10 วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด สมองดีและมีความมั่นคงทางอารมณ์ในยุค 4.0

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด สติปัญญาดี ควบคู่ไปกับมีความมั่นคงทางอารมณ์ จัดการอารมณ์ตัวเองได้ เคล็ดลับสำคัญ เลี้ยงลูกยุค 4.0 ให้ฉลาดตั้งแต่แรกเกิด

พ่อแม่ทุกคนต่างพยายามส่งเสริมให้ลูกฉลาดรอบด้าน มีสติปัญญาดี มีความฉลาดติดตัว ได้เรียนในระดับที่สูงขึ้น หรือหาวิธีเก่งนอกหลักตำราเรียน ควบคู่พัฒนาการด้านอารมณ์ อยากให้ลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์​ไม่หัวร้อนง่าย รู้จักจัดการกับอารมณ์ตนเอง ไม่แสดงอาการก้าวร้าวออกมาเมื่อไม่พอใจนี่คือ วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด ทั้งมีสติปัญญา และมีความฉลาดทางอารมณ์

 

10 วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด เคล็ดลับเลี้ยงลูกให้ฉลาดทันคน ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี

การส่งเสริมให้ลูกมีความสามารถในการจัดการทางอารมณ์จึงมีความสำคัญพอ ๆ กับการพัฒนาด้านสติปัญญาและในด้านอื่น ๆ ซึ่งพ่อแม่มีส่วนช่วยส่งเสริม และคอยเป็นกำลังใจให้ลูกเสมอโดยไม่ทำให้พวกเขาเสียกำลังใจ

 

1. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้ลูก

สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านสมองที่ดีขึ้นได้ ทั้งสภาพแวดล้อมที่บ้านและที่โรงเรียน อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ของลูก ไม่จำกัดหรือปิดกั้นพัฒนาการเด็กด้วยคำว่า “อย่าทำ”

 

 

2. ให้ลูกดื่มนมแม่นานขึ้น

ผลการศึกษาเรื่องการพัฒนาสมองหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาที่เด็กได้ดื่มนมแม่เชื่อมโยงกับการที่เด็กจะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีฉลาด ยิ่งกินนมแม่นานและกินนมแม่อย่างเดียวตลอด 6 เดือนแรกพบว่าไอคิวเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่กินนมแม่

 

3. เรียนรู้จากการเล่น

ในวัยเด็กการเรียนรู้เกิดจากการเล่น ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมหรือศิลปะที่สร้างสรรค์ เช่น เกมกระดาน วาดภาพ เล่นดนตรี ร้องเพลง หรือเกมที่เน้นใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการเคลื่อนไหว

 

4. พาลูกไปออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย ช่วยให้เลือดเกิดการหมุนเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดี เมื่อสมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ความเร็วในการคิดวิเคราะห์ และกระบวนคิดอย่างมีเหตุผลของลูกจะได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ให้กับลูกอีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ : พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง? เช็กเลย! แบบนี้โตตามเกณฑ์ชัวร์

 

 

5. สอนให้ลูกคิดบวก

เลี้ยงลูกให้คิดบวกหรือการตอบสนองเชิงบวก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพสมองของลูกได้ ในทางกลับกันการคิดในแง่ลบจะเป็นการบั่นทอน สติปัญญา สมองและจิตใจ

 

6. สอนให้ลูกรักการอ่าน

การอ่านถือเป็นการสร้างความฉลาดที่ดีที่สุด คุณพ่อคุณแม่ควรหาหนังสือดีๆ มาอ่านให้ลูกฟังเป็นประจำหรืออ่านเป็นตัวอย่าง นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกหนังสือที่ชอบเองด้วย พยายามอย่าบังคับลูกหรือสร้างข้อจำกัดในการอ่านของลูกมากเกินไป

7. ให้ความรักแก่ลูก

การที่พ่อและแม่ให้ความรัก แสดงความรักต่อลูกเป็นที่สิ่งสำคัญมาก เมื่อลูกมีความสุข รู้สึกอบอุ่น จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์

 

 

8. อาหารบำรุงสมอง

ลูกควรได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน และไม่ควรข้ามอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งไป รวมถึงลูกควรได้รับสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง เช่น ดีเอชเอ และโอเมก้า เพื่อช่วยให้การทำงานของสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

9. เรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน ทุกเพศทุกวัย ต่างใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแอปพลิเคชันหรือวิดีโอที่เป็นประโยชน์เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรให้ลูกใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็นไม่มากจนเกินไป และที่สำคัญไม่ควรให้ลูกดูจอหากลูกยังอายุไม่ถึง 2 ขวบ เนื่องจากส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กทั้งด้านสมอง อารมณ์ การสื่อสาร และพฤติกรรม ทำให้เด็กพัฒนาการช้า พูดช้า พูดไม่ชัด สมาธิสั้น สายตาสั้น หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

 

10. การให้กำลังใจลูก

การกระตุ้นลูกฉลาดไม่ใช่การให้เขาลงมือทำเพียงครั้งเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ แต่เกิดจากการทำซ้ำบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นทักษะ กระบวนการคิดเกิดเป็นการเรียนรู้ และความฉลาด ดังนั้น เราควรพูดให้กำลังใจลูกเพื่อให้ลูกมีกำลังใจและรู้สึกดีที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นต่อไป

บทความที่น่าสนใจ : 5 พฤติกรรมหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกติดเกม ป้องกันก่อนที่จะสาย

 

 

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด เลี้ยงลูกให้ฉลาดตั้งแต่แรกเกิด เลี้ยงอย่างไร?

ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ของลูกเปรียบเสมือนประตูสู่การเรียนรู้  ดังนั้น การกระตุ้นพัฒนาการของสมองเด็กให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการใช้อวัยวะรับรู้ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การรับรส การสัมผัส และการเคลื่อนไหว เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับเลี้ยงลูกให้ฉลาดตั้งแต่แรกเกิด

 

1. การสัมผัสวัตถุต่าง ๆ เสริมพัฒนาการ

เวลาที่พ่อแม่ให้ลูกน้อยได้ฝึกการจับสัมผัสวัตถุต่างๆ พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องให้ลูกจับที่เป็นของแข็งเสมอไป อาจจะให้ลองของจำพวกของเหลวบ้าง เช่น เวลาอาบน้ำ พ่อแม่อาจลองให้ลูกได้สัมผัสทั้งน้ำอุ่น น้ำเย็น ให้เด็กได้รู้จักแยกแยะด้วยการสัมผัส ให้เขาได้รู้สึกถึงความแตกต่าง ถึงแม้ว่าสิ่งที่ตาเห็นจะเหมือนกัน แต่พอสัมผัสแล้วมันต่างกัน

กิจกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้ลูกได้ฝึกสัมผัสของที่หลากหลาย คือการพาออกไปเดินเล่นนอกบ้าน ให้ลูกได้จับ ดิน หิน ทราย ใบไม้ ต้นไม้ โดยเฉพาะหินที่มีหลายรูปทรง เด็กๆ จะได้รู้ว่าสิ่งของที่แม้จะเป็นชนิดเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีรูปร่างหรือรูปทรงที่เหมือนกันได้

ถ้าพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกได้สนุกกับการสัมผัส ก็ลองให้เขาวาดรูปสิ่งของที่สัมผัสลงในกระดาษ ว่าเด็กๆ ไปเจออะไรบ้างนอกบ้าน เพื่อให้น้องๆ ได้ฝึกคิดและสนุกกับการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือจะเป็นการปั้นดินน้ำมัน แป้งโดว์ ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้ใช้จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ด้วยค่ะ

 

2. วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด ฝึกการมองเห็น

หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมต้องฝึกเรื่องการมองให้ลูกล่ะ? คำตอบก็คือ ทารกหลังจากคลอดออกมา เริ่มแรกจะมองเห็นไม่ชัด ระยะการมองเห็นก็จะใกล้ๆ สีที่เห็นชัดที่สุดจะเป็นสีขาวกับดำ และจะเริ่มเห็นได้ไกลมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการมองเห็นที่ดีต้องเป็นของที่มีสีสันสดใส เพื่อดึงดูดความสนใจลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างสีแดง เหลือง น้ำเงิน

ตัวช่วยในการฝึกนี้คงไม่พ้นของเล่น ตุ๊กตา หนังสือที่สีสันสดใส พ่อแม่อาจจะใช้สิ่งนี้เป็นกิจกรรมเล่นกับลูกได้ เช่น การอ่านหนังสือนิทาน หนังสือผ้าที่ให้ลูกได้จับแบบไม่ต้องกลัวกระดาษบาดมือ หรือปาก เนื่องจากหนูๆ วัยนี้ชอบหยิบของใส่ปาก พ่อแม่ระวังไว้หน่อยก็ดีนะคะ ถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยก็ควรให้ได้สนุกกับการวาดภาพ ระบายสี หรือเป็นการต่อจิ๊กซอว์ก็ได้ค่ะ

 

เทคนิคเลี้ยงลูกให้ฉลาดตั้งแต่แรกเกิด

 

3. ด้านการฟัง เสริมพัฒนาการ

วิธีฝึกที่ง่ายที่สุด คือการคุยกับลูกบ่อยๆ เพราะลูกน้อยจะเกิดการจดจำของโทนเสียงสูง-ต่ำ คำศัพท์ใหม่ๆ โดยเฉพาะถ้าอยากให้ลูกพูดได้ง่ายๆ ภาษาก็ต้องเริ่มตั้งแต่เล็กๆ นี้แหละดีที่สุด แน่นอนว่าการสอนลูกหลายๆ ภาษาพร้อมกัน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้ลูกเกิดความสับสน เด็กพูดช้าไปบ้าง แต่พอโตขึ้นหน่อย เด็กจะเริ่มแยกแยะได้ และจะพูดโต้ตอบกับเราได้เองค่ะ

ไม่เพียงแค่นั้น การใช้เสียงเพลงก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกการฟังที่ดีด้วย การร้องเพลง เล่นดนตรี ก็เช่นกัน เพราะจะทำให้เขาได้เข้าใจจังหวะเพลง การเคลื่อนไหวร่างกายให้เข้ากับจังหวะ แรกๆ เด็กๆ อาจมีคร่อมจังหวะบ้างก็ไม่แปลก พอได้ยินบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้ก็จะหายไป ไม่แน่อาจจะกลายเป็นกิจกรรมที่น้องๆ ชอบมากก็ได้จริงไหมคะ

บทความที่น่าสนใจ : เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

 

6 ทักษะที่ควรสอนลูก

4. วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด การรับรสต่างๆ

พ่อแม่ส่วนใหญ่จะเลือกอาหารที่ไม่ปรุงรสให้ลูกทาน ทำให้ลูกๆ ชินกับรสชาติอาหารจืดๆ บ้าง หรือรสตามธรรมชาติบ้างๆ จริงๆ แล้วอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงรสเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่พ่อแม่ก็ควรฝึกให้ลูกได้ลองกินอาหารในรสชาติอื่น ให้รู้ว่าแบบนี้เรียกว่าหวาน เค็ม เปรี้ยว ขมน่ะ หรือจะลองให้ลูกลองปรุงรสชาติอาหารที่ตนเองชอบดู ถ้าใส่น้ำตาลเท่านี้จะหวานไปไหม ใส่น้ำปลาเท่านี้จะเค็มหรือเปล่า อีกทั้งน้ำปลาแต่ละยี่ห้อก็มีความเค็มไม่เท่ากันอีก ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ลูกได้มีประสาทสัมผัสที่ดีอย่างแน่นอน

 

5. การรับรู้กลิ่น

เด็กๆ เมื่อยังเล็กๆ คงแยกแยะไม่ออกว่ากลิ่นนั้นกลิ่นนี้คืออะไร เหม็นหรือไม่เหม็น คงจะมีแต่ชอบหรือไม่ชอบเท่านั้น บางทีการที่ให้ลูกได้รับรู้กลิ่นก็จะทำให้เขาได้รู้จักการระวังตัว เช่น กลิ่นไหม้ ถ้าลูกได้กลิ่นแบบนี้เมื่อไหร่ในบ้าน แสดงว่าเป็นสัญญาณไม่ดีแล้ว หรือกลิ่นอาหารที่เหม็นเน่า แสดงว่าลูกไม่ควรกินมันน่ะ เดี๋ยวจะป่วย กลิ่นสารเคมีในบ้านจากน้ำยาล้างห้องน้ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่จะบอกให้ลูกรู้ว่าอย่าสูดดมมันมากเกินไป

นอกจากนี้ การให้ลูกได้ลองดมกลิ่นคือ ดอกไม้ และผลไม้ชนิดต่างๆ จะทำให้เขาแยกแยะสิ่งเหล่านั้นได้ดี ซึ่งพ่อแม่อาจใช้การดมกลิ่นเป็นเกมก็ได้ เช่น เวลาที่คุณแม่ไปเลือกซื้ออาหารหรือของเข้าบ้าน ก็ลองหยิบจับผักหรือผลไม้บางชนิดให้ดม หรือจะนำมาเล่นเกมปิดตาทายชนิดผักและผลไม้กับลูกก็ได้ ซึ่งเป็นเกมที่สนุก แถมไม่ต้องเสียเงินเยอะ เนื่องจากคุณแม่ต้องซื้อมาทำอาหารอยู่แล้วใช่ไหมคะ

 

เทคนิคเลี้ยงลูกให้ฉลาด

 

6. ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

กล้ามเนื้อเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กทรงตัวได้ แถมยังหยิบจับอะไรก็สะดวกไปหมด กิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกายจะช่วยให้ลูกน้อยได้พัฒนาทักษะการทรงตัวที่ดี เช่น การคลาน วิ่ง เดินเร็ว การกระโดด ห้อยโหน ทั้งมีจะเป็นตัวช่วยให้ลูกน้อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่คล่องแคล่ว ว่องไว โดยพ่อแม่อาจใช้กีฬาเข้ามาช่วย เช่น ยิมนาสติก ว่ายน้ำ บัลเลต์ หรือเทควันโด เป็นต้น ไม่แน่เด็กๆ อาจกลายเป็นนักกีฬาคนเก่งมากความสามารถก็นะคะ

คุณพ่อคุณแม่สามารถพัฒนาศักยภาพทางด้านนี้ของลูกได้โดยการให้ลูกทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ช่วยพัฒนาในด้านการทรงตัว ได้แก่ การคลาน การนอนกลิ้งตัว การวิ่งกระต่ายขาเดียว การกระโดด การยืนบนกระดานทรงตัว ซึ่งการฝึกให้เด็กๆ มีการทรงตัวที่ดีนั้นเป็นการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อทุกส่วนของเด็กให้ทำงานประสานกันอย่างดี ซึ่งจะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีบุคลิกที่คล่องแคล่วว่องไว อีกทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพให้ลูกเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ เป็นนักบัลเลต์ หรือ แดนเซอร์ ที่เก่งกาจในอนาคต

 

ถึงแม้ว่า ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ด้านจะติดตัวมากับลูกอยู่แล้ว และเด็กๆ สามารถพัฒนาเองได้ แต่การที่ให้ลูกฝึกทักษะเหล่านี้เพิ่มเติม จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นจนกลายเป็นความสามารถพิเศษก็ว่า บางคนชอบขีดเขียนตั้งแต่เล็กๆ พอโตขึ้นก็รู้ว่าตัวเองชอบและมีพรสวรรค์ด้านนี้ ก็จะสามารถไปได้ไกลกว่าคนอื่น ทั้งยังสามารถฝึกการเรียนรู้ จดจำได้ดีอีกด้วย

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

10 เคล็ดลับจัดการอารมณ์ของเจ้าหนู วัยทอง 2 ขวบ ที่กำลังดื้อเข้าขั้นให้อยู่หมัด

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ

ที่มา : theasianparent, สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

บทความโดย

Napatsakorn .R