รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ออกมาแจ้งเตือนถึงอันตรายของการใช้ ไนโตรเจนเหลวในอาหาร พร้อมรับประทาน และเรียกร้องให้เพิ่มความระมัดระวัง หลังจากมีเด็กบางคน รับประทานแล้วมีอาการแสบท้อง และมีอาหารเป็นพิษขณะรับประทานชิกิเงบุล หรือ ชิกิบูลิส ซึ่งเป็นขนมหลากสีสัน ที่ใส่ ไนโตรเจนเหลวในอาหาร ลงไปผสมด้วยเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่
ไนโตรเจนเหลวในอาหาร อันตรายกว่าที่คิด
นพ.ดิกกี บูดิแมน แพทย์อินโดนีเซีย และนักวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ได้ระบุว่า การนำขนมไปใส่ไนโตรเจนเหลว เพื่อทำให้ดูเหมือนว่า มีควันออกมาจากขนมเมื่อกินขนมเข้าไป แต่ถ้ากินขนมก่อนที่ไนโตรเจนเหลวจะระเหยไปจนหมด อาจเกิดอันตราย ทำให้ลำไส้ไหม้ และทะลุได้ ซึ่งในกรณีที่รุนแรงที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย เตือนอีกด้วยว่า ความเสี่ยงที่เกิดจากการกินขนมลักษณะนี้ ยังอาจทำให้เกิดผิวหนังไหม้ และหายใจลำบากได้ แม้ว่าจนถึงขณะนี้ จะยังไม่มีรายงานการพบผู้เสียชีวิต จากการกินขนมเคลือบไนโตรเจนเหลวนี้ แต่กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ได้ระบุว่า มีเด็กได้รับบาดเจ็บแล้วราว 25 คน โดย 2 คนในจำนวนนี้ ได้รับอันตรายถึงขั้นเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีแนวโน้มว่าจำนวนเด็กที่ได้รับบาดเจ็บอาจมีเพิ่มมากกว่านี้
ทางกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ยังขอให้หน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น ดำเนินการตรวจสอบร้านอาหารต่าง ๆ ที่ใช้ ไนโตรเจนเหลวในอาหาร พร้อมแจ้งเตือนให้ร้านค้าเหล่านี้ แจ้งวิธีการบริโภคอย่างปลอดภัยให้กับลูกค้า ทั้งยังแนะนำว่า ร้านประเภทแผงลอยไม่ควรขายขนมรูปแบบนี้เลย และยังขอให้โรงเรียนต่าง ๆ สอนเด็ก ๆ ถึงอันตรายของขนมประเภทนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในแอปพลิเคชันติ๊กต็อกนั้น มีหลายคลิปวิดีโอ ที่แสดงให้เห็นภาพเด็กวัยรุ่น และเด็กเล็กชาวอินโดนีเซีย แห่กันทำตามเทรนด์ ด้วยการรับประทานขนมท้องถิ่นดังกล่าวพร้อมพ่นควันสีขาวออกมาจากปาก โดยที่มีคลิปวิดีโอหนึ่งมียอดผู้เข้าชมสูงถึงเกือบ 60,000 ครั้ง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ก๊าซไนโตรเจน คืออะไร ชวนรู้จักก๊าซมากประโยชน์ ไร้สีไร้กลิ่น
อาหารอันตรายกินแล้วอาจทำให้ลูกพัฒนาการช้า
1. ขนมหวานที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก
การให้เด็กทานขนมหวานที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก นอกจากจะทำให้ลูกอ้วน มีน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว น้ำตาลที่มีมากในขนมหวานยังมีส่วนทำลายสมองของลูกน้อยได้อีกด้วย ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกต จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า หากเด็กได้รับน้ำตาลฟรุกโตสมากเกินไป อาจส่งผลต่อการหลั่งสารอินซูลิน ซึ่งจะทำให้สมองประมวลผลผิดพลาด ทำงานด้อยลง และส่งผลเสียต่ออารมณ์ของความคิดของเด็กได้
2. อาหารจานด่วน
อาหารจานด่วนประเภทจังก์ฟู้ด หรือที่แปลเป็นภาษาไทยตรงตัวว่า อาหารขยะ หมายถึงอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใด ๆ (Non-Nutritional Value) มักมีสารอาหารไม่ครบถ้วน นอกจากนี้ อาหารจังก์ฟู้ดบางชนิดยังใส่สารกันบูด หรือมีเกลือ ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ทำให้เป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจได้ ยิ่งถ้าเด็กในวัยกำลังเจริญเติบโต บริโภคอาหารประเภทจังก์ฟู้ดมากเกินไป เด็กก็จะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาวได้
3. อาหารแช่แข็ง และอาหารกึ่งสำเร็จรูป
อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารประเภทที่แค่นำออกมาจากช่องแข็ง ก็นำมาอุ่นพร้อมรับประทานได้เลย รวมถึงอาหารกระป๋อง เป็นอาหารที่ไม่ควรให้เด็กก่อนวัยเรียนได้ทานบ่อย ๆ เพราะอาหารเหล่านี้ ต้องผ่านกระบวนการยืดอายุอาหาร เพื่อให้เก็บไว้ทานได้นานขึ้น นอกจากจะมีสารเคมีแล้ว อาหารเหล่านี้ยังไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ หากให้ลูกทานมาก ๆ จะสะสมในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมขึ้นได้เมื่อลูกน้อยโตขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารเสริมสำเร็จรูป จำเป็นกับลูกน้อยอย่างไร รู้หรือไม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด!
4. โปรตีนแปรรูป
เนื้อสัตว์ เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งจะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ควรได้รับจากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ ไม่ผ่านการแปรรูป สำหรับเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอกบางชนิด หรือ แฮมบางชนิด เป็นโปรตีนแปรรูป ซึ่งจะมีการผสมสารเคมีที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร อย่างสารกันบูด และโซเดียมสูง หากให้ลูกทานโปรตีนแปรรูปเหล่านี้บ่อย ๆ จนสะสมในร่างกายมาก ๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ในการประมวลผลต่าง ๆ ทำให้การเรียนรู้ และการจดจำทำได้ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
5. ชาและกาแฟ
โดยส่วนมากแล้ว มักจะไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหน ให้ลูกวัยก่อนเข้าเรียน ดื่มชาและกาแฟกันอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่คิดจะให้เด็กได้ลองดื่มชาและกาแฟ คาเฟอีนในชาและกาแฟจะส่งผลให้ประสาทตื่นตัว นอนไม่หลับ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก อีกทั้งยังขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กในกระแสเลือด เพื่อส่งออกซิเจนไปยังสมอง สำหรับพัฒนาการทางสมองของเด็กอีกด้วย
6. ไนโตรเจนเหลวในอาหาร
อย่างไรก็ตามไนโตรเจนเหลว นั้นสามารถใช้กับอาหารได้ค่ะ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการไม่ให้ถูกผิวหนัง หรือเนื้อเยื่ออ่อน และในการทำอาหารที่มีการเทราด หรือใส่ไนโตรเจนเหลว ควรทิ้งระยะไว้สักนิดนึง เพื่อให้ไนโตรเจนระเหยกลาย เป็นก๊าซ และต้องไม่ทานแบบซดของเหลวเข้าไปเด็ดขาด เพราะอาจเกิดการไหม้จากความเย็นจัดได้
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าพัฒนาการของลูกนั้น อยู่ที่การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญ อย่าท้อแท้ที่ในวันนี้ลูกของเราอาจจะยังไม่เก่งมากหรือยังด้อยกว่าคนอื่น เพราะหากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงดูลูก ๆ ด้วยความรักและเอาใจใส่แล้ว ความฉลาดของลูกก็จะพัฒนาขึ้นมาได้ในที่สุดค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 อาหารอันตรายหน้าโรงเรียน ภัยอันตรายจากอาหารหน้าโรงเรียน
ชุดอาหารเด็ก สำหรับมื้ออาหารของหนูน้อย เลือกแบบไหนให้ปลอดภัยที่สุด
อาหารเด็ก ก่อนวัยเรียน เมนูอาหารก่อนวัยเรียนของลูก ๆ ที่คุณแม่ทำง่าย ๆ
ที่มา : thebangkokingsight
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!