หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ
หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ ก่อนจะสายเกินไป คุณพ่อโพสต์เล่าประสบการณ์เลี้ยงลูกด้วยมือถือ อันตรายกับลูกขนาดนี้ อุทาหรณ์พ่อแม่ผู้ปกครอง เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด ต้องหยุด!
หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือเดี๋ยวนี้!
พ่อโพสต์อุทาหรณ์เลี้ยงลูกน้อยด้วยมือถือ ตั้งแต่ 2 ขวบ ทำร้ายลูกตั้งแต่เล็ก ใครทำอยู่ หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือเดี๋ยวนี้!
สมาชิกเฟซบุ๊ก ได้โพสต์เตือนภัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยมือถือว่า ให้ลูกสาวดูมือถือกับแท็บเล็ตตอนสองขวบ ดูแลไม่ทันบางทีก็ให้ดูจอไปพลาง ๆ จะได้ไม่กวนไม่งอแงมาก แต่อย่าดีใจไป เด็กอารมณ์ดีตอนได้ดู แต่พอไม่ได้ดูจะอารมณ์เสีย ต้องดูให้ได้ เหมือนเด็กติดเกมเลย ผลกระทบที่ได้มา เราเองคนเป็นพ่อเป็นที่ต้องมาเสียใจ มานั่งสงสารลูก ทำไมเราไม่ดูแลเขาดี ๆ พอตาเริ่มมีปัญหาก็ให้ใส่แว่นประคองอาการหวังว่าจะดีขึ้น สุดท้ายต้องมาผ่าตัดตั้งแต่อายุ 4 ขวบ
และหวังว่าหลาย ๆ คนคงจะให้ลูกดูจอเป็นเวลา พอประมาณ ผลที่ได้รับมามันร้ายแรงกว่าที่คิดมาก ทั้งสมาธิสั้น รอไม่ค่อยเป็น หลังจากไม่ได้ดู อารมณ์ดีขึ้นเยอะเลย คนละคนเลย หวังว่าคงไม่ต้องมีการผ่าตัดรอบที่สองนะลูกนะ หายไว ๆ นะจ๊ะคนดี
ที่มา : https://www.thairath.co.th
อันตรายเลี้ยงลูกด้วยมือถือ หยุดเลย!
รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ อธิบายถึงอันตรายจากการให้ลูกเล่นมือถือและแท็บเล็ตมากเกินไป ว่า ในยุคปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากมายซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในแง่ของการสื่อสารเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งนี้ก็เป็นเหมือนดาบสองคมเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กได้อย่างมาก โดยเฉพาะหากผู้ใหญ่ปล่อยให้เด็กใช้เทคโนโลยีสื่อสารอันได้แก่โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ควบคุม เพราะอาจจะมีผลเสียที่ร้ายแรงต่อเด็กทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ข้อมูลล่าสุดจากชมรมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย พบว่า เด็กและวัยรุ่นไทย 15 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ มีปัญหาติดอินเตอร์เน็ต ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และเปิดดูเว็บไซต์อนาจารต่าง ๆ
วันนี้เรามาคุยกันนะคะว่าอันตรายจากการให้เด็กใช้เทคโนโลยีสื่อสารนี้ นานเกินไป จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง และเราจะสามารถป้องกันได้อย่างไร
หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือนะ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด อันตราย
ผลกระทบของการเล่นโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตนานๆต่อเด็กมีอะไรบ้าง?
หากคุณพ่อคุณแม่อนุญาตให้ลูกเล่นอุปกรณ์นี้นานจนเกินไป จะมีผลต่อเด็กทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย อารมณ์และสังคมดังนี้
ด้านสุขภาพร่างกาย : เด็กจะมีสุขภาพไม่แข็งแรงเพราะใช้เวลานั่งหน้าจอนาน จนไม่ได้ไปออกกำลังกายตามวัย เกิดปัญหาอดนอน ไม่ยอมทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะติดการเล่นหน้าจอ นอกจากนี้การนั่งจ้องหน้าจออุปกรณ์สื่อสารนาน ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสายตาสั้นและปวดล้าตาได้ อีกทั้งมีการศึกษาที่พบว่าสัตว์ทดลองที่ได้สัมผัสกับคลื่นโทรศัพท์เป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในสมอง ถึงแม้ว่าข้อมูลการศึกษาในมนุษย์ยังไม่ชัดเจนนักแต่ก็เป็นสิ่งที่เราควรระวังไว้ค่ะ
ด้านสุขภาพจิต : เด็กจะมีสุขภาพจิตแย่ลงและมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัว ซึมเศร้าได้ง่าย และอาจแสดงอาการต่อต้าน ก้าวร้าว หงุดหงิดง่ายหากผู้ปกครองไม่ยอมให้ใช้อุปกรณ์สื่อสาร และอาจกลายเป็นเด็กที่รอไม่เป็น ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทักษะของ EF (executive function) ในด้านการยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง และควบคุมอารมณ์ อันเป็นรากฐานความสำเร็จของเด็กในอนาคต อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสมาธิสั้นและออทิสติกเทียมในเด็กอีกด้วยนะคะ
นอกจากนี้ หากเด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตนานเกินไปจะทำให้เสียเวลาและโอกาสในการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่สำคัญด้านอื่น ๆ เช่น การเล่นอิสระหรือเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ การคิดวิเคราะห์ การอ่าน การเขียน รวมทั้งทักษะทางสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในสำหรับเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
ผู้ปกครองสามารถอนุญาตให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตอย่างมีขอบเขตเมื่ออายุเท่าไร?
ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทยแนะนำให้ผู้ปกครองจำกัดอายุการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ โดย ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีใช้อุปกรณ์เหล่านี้ทุกชนิด ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีใช้อินเตอร์เน็ตตามลำพัง เด็กอายุ 6-12 ปีควรใช้อินเตอร์เน็ตภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง และเด็กที่อายุน้อยกว่า 13 ปีไม่ควรใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ ไม่ควรให้เด็กใช้เวลากับอุปกรณ์เหล่านี้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา และ 2 ชั่วโมงต่อวันในวันหยุดค่ะ
รู้กันไปแล้วถึงอันตรายต่าง ๆ พ่อแม่ต้องหยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือหรือแท็บเล็ตกันนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เด็กก็เป็นได้! แค่ ป.6 ป่วยออฟฟิศซินโดรม แม่เผยลูกติดมือถือหนัก!
วิธีนวดท้องแก้ท้องผูก สำหรับทารก วิธีให้ลูกถ่ายคล่อง ท้องไม่อืด (มีคลิป)
โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก 3 โรคพฤติกรรมเด็ก วิธีสังเกตลูกเป็นโรคพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่
แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!