X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

บทความ 5 นาที
วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

ใครจะไปรู้ เลี้ยงลูกมาแบบนี้ จะเริ่มกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจ แต่เมื่อเห็นพฤติกรรมลูกเริ่มแย่ รีบแก้ไขตั้งแต่ตอนนี้ก็ยังไม่สายค่ะ

 

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น เราจะมองเห็นว่าลูกเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น เอาแต่ใจมากขึ้น วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง จะทำยังไงให้ดีขึ้น เลี้ยงยังไงให้พอดี เอาวิธีดี ๆ มาบอกคุณพ่อคุณแม่ตรงนี้ค่ะ

 

สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ

สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูจากบุคคลใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย หรือพี่เลี้ยง ที่คอยยอมใจลูกหลานแบบไม่กำหนดขอบเขต ไม่คิดถึงเหตุผล แค่ลูกร้องหรือแสดงอารมณ์ก็ปล่อยตามใจ จนทำให้เด็กคิดว่าเมื่อทำสิ่งนี้ตนเองจะได้ในสิ่งที่ตนต้องการ บ่อยครั้งจึงเป็นความเคยชิน สร้างเป็นนิสัยเอาแต่ใจขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่าลูกมีนิสัยเช่นนี้ พ่อแม่รีบแก้ไขด่วน ๆ

 

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ( ภาพจาก freepik.com )

 

ลูกเอาแต่ใจเป็นยังไง

  • เริ่มที่จะไม่ฟังคำที่พ่อแม่พูด ไม่ทำตามกฏเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ตั้งกันไว้ในบ้าน
  • ไม่หยุดทำเมื่อถูกห้าม ดื้อ ต่อต้านขึ้น
  • อยากได้หรือต้องการ ก็ต้องได้สิ่งนั้นให้ได้ ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มา
  • ทำตามใจตัวเองโดยไม่มีเหตุผล
  • มีความอดทนต่ำ โวยวาย เมื่อถูกต่อว่าหรือถูกกดดัน
  • มีอารมณ์ร้าย
  • แสดงความเป็นเด็กขี้เบื่อ และไม่มีสมาธิอยู่กับสิ่งใดนาน ๆ

 

 

10 วิธีแก้ ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

1. กำหนดกฎเกณฑ์ให้ลูกอย่างเหมาะสมตามวัย

เด็กเล็กต้องการการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และเรียนรู้ว่าอะไรทำได้ไม่ได้ ท่ามกลางความปลอดภัย การให้อิสระลูกเล่นในสถานที่ปลอดภัยและเหมาะสม บอกกติกาว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ จะทำให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองและมีวินัย กว่าจะที่ใช้คำสั่งบังคับและไม่ให้ทำ

 

2. แยกแยะให้ออกเมื่อลูกร้องไห้

ในขณะที่ลูกยังไม่รู้วิธีการสื่อสารกับพ่อแม่อย่างชัดเจน สิ่งที่เขาแสดงออกได้ในตอนนี้ก็คือการร้องไห้เพื่อให้รู้ว่ากำลังเจ็บปวด หิว ไม่สบายตัว หรือกลัวอะไรบางอย่าง เหล่านี้พ่อแม่ควรให้ความสนใจกับลูกทันที แต่ถ้าเป็นการร้องไห้แบบรู้ว่าไม่เกิดอันตราย ร้องเพื่อเรียกร้องเอาในบางอย่าง อาจจะปล่อยให้ลูกร้องไห้เพื่อให้เข้าใจว่า หนูจะไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการตอนนี้ และเข้าไปกอด ปลอบลูกด้วยคำพูดอ่อนโยนและใช้เหตุผล

บทความที่น่าสนใจ : ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า

 

3. อย่าปล่อยให้ลูกแสดงอารมณ์ร้ายจนได้ผล

ยกรางวัลดราม่ายอดเยี่ยมให้กับเจ้าตัวเล็ก เพราะเมื่อเด็กไม่พอใจ เอาแต่ใจ ก็จะแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจนให้พ่อแม่ได้รู้เพื่อใจอ่อน ยอมทำตาม ในสถานการณ์แบบนี้พ่อแม่ต้องสตรองเอาไว้นะคะ ยืนอยู่ห่าง ๆ ปล่อยให้ลูกปลดปล่อยอารมณ์โมโหซักระยะ เมื่อลูกค่อย ๆ หยุดแล้วจึงเข้าไปคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนและบอกเหตุผลในสิ่งที่ทำให้ลูกจะไม่ได้

 

4. อย่าละเลยเรื่องระเบียบวินัย

สอนเรื่องนี้ให้ลูกตั้งแต่เล็กเพื่อติดนิสัยไปจนโต จะทำให้ลูกรู้จักควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ มีหลักการและเหตุผลในการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องมากขึ้น โดยมีพ่อแม่คอยทำเป็นแบบอย่างนะคะ

 

5. สอนให้ลูกรู้จักการรอคอยและอดทนให้เป็น

การรอ จะช่วยทำให้เด็ก ๆ จัดการกับความหงุดหงิด ไม่ได้ดั่งใจได้ดีขึ้น เพราะการอดทน เป็นสิ่งที่ลูกจะต้องใช้ในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม

บทความที่น่าสนใจ : ฝึกลูกอย่างไรให้มีความอดทน รู้จักรอคอย ไม่กลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง!

 

6. ไม่ชมเชยลูกมากเกินไป

การชมเชยถือว่าเป็นสิ่งดีเป็นกำลังใจในการต่อยอดที่จะทำต่อไปให้ดีขึ้น แต่การชมลูกมากเกินไป หรือซักแต่ว่าชม จะทำให้ลูกเหลิง และทำแต่เรื่องซ้ำ ๆ ในสิ่งที่พ่อแม่ชื่นชม จนไม่อยากจะทำสิ่งอื่นเพราะกลัวทำไม่ได้ดี การชมบ่อย ๆ จึงทำให้เด็กหยุดชะงัก เสียโอกาสที่จะไปพัฒนาในด้านอื่น ๆ นะคะ

 

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ( ภาพจาก freepik.com )

 

7. ใช้เวลาร่วมกับลูก

ในปัจจุบันที่พ่อแม่หมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน เวลาคุณภาพจึงอาจไม่ใช่เวลาที่ต้องอยู่กับลูกตลอดเวลา แต่เป็นการแบ่งเวลาที่ให้ทุกคนอยู่พร้อมหน้าทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมด้วยกัน เมื่อลูกได้เวลาในส่วนนี้ไปจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ไม่ว้าเหว่ ไม่คิดไขว่คว้าหรือร้องเอาแต่ใจ เพื่อหาของอื่นเพื่อมาเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปได้นะคะ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

 

8. ใช้เหตุผลในการพูดกับลูกทุกครั้ง

เมื่อลูกเอาแต่ใจ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเมื่ออยากให้ลูกปรับปรุงพฤติกรรมก็คือการพูดคุยด้วยเหตุผล หากพ่อแม่ใช้อารมณ์กับลูก มีแต่จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมต่อต้าน มีนิสัยที่เอาแต่ใจมากยิ่งขึ้น

 

9. หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก

พ่อแม่ควรที่จะคอยสังเกตพฤติกรรมของลูก ว่าลูกต้องการอะไร เพราะถ้าหากพ่อแม่ถามเด็กทุกเรื่องว่าต้องการอะไรบ้าง ก็จะทำให้เด็กรู้สึกรำคาญและเบื่อได้ง่าย หากพ่อแม่สังเกตและรู้ว่าลูกต้องการอะไร จะทำให้เด็กไม่มีปัญหาการเอาแต่ใจตัวเอง เพราะเหมือนกับพ่อแม่รู้ใจของเด็ก

 

10. อย่าใช้คำพูดที่เป็นการบังคับ

การเลือกใช้คำพูดกับลูกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะคำพูดที่เป็นเหมือนกับคำสั่ง จะทำให้ลูกต้องรู้สึกกดดัน และไม่ต้องการที่จะทำตาม ทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด เช่น ลูกมากินข้าวเดี๋ยวนี้ ลูกแต่งตัวเร็ว ๆ หน่อย เดี๋ยวไปโรงเรียนสาย ซึ่งคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการสั่ง ที่จะทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายใจ และมักจะทำให้รู้สึกเก็บกดอีกด้วย พ่แม่ควรเปลี่ยนมาเป็นการใช้คำพูดในแนวที่ให้เป็นความเห็นจะดีกว่า เด็กจะได้ไม่ต้องรู้สึกกดดันตัวเอง

 

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ( ภาพจาก freepik.com )

 

เจ้าตัวเล็กที่พ่อแม่รู้สึกว่ากำลังเอาแต่ใจตัวเองอยู่ในตอนนี้ ถ้าไม่รีบแก้ไขก่อนที่จะเข้าสู่วัยเรียนหรือโตไปกว่านี้ จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหาได้นะคะ เพราะเมื่อลูกเข้าสังคมและมีพฤติกรรมเอาแต่ใจติดตัวไป อาจถูกปฏิเสธจากเพื่อน จากคนรอบข้าง ไม่เป็นที่ยอมรับ ทำให้ลูกขาดความสุข มีปมด้อย และมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในแง่ลบ จนกลายเป็นความทุกข์ใจของพ่อแม่ ดังนั้นถ้าเห็นพฤติกรรมลูกเอาแต่ใจตัวเองอยู่ รีบหันมามองดูแล้วช่วยกันแก้ไข เลี้ยงลูกให้ดีกันค่ะ

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น “โรคเอาแต่ใจตัวเอง”

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกวัยคลานจะกลายเป็นเด็กชอบเอาแต่ใจ

 

ที่มา : sethaputra.com, 2, 3

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้
แชร์ :
  • 6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

    6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

  • รับมือลูกเอาแต่ใจ อย่างไรให้ได้ผล มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

    รับมือลูกเอาแต่ใจ อย่างไรให้ได้ผล มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

    6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

  • รับมือลูกเอาแต่ใจ อย่างไรให้ได้ผล มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

    รับมือลูกเอาแต่ใจ อย่างไรให้ได้ผล มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ