theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

วิธีการเล่นให้เป็นประโยชน์ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะของเด็ก เล่นอย่างไรให้ดี?

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
วิธีการเล่นให้เป็นประโยชน์ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะของเด็ก เล่นอย่างไรให้ดี?

เล่นกับลูกอย่างไร ให้ลูกมีความสุข สนุก ทำให้ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ในทุกด้านดีขึ้น การเล่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเคลื่อนไหวของเด็กและการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อ

วิธีการเล่นให้เป็นประโยชน์ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะของเด็ก เล่นอย่างไรให้ดี?

เล่นกับลูกอย่างไร ให้ลูกได้ทั้งความสุข ความสนุก และทำให้ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ในทุกด้านได้ดีไม่ใช่เรื่องยากเลย แถมไม่ต้องไปง้อของเล่นเสริมพัฒนาการราคาแพง ๆ แค่พ่อแม่มีส่วนร่วม  การเล่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเคลื่อนไหวของเด็กวัยหัดเดินและการพัฒนาทักษะของกล้ามเนื้อ เด็กวัยหัดเดินมีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปีนเขา วิ่ง และกระโดดได้ดีขึ้น การเล่นนั้นเป็นอีกหนึ่งไอเดียสำหรับการเคลื่อนไหวของเด็กวัยหัดเดิน รวมถึงการเล่นดนตรี นั่งบนของเล่น และการปั่นจักรยานสามล้อกลางแจ้งและอีกมากมาย

 

การเล่นเพิ่มพัฒนาการ

การเล่นเพิ่มพัฒนาการ

ทำไมการเล่นจึงมีความสำคัญต่อ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว

 

การเล่นเป็นหนึ่งในวิธีหลักที่เด็กเรียนรู้ พัฒนา และเติบโต การเล่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการพัฒนาเด็กวัยหัดเดินของคุณรวมถึงการพัฒนาทักษะทางกล้าวเนื้อของเธออีกด้วย

การเล่นกับเด็กวัยหัดเดินของคุณในแต่ละวันช่วยให้เขาเคลื่อนไหวและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูกของเขาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ดีสำหรับความมั่นใจของเด็กวัยหัดเดิน ในขณะที่เขาทดสอบความสามารถของเขาและค้นพบว่าเขาสามารถปีนป่ายได้สูงขึ้น วิ่งได้เร็วขึ้น และกระโดดได้ตลอดเวลา

 

และเมื่อลูก ๆ ในวัยหัดเดินของคุณได้รับการออกกำลังกายมากมาย และในช่วงระหว่างวันของลูก ๆ ผ่านการเล่น มันเป็นเรื่องที่ดีสำหรับสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขาอีกด้วย

 

  • การเล่นเพิ่มพัฒนาการ การเล่นซ่อนแอบ

ในระหว่างการเล่น จะเป็นการดีหากคุณพ่อคุณแม่พยายามให้เด็ก ๆ ได้ทำการนับเลขมากขึ้นกว่าเดิมในทุกครั้ง เพื่อเป็นการฝึกให้พวกเขาได้รู้จักและลองนับเลขไปในตัว โดยการเล่นนี้ยังฝึกให้พวกเขาได้รู้จักความอดทนอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่อาจจะปรับเปลี่ยนการซ่อนหาตัวคุณกับลูกน้อย เป็นการหาสิ่งของต่าง ๆ แทน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นและอาจจะทำให้กิจกรรมน่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

การเล่นเพิ่มพัฒนาการ

การ เล่น เพิ่ม พัฒนา การ

 

  • การเล่นเพิ่มพัฒนาการ เล่นทายคำศัพท์

การเล่นทายคำศัพท์นั้น เสริมสร้างความจำให้กับเด็ก ๆ เป็นอย่างดี หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดต้องการฝึกความจำให้กับเด็ก ๆ การเล่นทายคำศัพท์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่านำไปประยุกต์ใช้ นอกจากจะได้เกี่ยวกับความจำในการเล่นเกมนี้แล้ว พวกเขายังได้คำศัพท์ใหม่ ๆ ในขณะที่เล่นอีกด้วย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ให้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่างเลยก็ได้ว่า โดยวิธีการเล่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะออกแบบเกมนี้ด้วยตัวเอง คุณอาจจะทำบัตรคำศัพท์ต่าง ๆ หรือเทคนิคส่วนตัวมาประยุกต์ในการเล่นก็ได้เช่นกัน

 

  • กระต่ายขาเดียว

ทำเครื่องหมายเล็ก ๆ ไว้บนพื้นแล้วให้ลูกได้ลองยืนขาข้างเดียวดูว่าจะยืนได้นานแค่ไหนหรือให้ยืนโพสท่าเป็นตัวการ์ตูน ตัวสัตว์นิ่ง ๆ อยู่สัก 30 วินาที เพื่อเป็นการฝึกสมาธิและสมดุล กิจกรรมนี้ใช้ได้ดีกับเด็ก ๆ ที่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้เช่นกัน

 

การเล่นเพิ่มพัฒนาการ

การเล่น เพิ่มพัฒนา การ

 

  • เล่นชักคะเย่อ 

ใช้เชือกความยาวประมาณ 5 เมตรและมัดปมไว้ที่ปลายทั้งสองด้าน ให้คุณพ่อหรือคุณแม่และลูก ๆ จับดึงกันคนละด้าน เพิ่มความท้ายทายขึ้นอีกนิดด้วยการชวนเด็กคนอื่นมาเล่นด้วยกัน

 

  • ถูบ้านทำความสะอาดพื้น

ไม้ถูพื้นจะกลายเป็นของเล่นมหัศจรรย์ของลูกได้ เพราะใช้งานง่ายกว่าการใช้ไม้กวาดและที่ตักผง ลองให้คุณหนูได้ใช้มันทำความสะอาดพื้นภายในบ้าน เพิ่มความสนุกขึ้นอีกนิดโดยการร้องเพลงขณะถูพื้นไปด้วย เด็ก ๆ ที่ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านตั้งแต่เล็ก ๆ เมื่อเติบโตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่าย รู้จักเข้ากับสังคม เข้าใจผู้อื่นได้ดี เป็นคนมีน้ำใจและจิตใจดี เป็นพื้นฐานอันดีที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคตเพราะได้เรียนรู้ความลำบากผ่านประสบการณ์จากการทำงานบ้านมาแล้วในวัยเด็ก

 

การเล่นเพิ่มพัฒนาการ

การเล่น เพิ่ม พัฒนา การ

 

  • เล่นเก้าอี้ขับรถ

เพียงใช้เก้าอี้ตัวเล็ก ๆ หรือรถเข็นของลูกมาสมมติว่าเก้าอี้นี้คือรถ ให้ลูกได้เป็นคนขับเพิ่มความท้าทายด้วยการออกคำสั่งให้ลูกได้รู้จักซ้าย-ขวา อาจเล่นโดยใช้กฎจราจร เช่น “สีเขียว ให้ไป สีแดงให้หยุด” แล้วพลัดกัน แน่ใจได้เลยว่าลูกจะเข้าใจชุดคำนี้แบบสนุก ๆ

 

  • อาบน้ำสนุกในอ่าง

แน่นอนว่าการอาบน้ำจะช่วยชำระล้างกายทำความสะอาดเจ้าตัวน้อยได้ แต่นอกเหนือจากนี้การอาบน้ำยังช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ของลูกน้อยได้ ไม่ว่าจะเป็น การได้ยินเสียงแม่ร้องเพลงหรือเล่านิทาน ที่จะนำไปสู่พัฒนาการด้านการฟังและการเรียนรู้ ให้ลูกน้อยมีคลังคำศัพท์ที่ใหญ่ขึ้น หรือการสัมผัสหรือนวดเบาๆ ถ่ายทอดความรักความอบอุ่นจากคุณแม่โดยตรง ทำให้ลูกรู้สึกอ่อนโยน มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และมีพัฒนาการทางสังคมที่ดีเมื่อโตขึ้น

 

  • ปีนป่ายบันได 

ลูกวัยเตาะแตะจัดเป็นมือวางอันดับหนึ่งในการปีนป่าย แม้ว่าลูกจะยังไม่เข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากได้อยู่ในสายตาพ่อแม่ที่พร้อมจะดูแลเรื่องความปลอดภัยในขณะที่เขากำลังปีนเล่นอย่างใกล้ชิด ตามข้อมูลของนักจิตวิทยาด้านพัฒนาการเด็กได้บอกว่า การปีนป่ายนั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพัฒนาการทักษะทั้งทางการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น และทำให้สมองส่วนที่ควบคุมมือและนิ้วมือ เท้าและนิ้วเท้า รวมถึงสมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อแขนขาทั้งหมดพัฒนาอย่างดี สอดคล้องกับการทำงานของสายตา มีผลต่อการทรงตัวได้ดีขึ้นตามมาด้วย

 

การเล่นเพิ่มพัฒนาการ

การ เล่น เพิ่ม พัฒนาการ

 

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ เป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสมองมีการพัฒนาสูงสุด หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมก็จะมีพัฒนาการเติบโตที่ดี การที่พ่อแม่ได้เล่นกับลูกบ่อย ๆ ได้พูดคุย ได้กอด ได้สัมผัส จัดเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญและสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของสมองของลูกได้ดีจะช่วยให้ลูกเติบโตมาเป็นเด็กที่อารมณ์ดี มีความฉลาด และพัฒนาการในทุก ๆ ด้านที่ดีในอนาคต อย่าลืมแบ่งเวลาคุณภาพส่วนนี้ให้กับเจ้าตัวเล็กกัน

 

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

 

Source : 1

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน

“การเล่นของเด็ก สะท้อนความฉลาด” มาเตรียมความพร้อมให้ลูกรักสดชื่น พร้อมสนุกได้ทั้งวันกันเถอะ

ยิ้มกว้างสุด ๆ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป Pampers ควงแขนแม่จ๋า จัดกิจกรรม ส่งเสริมการเล่นและการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด ของลูกรัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

iamp

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • วิธีการเล่นให้เป็นประโยชน์ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะของเด็ก เล่นอย่างไรให้ดี?
แชร์ :
•••
  • การเล่นเสริมพัฒนาการ ลูก (1-12 เดือน) อยากให้เบบี๋พัฒนาการดี ลูกต้องเล่นอะไร

    การเล่นเสริมพัฒนาการ ลูก (1-12 เดือน) อยากให้เบบี๋พัฒนาการดี ลูกต้องเล่นอะไร

  • เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด eq ดี เพียงพ่อแม่เล่นกับลูกตั้งแต่เล็ก

    เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด eq ดี เพียงพ่อแม่เล่นกับลูกตั้งแต่เล็ก

  • ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

    ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

app info
get app banner
  • การเล่นเสริมพัฒนาการ ลูก (1-12 เดือน) อยากให้เบบี๋พัฒนาการดี ลูกต้องเล่นอะไร

    การเล่นเสริมพัฒนาการ ลูก (1-12 เดือน) อยากให้เบบี๋พัฒนาการดี ลูกต้องเล่นอะไร

  • เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด eq ดี เพียงพ่อแม่เล่นกับลูกตั้งแต่เล็ก

    เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด eq ดี เพียงพ่อแม่เล่นกับลูกตั้งแต่เล็ก

  • ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

    ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป