X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สอนความแตกต่างระหว่างถูกและผิด สอนลูกให้รู้จักแยกแยะได้อย่างไร?

บทความ 5 นาที
สอนความแตกต่างระหว่างถูกและผิด สอนลูกให้รู้จักแยกแยะได้อย่างไร?

พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะปล่อยผ่าน เมื่อลูกแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวหรือทำในสิ่งที่ถูกมองว่าผิด โดยบอกว่าลูกเป็นเพียงแค่เด็ก พ่อแม่รู้สึกว่ามีเวลาอีกมากที่จะสอนลูก ๆ จากความผิดพลาด แต่นั่นไม่เป็นความจริง สองปีแรกของวัยเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งระเบียบวินัย และลักษณะนิสัย หากคุณพ่อคุณแม่ยอมทุกอย่างที่ลูกต้องการ และไม่แก้ไขสิ่งที่ผิด ในที่สุดลูกจะเรียนรู้ว่าการโวยวายและร้องไห้ จะช่วยให้ได้ทุกอย่างที่ต้องการ และก่อนที่คุณจะรู้ตัว การฝึกสอนลูกก็จะเป็นงานที่ยากกว่าที่คุณคิด และนี่คือสิ่งที่ควรคำนึงถึงในขณะที่ สอนความแตกต่างระหว่างถูกและผิด ให้กับลูก

 

สอนความแตกต่างระหว่างถูกและผิด

 

สอนความแตกต่างระหว่างถูกและผิด ให้ลูกรู้จักแยกแยะ

1. บอกให้รู้เมื่อลูกทำถูกต้อง

ถูกต้องแล้ว การสอนเด็ก ๆ จากสิ่งที่ผิด แทนที่จะชี้ว่าลูกผิด ให้เน้นเมื่อลูกทำสิ่งที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกแบ่งปันช็อกโกแลตกับคุณ หรือช่วยหยิบของที่ตก คุณสามารถพูดว่า “ว้าว น่ารักจัง ลูกเป็นเด็กดี” เท่านี้ลูกรู้แล้วว่าพฤติกรรมนี้ ทำให้ทุกคนมีความสุข และลูกจะพยายามทำซ้ำ

 

2. ปฏิบัติตามสิ่งที่สอน

ในการพัฒนาเด็ก การสอนถูกผิดสามารถสอนได้หลายวิธี คำพูดและการกระทำของคุณ คือสิ่งที่เด็กเล็กกำลังจะทำตาม หากคุณเอาแต่บอกลูกว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำ ลูกอาจใช้เวลานานขึ้นเล็กน้อยในการรับรู้ แต่ถ้าคุณแสดงและบอก ลูกจะเข้าใจเร็วขึ้น ถึงคุณค่าต่าง ๆ เช่น ความเมตตา การแบ่งปัน ความเห็นอกเห็นใจ และความอ่อนน้อมถ่อมตน ต้องเริ่มต้นที่ตัวของคุณพ่อคุณแม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : Toxic People คืออะไร สอนลูกอย่างไรไม่ให้เป็นพิษต่อคนอื่น

 

2. มุ่งเน้นไปที่ผลที่ตามมา

เราจะเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ถูกและผิดได้อย่างไร ? สมมติว่าลูกคว้าของเล่นจากเด็กคนอื่น คุณสามารถใช้ตอนนี้เพื่อสอนลูกจากสิ่งที่ผิด แสดงให้ลูกของคุณเห็นว่าเด็กอีกคนกำลังเศร้าและโกรธ ถามลูกว่าลูกคิดว่ามันถูกต้องหรือไม่ ที่จะทำให้คนอื่นเสียใจ เด็ก ๆ รู้สึกผิดพอ ๆ กับผู้ใหญ่ ดังนั้นสิ่งนี้จะสอนลูกโดยอัตโนมัติให้ระวังการกระทำของตนเองมากขึ้น

 

4. รู้ว่าเมื่อใดควรเพิกเฉยต่อลูก

บางครั้งเด็ก ๆ ก็แสดงเจตนาเพื่อดึงดูดความสนใจของคุณเท่านั้น คุณต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรเพิกเฉยกับพฤติกรรมนี้ เด็กเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างถูกและผิดเมื่อใด บางครั้ง การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมแย่ ๆ อาจเป็นวิธีที่ได้ผลในการหยุดพฤติกรรมนั้น ตราบใดที่ลูกไม่ได้ทำสิ่งที่น่ากลัวหรืออันตราย คุณก็เพิกเฉยได้ ในที่สุดลูกจะเรียนรู้ว่าไม่มีใครให้ความสนใจ และจะหยุดทำสิ่งนั้น

 

5. ตั้งใจฟัง

ให้ความสนใจว่าทำไมลูกของคุณถึงทำอะไรผิด บางทีลูกอาจจะอิจฉา บางทีลูกอาจจะรู้สึกไม่ได้ยินดี หรือบางทีลูกอาจจะไม่รู้ว่ามันผิด นั่งลงและอธิบายด้วยคำพูดที่ลูกจะเข้าใจ ว่าสิ่งที่ลูกทำจะทำให้ลูกเดือดร้อน เข้าใจมุมมองของลูกและที่มาของพฤติกรรม และอย่าทำให้ลูกรู้สึกถูกทอดทิ้ง นั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักสำหรับพฤติกรรมที่ไม่ดี

 

สอนความแตกต่างระหว่างถูกและผิด

 

อายุเท่าไหร่ที่ควรสอนลูกให้รู้ถูกผิด

นักจิตวิทยาชาวสวิส กล่าวว่าในช่วงสี่ปีแรกของชีวิต เด็ก ๆ อยู่ในช่วงก่อนศีลธรรม ในขั้นนี้ลูกจะเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ถูกและผิด ผ่านการตอบสนองของผู้ใหญ่ต่อการกระทำของลูก พัฒนาการด้านศีลธรรมของเด็กนั้นเริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิด เพราะการดูแลเอาใจใส่จะสร้างความไว้วางใจ

 

5 ปีแรกของเด็กเป็นรากฐานของพฤติกรรมทางจริยธรรมและศีลธรรม เมื่อเด็กเติบโตและเป็นผู้ใหญ่ ลูกเริ่มเข้าใจถูกและผิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัวคนอื่น ๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการนี้ และนี้เป็นวิธีที่จะช่วยให้ลูกพัฒนา “สติปัญญา” ทางศีลธรรมตั้งแต่แรกเกิด

 

อายุ 0-1 ปี

ทารกเรียนรู้สิ่งที่ถูกผิดผ่านประสบการณ์ เมื่อทารกหิว ไม่สบายตัว หรือเหงา จะรู้สึกอึดอัด กลัว และไม่สบายใจ เมื่อผู้ใหญ่ให้การดูแลเอาใจใส่ ทารกจะรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของทารกอย่างรวดเร็ว รวมถึงการกินอาหาร การอุ้ม การร้องเพลง การอ่าน การพูดและการมีปฏิสัมพันธ์ พ่อแม่จะช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัย ทำให้มีผลต่อการเรียนรู้ด้านศีลธรรม เมื่ออายุเกิน 1 ขวบ เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ เริ่มสื่อสารความรู้สึกและความชอบ เริ่มพัฒนาความเข้าใจบางอย่างว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ

 

อายุ 1-3 ปี

ลูกวัยหัดเดินจะเริ่มเข้าใจแนวคิดของกฎต่าง ๆ และสามารถเริ่มตอบสนองได้อย่างเหมาะสม หากได้รับคำสั่งไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ลูกจะเริ่มตระหนักว่าคนอื่นมีความรู้สึก และความต้องการ แต่อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กวัยนี้ ที่จะควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ

 

ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กอายุ 18 เดือนอยากได้ของเล่น ลูกมักจะแย่งไปจากเด็กคนอื่น ในขั้นตอนนี้ เด็กยังไม่มีความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งที่ถูกและผิดด้วยตนเองอย่างแท้จริง ลูกจะรอให้คุณเป็นคนบอกว่าถูกหรือผิด และช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าอะไรคือ "ถูกต้อง" หรือพฤติกรรมที่ยอมรับได้ นี่คือเวลาที่จะพูดคุยและสอนลูกผ่านความที่ใจดีแต่หนักแน่น ยุติธรรม และสอดคล้องกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง? เช็กเลย! แบบนี้โตตามเกณฑ์ชัวร์

 

อายุ 4-5 ปี

แทนที่จะเป็นเพียงการชี้นำจากผู้ใหญ่ เด็กก่อนวัยเรียนเริ่มพัฒนาแนวคิดของตนเองเกี่ยวกับสิ่งถูกและผิด ตามสิ่งที่ลูกเรียนรู้ในครอบครัว ด้วยความสามารถในการเข้าสังคมที่เพิ่มขึ้น และความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความรู้สึกและสิทธิของผู้อื่น "ความฉลาดทางศีลธรรม" ก็พัฒนาขึ้นเช่นกัน

 

วัยนี้เด็ก ๆ เริ่มพัฒนาความรู้สึกยุติธรรมที่แข็งแกร่งและตระหนักในพฤติกรรมที่ยอมรับได้ ด้วยการใช้ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน การพูดคุยและสอนให้ลูกแสดงความรู้สึกของตัวเอง ลูกจะรู้จักความเห็นอกเห็นใจ และด้วยวิธีง่าย ๆ นี้ กำลังหล่อเลี้ยงจรรยาบรรณของลูก ด้วยการอดทน อดกลั้น เสมอต้นเสมอปลาย และมีความใจดี ผู้ปกครองต้องเสนอแนวทางเชิงบวกให้กับลูก โดยกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน ความคาดหวัง และสอนถึงผลที่ตามมา

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

 

อายุ 7-10 ปี

ในช่วงวัยแห่งการพัฒนานี้ เด็ก ๆ เริ่มตั้งคำถามกับพ่อแม่ ครู หรือบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลกับตัวลูก ลูกจะแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ที่มีความยุติธรรม และรู้วิธีที่จะรับผิดชอบ ลูกเคารพอำนาจและไม่รู้สึกว่าถูกคุกคาม เพราะอำนาจให้ความปลอดภัยแก่ลูก ลูกสามารถเห็นผลกระทบต่อสังคมผ่านประสบการณ์ทางสังคม เด็กส่วนใหญ่ในวัยนี้เชื่อว่าควรเชื่อฟังพ่อแม่ และเชื่อว่าหากทำผิดก็ควรแก้ไข

 

เด็กวัยนี้มีความรู้สึกยุติธรรมสูง เข้าใจถึงความจำเป็นของกฎ และชอบมีส่วนร่วมในการสร้างกฎ ดังนั้น ควรพูดคุยเกี่ยวกับ 'กฎของครอบครัว' และวิธีที่ลูกสามารถมีส่วนร่วมได้ในเชิงบวก เด็กระหว่าง 7-10 ปีเริ่มเชื่อว่าเป็นที่ยอมรับได้ และเริ่มแยกแยะว่าอะไรเป็นประโยชน์กับตัวเองมากที่สุด

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ความรู้สึกยุติธรรมนี้ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมเพื่อประโยชน์ของลูกได้ เช่น “ได้ แม่จะพาลูกไปเล่นที่บ้านเพื่อน ถ้าลูกตกลงที่จะจัดห้องนอนให้สะอาด” การทำข้อตกลงเหล่านี้สมเหตุสมผลกับเด็กวัยนี้

 

เทคนิคเหล่านี้รวมถึงเทคนิคอื่น ๆ อีกมากมายสามารถช่วยให้คุณพาลูกไปถูกทางได้ตั้งแต่อายุยังน้อย คุณจะทึ่งกับความคิดของเด็ก ๆ การมีส่วนร่วมกับลูกในกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนาน และการปล่อยให้ลูกเรียนรู้บางสิ่งด้วยตนเอง สามารถช่วยให้คุณสอนเด็ก ๆ ได้อย่างถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

3 นิทานพื้นบ้านภาคใต้ หลากหลาย สอนลูกได้ด้วยนิทานสั้น ๆ

นิทานหนูน้อยหมวกแดง อ่านให้ลูกฟัง สอนลูกอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า

สอนลูกให้เชื่อฟัง ต้องทำยังไง อยากให้ลูกคิดเป็น มีเหตุผล ไม่ต่อต้านพ่อแม่

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanjana Thammachai

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • สอนความแตกต่างระหว่างถูกและผิด สอนลูกให้รู้จักแยกแยะได้อย่างไร?
แชร์ :
  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

    ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

  • เด็กเลือดออก วิ่งหกล้มแล้วเลือดออก ควรรับมือยังไงบ้าง?

    เด็กเลือดออก วิ่งหกล้มแล้วเลือดออก ควรรับมือยังไงบ้าง?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

    ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

  • เด็กเลือดออก วิ่งหกล้มแล้วเลือดออก ควรรับมือยังไงบ้าง?

    เด็กเลือดออก วิ่งหกล้มแล้วเลือดออก ควรรับมือยังไงบ้าง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ