X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคมะเร็งปอด สาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อาการป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ !

บทความ 5 นาที
โรคมะเร็งปอด สาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อาการป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ !

โรคมะเร็งปอด กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังจาก นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อายุ 28 ปี อาจารย์แพทย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก สู้ดิวะ ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตัวเองกับการเป็นมะเร็งปอดเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทุกคน

 

เรื่องราวชีวิตของเขาดูเหมือนจะเรียบง่าย เป็นเพียงชายหนุ่มที่มีสุขภาพดี ชอบออกกำลังกาย และให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง รวมทั้งอาหารการกิน และการนอนเป็นอย่างมาก แต่ขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์ เพิ่งได้บรรจุเป็นอาจารย์แพทย์ กำลังจะซื้อบ้าน และแต่งงาน ชีวิตกลับพลิกผันด้วยโรคมะเร็งปอดที่ไร้สัญญาณเตือน มาตรวจพบอีกทีก็เป็นระยะสุดท้ายแล้ว

 

แต่เคสของอาจารย์แพทย์กฤตไท ไม่ใช่เคสเดียวที่มาตรวจเจอมะเร็งปอดในระยะสุดท้าย ล่าสุด พ.ต.ต.รุ่งคุณ จันทโชติ สารวัตร กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ก็ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กเล่าเรื่องราวการป่วยเป็นมะเร็งของตัวเองเพื่อเป็นประสบการณ์ให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีพยาบาลอ้อน ที่ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องราวที่ตนเองเจอเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไม่รู้ว่าท้อง สาววัย 31 คลอดลูกในห้องน้ำ คิดว่ากินจุจนอ้วน เชื่อลูกให้โชค!

 

โรคมะเร็งปอด

 

มะเร็งปอดไร้สัญญาณเตือน

จากเรื่องราวทั้งหมดเห็นได้ว่า มะเร็งปอด มักไม่มีสัญญาณเตือนในระยะแรก กว่าผู้ป่วยจะมาตรวจพบ มารู้อีกทีก็เป็นระยะที่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้ว ทำให้รักษาได้ยาก แต่หากตรวจพบมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ในระยะแรก จะมีโอกาสรักษาให้หายได้สูงถึง 90%

 

สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นมะเร็งปอด ส่วนใหญ่แล้วมาจากการสูบบุหรี่ กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง แต่เป็นที่น่าสนใจว่า ในปัจจุบันเริ่มมีผู้คนจำนวนมากที่ไม่เคยสูบบุหรี่และไม่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ไม่มีคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ แต่ก็เป็นมะเร็งปอด ดังนั้นการตรวจคัดกรองเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้นอาจไม่เพียงพอ

 

โรคมะเร็งปอด

 

โรคมะเร็งปอด คืออะไร ?

มะเร็งปอด (Lung Cancer) เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง เป็นอาการผิดปกติของเซลล์เยื่อปอด ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนจนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งภายในปอดหรือหลอดลม ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

 

เซลล์มะเร็งอาจเกิดการลุกลามจนทำให้พื้นที่ในปอด ที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนออกซิเจนน้อยลงเรื่อย ๆ จนทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนและเสียชีวิตในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตาม สามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อลืมลูกไว้ที่ปั๊ม จอดรถแวะเข้าห้องน้ำ ไม่รู้ลูกลงรถตามไปด้วย เด็กตอบพ่อรีบไปนอน !

 

ชนิดของมะเร็งปอด

มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) : พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) : พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

อาการของโรคมะเร็งปอด

โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น มักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้

  • ไอเรื้อรัง ไอแห้ง ไอมีเลือดปน หรือไอมีเสมหะ
  • มีปัญหาการหายใจ หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ ปอดบวม
  • เหนื่อยง่าย เหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็ง เนื่องจากมีหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด

 

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอด

ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจน ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด เช่น

  1. บุหรี่ : อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
  2. ได้รับสารพิษและมลภาวะแวดล้อม : เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่น ๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่น
  3. อายุ : ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
  4. คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งปอด : ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้ไม่ได้สูบบุหรี่

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดปัจจัยเสี่ยง และวางแผนการตรวจสุขภาพ ส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งปอดมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้อีก

 

โรคมะเร็งปอด

 

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปอด

การตรวจคัดกรองช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบ และรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่าย หรือด้วยตนเองดังเช่นมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

 

การตรวจเบื้องต้น และการวินิจฉัยมะเร็งปอด

หากมีอาการที่เข้าข่ายของโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ x-ray ปอด หากพบความผิดปกติ อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

 

1. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)

  • การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ : แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะที่ช่องอกไปยังปอด และดูดตัวอย่างของเหลวเนื้อเยื่อที่สงสัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ มักทำพร้อมกับการทำ CT scan เพื่อหาตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม : แพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กที่มีไฟ ผ่านทางจมูกหรือปากเข้าไปสู่ปอด โดยท่อนี้สามารถดูดของเหลวหรือตัดชิ้นเนื้อเยื่อที่สงสัยออกมาตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด
  • การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก : แพทย์จะใช้เข็มเจาะที่ช่องอกบริเวณระหว่างปอดและผนังของช่องอก เพื่อทำการเก็บของเหลวบริเวณดังกล่าวมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง : แพทย์จะใช้กล้องใส่เข้าทางผนังทรวงอกเพื่อตัดก้อนเนื้อจากปอดไปตรวจ

 

2. การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
  • การตรวจด้วยเครื่อง PET scan เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

 

โรคมะเร็งปอด

 

3. การตรวจยีนกลายพันธุ์ของมะเร็งจากชิ้นเนื้อ/เลือด

หากมียีนกลายพันธุ์ที่สามารถรักษาด้วยการใช้ยารักษาแบบเฉพาะเจาะจงยีนจะทำให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ตรงจุด

 

มะเร็งปอดถือเป็นโรคเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที ไม่ว่าใครแม้แต่คนที่มีสุขภาพดีก็สามารถเป็นได้ ด้วยความน่ากลัวที่ระยะแรกมักไร้สัญญาณเตือน ดังนั้นการตรวจสุขภาพปอดประจำปี นับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ในเรื่องร้ายก็ยังมีเรื่องดี ๆ อยู่ นั่นคือถ้าหากตรวจพบได้ไว มีโอกาสหายขาดได้สูงถึง 90%

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเด็ก ม.1 อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กสทช. ขู่เรียกเงินแสน!

อาบน้ำเด็กทารก เทคนิคอาบน้ำเด็กให้สะอาดและปลอดภัย อาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย

เช็กอาการไวรัส RSV โรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคมะเร็งปอด สาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อาการป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ !
แชร์ :
  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว