่เริ่มรับประทานอาหารเสริม ปกติแล้วอาการท้องผูกโดยทั่วไปบอกถึงความถี่ในการเคลื่อนตัวของของเสียในลำไส้ แต่สำหรับเด็กอ่อนแล้ว การที่ลูกท้องผูกอาจหมายถึงความข้นหนืดของของเสียด้วยเช่นกัน คุณรู้หรือไม่ว่าอาการท้องผูกของลูกน้อยนั้นสามารถรักษาได้ที่บ้านโดยที่ไม่ต้องมีการใช้ยาเลย?
การรักษา

การรักษา

การดื่มน้ำลูกพรุนที่ผสมกับน้ำเป็นวิธีที่ใช้กันและสามารถใช้ได้กับเด็กทารกส่วนใหญ่ สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนหรือมากกว่า ให้เขาจิบดื่มน้ำเล็กน้อยหรือให้ดื่มน้ำผสมน้ำลูกพรุนประมาณ 4 ออนซ์ คุณอาจใช้น้ำองุ่น แอปเปิ้ล หรือน้ำลูกแพร์แทนได้ สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน คุณยังไม่ควรให้ทานอะไรอย่างอื่นนอกจากนมแม่ หากลูกไม่ถ่ายเกินสัปดาห์ให้ไปพบแพทย์
สำหรับลูกน้อยที่เพิ่งเริ่มทานอาหารเสริม

สำหรับลูกน้อยที่เพิ่งเริ่มทานอาหารเสริม

หยุดให้อาหารจำพวกข้าวและกล้วยกับลูกของคุณเนื่องจากอาหารประเภทนี้จะทำให้ของเสียในลำไส้ของเด็กแข็งตัว คุณควรให้เขาทานลูกแพร์ แอปปริคอทและลูกพรุนบดแทน จากนั้นก็ให้เขาดื่มนมตามปกติไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมผงก็ตาม
นวดท้อง

นวดท้อง

นอกจากการให้อาหารและเครื่องดื่มกับลูกน้อยของคุณเพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องผูกแล้ว การนวดจะช่วยได้ดีเช่นกัน เริ่มด้วยการคลึงเบา ๆ ที่ท้อง วนตามเข็มนาฬิกาและกดเบา ๆ ที่ท้องด้านขวา อย่าลืมสังเกตความรู้สึกเมื่อคุณจับที่ท้องลูก หากท้องลูกของคุณนิ่ม แสดงว่าเขาไม่ได้ท้องผูก ท้องที่แข็งเป็นสัญญาณบอกว่าลูกน้อยกำลังทรมาณกับอาการท้องผูก นอกจากนี้ ให้คุณยกข้อเท้าของลูกน้อยและหมุนเช่นเดียวกับการปั่นจักรยาน การออกกำลังกายง่าย ๆ และสนุกสนานเช่นนี้สามารถช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ภายในลำไส้โดยการทำให้ลำไส้ของเขาคลายตัวลงได้
อย่าให้ยาระบาย!

อย่าให้ยาระบาย!

พยายามอย่าให้ยาระบายกับลูกของคุณ เพราะอาจส่งผลเสียกับลูกน้อยของคุณได้ นอกจากนี้ อย่าสอดอะไรเข้าไปในช่องทวารของลูกแม้กระทั่งเทอโมมิเตอร์วัดไข้ เนื่องจากอาจทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนฉีกขาดได้ หากคุณทำทุกวิถีทางในการรักษาอาการท้องผูกตามข้างต้นแล้ว แต่ลูกของคุณยังมีอาการไม่ถ่ายท้องอยู่ ให้คุณพาไปพบกุมารแพทย์ทันที การเลี้ยงลูกน้อยนั้นคุณจะไม่สามารถกำหนดตารางหรือหลีกเลี่ยงการโทรศัพท์หาแพทย์ได้ แต่มันเป็นเรื่องที่คุณควรทำเมื่อสังเกตเห็นอาการผิดปกติจากอาการท้องผูก อย่าปล่อยให้ลูกคุณท้องผูกติดต่อกันนานเกินหนึ่งสัปดาห์ถึงจะพาเขาไปพบแพทย์หรือโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์
ถัดไป
img

บทความโดย

theAsianparent Thailand Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รักษาอาการป่วยที่บ้าน: ลูกท้องผูก
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว