พัฒนาการของลูกน้อยในช่วงแรกของชีวิตนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งค่ะ โดยเฉพาะเรื่องของการพูดและการสื่อสาร อันเป็นการแสดงออกที่สำคัญในการเชื่อมสัมพันธ์กับโลกภายนอก และการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ต่อไป ดังนั้น บ้านไหนที่พบว่า ลูกพูดช้า หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนเด็กทั่วไป เช่น หมกมุ่น อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป มีท่าทางหรือการกระทำที่ดูแปลก ไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม ต้องระวังค่ะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของ ออทิสติกเทียม ซึ่งนับเป็น ภัยคุกคามพัฒนาการลูก ได้

“ออทิสติก” คืออะไร
ก่อนจะไปทำความรู้จักการภาวะ “ออทิสติกเทียม” อยากให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจเรื่องของ “ออทิสติกแท้” ก่อนค่ะ ซึ่งออทิสติกแท้เกิดจากพันธุกรรมหรือความผิดปกติของสมอง โดยอาการออทิสติกแท้ที่จะพบในเด็กนั้น ประกอบด้วยปัญหาด้านพัฒนาการ 3 ด้าน ต่อไปนี้
- พัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสาร เช่น ลูกพูดช้า หรือไม่พูด พูดภาษาแปลกๆ หรือภาษาต่างดาว ไม่ชี้สิ่งที่สนใจหรือสิ่งที่ต้องการ รวมถึงทำตามคำสั่งไม่ได้
- พัฒนาการด้านสังคม เช่น เหมือนลูกอยู่ในโลกของตนเองเท่านั้น สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจคนรอบข้าง เฉยเมย ไร้อารมณ์ และไม่มีอารมณ์ร่วมเวลาคนอื่นดีใจหรือเสียใจ
- พัฒนาการด้านการเล่น เช่น เล่นซ้ำๆ เล่นไม่เป็น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจเล่นกับเพื่อน ไม่สามารถเล่นตามกฎกติกาได้
นอกจากนี้ ในเด็กที่เป็นออทิสติกแท้ยังสามารถพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น ซน อยู่ไม่นิ่ง ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง โขกศีรษะ สะบัดมือ หมุนตัว โดยจะพบว่าเป็นเด็กไฮเปอร์แอคทีฟประมาณ 70% และพบมีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย 50-70% ขณะเดียวกันเด็กออทิสติกแท้จะมีความสามารถพิเศษด้านอื่นๆ อยู่ประมาณ 10% ค่ะ
|
เช็กให้ชัวร์! ลูกมีอาการออทิสติกมั้ย
|
อายุ |
อาการ |
6 เดือน |
- ไม่ยิ้ม
- ไม่แสดงอารมณ์สนุกสนาน
|
9 เดือน |
- ไม่มีการส่งเสียง ยิ้ม แสดงสีหน้า
- ไม่มีการโต้ตอบกลับไปกลับมา
|
12 เดือน |
- ไม่หันหาเสียงเรียกชื่อ
- ไม่เล่นน้ำลาย
|
18 เดือน |
- ไม่มีการเล่นสมมติง่ายๆ
- ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษาท่าทาง
|
ออทิสติกเทียม คืออะไร?
ออทิสติกเทียมนั้นเป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมหรืออาการบางอย่างของเด็กที่คล้ายคลึงกับออทิสติกค่ะ โดยจากสถิติที่ผ่านมาพบว่าเด็กไทยมีภาวะออทิสติกเทียมมากขึ้น ซึ่งสาเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมหรือความผิดปกติของสมองเหมือนออทิสติกแท้ แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ไปจนถึงความเครียดจากสภาพแวดล้อม
เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมอาจมีปัญหาทางด้านการพูด การสื่อสาร และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เนื่องจากออทิสติกเทียมเป็นภาวะที่เด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way Communication) จนเกิดความล่าช้าทางพัฒนาการด้านการสื่อสาร และมีพัฒนาการทางสังคมที่ไม่ปกติ คือ ไม่พูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่วนใหญ่มักเป็นผลมาจากคุณพ่อคุณแม่ละเลยการพูดคุยหรือเล่นกับลูก ปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจออุปกรณ์สื่อสารอย่าง “แท็บเล็ต” และ “สมาร์ทโฟน” มากเกินไป จึงเป็นเสมือนการให้เด็กรับสารทางเดียว (One-way Communication) นั่นเอง

การเลี้ยงดูแบบนี้ ทำลูกเสี่ยง! เป็น ออทิสติกเทียม
- พ่อแม่ที่ใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงลูก ปล่อยลูกไว้กับโทรศัพท์มือถือ หรือหน้าจออื่นๆ มากเกินไป
- พ่อแม่ช่างรู้ใจ ช่างเอาใจ ทำให้ลูกแทบทุกอย่างโดยไม่มีการฝึกให้ลูกน้อยรู้จักช่วยเหลือตัวเองเลย
- พ่อแม่ขี้กังวล ช่างห้าม ไม่ยอมปล่อยให้ลูกน้อยทำอะไรหรือเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งมักมีคำพูดติดปาก เช่น “ห้ามแตะนะ อย่านะ เดี๋ยวแม่ทำให้” เป็นต้น
- พ่อแม่ที่ยุ่งจัด ยุ่งมาก จนไม่ค่อยมีเวลาพูดคุยหรือเล่นกับลูก
- พ่อแม่ที่ไม่ค่อยชวนลูกออกไปเล่นนอกบ้าน ทำให้ลูกไม่รู้จักการเข้าสังคม สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และไม่มีโอกาสได้เรียนรู้การอยู่ร่วมในสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า การเลี้ยงดูลูกน้อยด้วยวิธีการต่างๆ ข้างต้น “มากหรือบ่อยจนเกินไป” นอกจากจะไม่กระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการตามวัยแล้ว ยังเสี่ยงทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ควรจะเป็น ช้ากว่าเดิม กลายเป็นเด็กออทิสติกเทียมได้ค่ะ
อาการแบบนี้ สัญญาณที่บอกว่าลูกน้อยเสี่ยง! เป็นออทิสติกเทียม
อย่างที่บอกค่ะว่า ออทิสติกเทียมมีลักษณะอาการที่คล้ายคลึงออทิสติกแท้อู่มาก และบางอาการในเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม อาการแรกเริ่มที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้คือ การที่ ลูกพูดช้า และมีพฤติกรรมที่หมกมุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มเข้าสู่วัยเรียนรู้ ซึ่งสามารถสังเกตอาการที่ “เข้าข่ายออทิสติกเทียม” ได้ดังนี้ค่ะ
-
อาการและพฤติกรรมด้านการพูดสื่อสาร
- ลูกพูดช้ากว่าผู้เด็กวัยเดียวกัน หรือไม่พูด พูดภาษาการ์ตูน หรือพูดตามโดยไม่เข้าใจความหมาย พูดเป็นภาษาต่างดาว พูดซ้ำๆ พูดเหมือนทำนองเพลง ท่องเนื้อเพลง ตัวอักษรต่างๆ ได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย
- ไม่ค่อยเข้าใจคำสั่งหรือคำพูด
- ไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ แสดงออกที่แตกต่างจากเด็กวัยเดียวกัน เช่น ร้องไห้งอแงโดยไม่มีเหตุผล หรือมีพฤติกรรมรุนแรงเวลาไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ โวยวาย และอาละวาด
-
อาการและพฤติกรรมด้านการเข้าสังคม
- เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร
- ไม่แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- มีความสนใจกับเด็กวัยเดียวกันค่อนข้างน้อย และเล่นกับผู้อื่นไม่เป็น เพราะไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดู หรือคนอื่นเลย

-
พฤติกรรมหมกมุ่น
- เล่นของเล่นในรูปแบบเดิมๆ หรือมีพฤติกรรมการเล่นที่ผิดปกติ ชอบเล่นคนเดียว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัยเดียวกัน
- ติดอุปกรณ์สื่อสาร เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน โดยไม่สนใจกิจกรรมอื่น
- ทำอะไรซ้ำๆ เป็นแบบแผน ไม่ยืดหยุ่น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น
ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่จะสามารถสังเกตอาการของเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในช่วงวัยประมาณ 2 ปีค่ะ

วิธีป้องกัน ออทิสติกเทียม ไม่ให้เกิดกับลูกน้อย
ภาวะออทิสติกเทียมนั้นควรได้รับการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ค่ะ เพราะจะสามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการพูด การสื่อสาร และการเข้าใจโลกภายนอกได้ดียิ่งขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขอย่างเหมาะสม อาจส่งผลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางสังคม เกิดปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งวิธีป้องกัน ออทิสติกเทียม ไม่ให้เกิดกับลูกน้อยมีดังนี้
-
งดสื่อหน้าจอทุกชนิดในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
หากอายุมากกว่า 2 ปี อาจให้ดูจอได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และควรเป็นการดูร่วมกันกับคุณพ่อคุณแม่ โดยแบ่งดูเป็นช่วงๆ ที่สำคัญคือ ต้องไม่ใช้จอเป็นเงื่อนไขให้ลูกทำสิ่งต่างๆ เช่น ดูจอได้ระหว่างกินข้าว
-
ทุ่มเทเวลาและเล่นกับลูกให้มากขึ้น
การเล่นกับลูกจะช่วยให้เกิดการพูดคุยแบบ Two-way Communication ค่ะ ให้โอกาสลูกได้แสดงความคิดเห็นระหว่างการเล่น โดยฝึกให้ลูกมองหน้าสบตาเวลาพูดด้วย เช่น เล่นบทบาทสมมติเป็นคุณครู พ่อค้าแม่ค้าตัวน้อย เป็นต้น ให้เด็กหมั่นออกกำลังกาย
-
เปิดโอกาสให้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน
เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะเข้าสังคมด้วยตนเอง และได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละประมาณ 30 นาที อาจเริ่มจากการออกไปเดินเล่นนอกบ้าน ทักทายเพื่อนบ้านบ้าง หรือเล่นในสนามเด็กเล่นที่มีเพื่อวัยเดียวกันก็ได้ค่ะ
เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ตั้งแต่ยังเด็ก เช่น กินข้าวเอง หกเลอะเทอะไม่เป็นไร ตอนเด็กแม่ช่วยเก็บให้แต่ต้องค่อยๆ ให้รู้ลูกจักเก็บและทำความสะอาดเองเมื่อโตขึ้น ล้างมือเอง แปรงฟัน แต่งตัว หรือทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยตัวเอง เหล่านี้นอกจากจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ ของลูกแล้วยังช่วยพัฒนาการด้านสมองจากการคิดวางแผนการจัดการเป้นขั้นตอนด้วยค่ะ
หากสังเกตเห็นพฤติกรรมผิดปกติ หรือสงสัยว่าลูกมีความเสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก หรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุดค่ะ

ภาวะออทิสติกเทียมนั้นมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากลูกน้อยได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม และกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ อยู่สม่ำเสมอจากคุณพ่อคุณแม่ อาการของออทิสติกเทียมจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้ในที่สุดค่ะ
ที่มา : www.paolohospital.com , ch9airport.com , www.samitivejhospitals.com , www.bangkokhospital.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
รู้ไว้ให้ชัวร์! ยาสีฟันมีฟลูออไรด์ ทำเด็ก IQ ต่ำลง จริงไหม?
อย่าปล่อยให้ลูกอ้วน! เสี่ยง!! ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ลูกป่วยเพราะเขียง เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม แหล่งก่อเชื้อโรคร้ายให้ลูกน้อย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!