X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ ควรมีค่าเท่าไหร่ มีวิธีตรวจวัดยังไง ระดับไหนอันตราย

บทความ 5 นาที
ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ ควรมีค่าเท่าไหร่ มีวิธีตรวจวัดยังไง ระดับไหนอันตราย

ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ จะบอกได้ว่าคนท้องมีโอกาสเป็นเบาหวานหรือไม่ เพราะว่าปัญหาที่คนท้องส่วนใหญ่พบเจอก็คือเรื่องของเบาหวานนั่นเอง สาเหตุที่ทำให้คนท้องเป็นเบาหวานได้ง่ายก็มาจากฮอร์โมนในรก เพราะว่ารกจะคอยสร้างฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ก็ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเองค่ะ

 

ลักษณะอาการของคนเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์

เวลาที่คนท้องเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะแทบไม่แสดงอาการออกมาเลย เพราะบางครั้งก็มีอาการคล้ายกับคนท้องปกติ เช่น กินอาหารเก่ง หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอจะทำการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นประจำอยู่แล้วหากคุณแม่เข้ารับการตรวจครรภ์ตามปกติ

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • มีน้ำหนักตัวเกินขนาด
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  • มีพ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน
  • มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
  • เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้

 

ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ ค่า น้ํา ตาล ปกติ ใน หญิง ตั้ง ครรภ์ ควรมีค่าเท่าไหร่ มีวิธีตรวจวัดยังไง ระดับไหนอันตราย

 

ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ เบาหวานปกติเท่าไร

ค่าน้ำตางปกติในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนมากจะทำเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้อายุ 24 - 28 สัปดาห์ โดยมีวิธีการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น ดังนี้

  1. ให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม
  2. ตรวจเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลกลูโคสไป 1 ชั่วโมง

โดยค่าระดับน้ำตาลปกติ คือ คุณแม่จะต้องมีค่าน้ำตาลอยู่ที่ต่ำกว่า 140 mg/dl หากผลการตรวจออกมาแล้วคุณแม่ได้ค่าน้ำตาลอยู่ที่ 140 - 199 mg/dl คุณหมออาจนัดมาตรวจวินิจฉัยเบาหวานอีกครั้ง แต่ถ้าผลออกมาแล้วได้ค่าน้ำตาลอยู่ที่ 200 mg/dl คุณหมอจะวินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เลยค่ะ

กรณีที่คุณหมอนัดมาตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง คุณหมอจะทำการตรวจวัด ดังนี้

  • ให้คุณแม่งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืนวันก่อนมาตรวจวินิจฉัย
  • ตรวจเลือดครั้งที่ 1
  • กินน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม แล้วตรวจเลือด
  • ดื่มน้ำตาลกลูโคสอีก 3 ครั้ง แล้วตรวจเลือด

ซึ่งค่าน้ำตาลปกติในหญิงตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลปกติของคุณแม่ในแต่ละครั้งคือ 95,180 , 155,140 mg/dl หากผลการตรวจน้ำตาลออกมาแล้วมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป คุณหมอจะวินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่ะ

สำหรับค่าระดับน้ำตาลปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 95 mg/dl (ก่อนรับประทานอาหาร) และไม่เกิน 140 mg/dl หลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมงค่ะ

 

ขั้นตอนการตรวจระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ 

ซักประวัติ 

  • ประวัติคนในครอบครัวว่ามีใครเป็นเบาหวานหรือไม่ 
  • ประวัติความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เช่น คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม มีประวัติทารกตายคลอด หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ 

ตรวจร่างกาย 

  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย
  • ตรวจครรภ์พบว่าครรภ์ใหญ่กว่าปกติ หรือพบครรภ์แฝดน้ำ 
  • ตรวจพบความผิดปกติของระบบต่าง ๆ จากเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ 

ตรวจทางห้องปฏิบัติการ 

  • ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ 
  • ตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยวิธี OGTT 

 

กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นเบาหวาน 
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักมาก 
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ 
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน 

 

ความเสี่ยงจากเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์ 

  • ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราการผ่าตัดคลอดอาจจะเพิ่มขึ้น 
  • ภาวะทารกตัวโต ในที่นี้หมายถึง ทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดในแม่ ซึ่งมักเกิดในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ทำให้น้ำตาลในทารกสูงด้วยไปกระตุ้นให้ตับอ่อนสร้างอินสุลินมากขึ้น 

 

วิธีควบคุมอาหารสำหรับคนท้องที่เป็นเบาหวาน 

  1. รับประทานอาหารหลัก 3 มื้อและอาหารว่าง 3 มื้อ
  2. รับประทานในแต่ละมื้อให้มีปริมาณใกล้เคียงกัน
  3. รับประทานอาหารเป็นเวลา ไม่รับประทานจุกจิก
  4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  5. สามารถใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยนสลับไปมา ในแต่ละหมวดของอาหารเพื่อป้องกันการจำเจ
  6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

ดูแลเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์ 

เมื่อพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แนะนำให้พบนักกำหนดอาหาร โดยให้รับประทานอาหารจำพวกโปรตีน ลดอาหารจำพวกแป้ง เพิ่มการรับประทานไฟเบอร์ เพิ่มการรับประทานนม นอกจากกนี้ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังอาหาร โดยระดับน้ำตาลก่อนอาหารควรน้อยกว่า 95mg/dL และหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลควรน้อยกว่า 120 mg/dL เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลัง 

 

ที่มา: 1

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ : 

เบาหวานประเภท 2 สัญญาณเริ่มต้นของโรคเบาหวานประเภท 2 คืออะไร?

เบาหวานขึ้นตา รวมทุกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเบาหวานขึ้นตา สาเหตุ วิธีรักษา

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยเงียบที่ต้องระวัง ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องได้

 

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ ควรมีค่าเท่าไหร่ มีวิธีตรวจวัดยังไง ระดับไหนอันตราย
แชร์ :
  • โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

    โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

  • กินน้ำตาลได้แค่ไหนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์

    กินน้ำตาลได้แค่ไหนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

    โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

  • กินน้ำตาลได้แค่ไหนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์

    กินน้ำตาลได้แค่ไหนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ