X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม เรามีคำตอบ

บทความ 5 นาที
อสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม เรามีคำตอบ

สำหรับคุณผู้ชายหลายคนอาจประสบปัญหากับอาการแปลก ๆ อสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด และคงกำลังสงสัยว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร มีความอันตรายมากน้อยแค่ไหน จะรักษาให้หายได้อย่างไร และจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก บทความนี้จะให้คำตอบ และคลายความกังวลให้กับคุณเอง

 

ลักษณะของอสุจิที่เป็นปกติ

โดยทั่วไปเราจะเห็นเชื้ออสุจิได้จากการหลั่งหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือการฝันเปียกของผู้ชาย โดยลักษณะทั่วไปจะเป็นสีขาวข้น หรืออาจเป็นสีอื่นแตกต่างไปนิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วยตัวอสุจิ, น้ำหล่อลื่น  และสารหล่อเลี้ยง หากมองด้วยตาเปล่าจะคล้ายกับเจลปริมาณประมาณ 3-4 cc ในการหลั่งเพียง 1 ครั้งจะประกอบไปด้วยอสุจิมากถึง 300 – 500 ล้านตัว

บทความที่เกี่ยวข้อง : หนุ่มๆสงสัย วิธีบํารุงสเปิร์ม? บำรุงสเปิร์มยังไง 10 อาหารบำรุงสเปิร์ม!

 

วิดีโอจาก : churakchuros

 

อสุจิเป็นเลือดเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับเพศชายทุกวัย และจะมีปัจจัยด้านร่างกายที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของอาการนี้มากขึ้นในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยปัจจัยที่สามารถตรวจพบได้มีดังนี้

 

  • การตันของท่ออสุจิ : หากท่อที่ทำหน้าที่ในการขับน้ำอสุจิเกิดอาการตัน จะส่งผลให้เส้นเลือดบริเวณท่อเกิดการขยายตัวมากกว่าปกติ และอาจแตกออกได้ในที่สุด อาการตันของท่ออสุจินี้เกิดได้จาก โรคต่อมลูกหมากที่โตจนส่งผลกระทบกับท่อของอสุจินั่นเอง
  • เกิดจากการได้รับอาการบาดเจ็บ : อาจเกิดการบาดเจ็บจนส่งผลให้เส้นเลือดในส่วนของอวัยวะเพศ เกิดอาการฉีกขาดทั้งจากการได้รับอุบัติเหตุ, การกระแทกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง, การผ่าตัด แม้แต่การมีเพศสัมพันธ์ก็อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ จนมีเลือดปนออกมากับน้ำอสุจิ ทำให้กลายเป็นสีน้ำตาลได้นั่นเอง
  • หลอดเลือดมีความผิดปกติ : บริเวณอวัยวะเพศมีส่วนประกอบเป็นเส้นเลือดอยู่หลายเส้น หากบริเวณหลอดเลือดได้รับความเสียหายจนเกิดความผิดปกติจะทำให้มีเลือดออกมาปนอสุจิได้เช่นกัน นอกจากอาการบาดเจ็บแล้ว ยังสามารถเกิดจากอาการอักเสบจากการเป็นโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย
  • ผลกระทบจากโรคร้าย : โรคเลือดไม่หยุด, โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก, นิ่วในทางเดินปัสสาวะ, โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, วัณโรคทางเดินปัสสาวะ และโรคเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น โรคเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับระบบทางเดินปัสสาวะ และอาการ อสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด ก็เป็นหนึ่งในอาการของโรคเหล่านี้ที่สามารถสังเกตได้
  • การมีเพศสัมพันธ์ : นอกจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บแล้ว การมีเพศสัมพันธ์อย่างผิดวิธี หรือไม่ได้ทำการป้องกันอย่างถูกต้องจะทำให้เสี่ยงเกิดโรคได้ เช่น โรคหนองในแท้, โรคหนองในเทียม,  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, โรคต่อมลูกหมากอักเสบ และหูดหงอนไก่ เป็นต้น โรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการอักเสบ และมีเลือดออกมาได้เช่นกัน

 

จะเห็นได้ว่าโดยมากแล้วมักเป็นผลกระทบจากโรคต่าง ๆ เสียมากกว่า เมื่อเป็นโรคใดโรคหนึ่งที่ส่งผลต่อระบบปัสสาวะ จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีอาการ อสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด มากขึ้น และอีกปัจจัยหนึ่งที่รองลงมาคือ การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง และไร้การป้องกัน

 

อสุจิเป็นเลือดอันตรายมากแค่ไหน และควรพบหมอหรือไม่

ด้วยความที่อาการดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ หากจะให้บอกว่าอันตรายมากน้อยแค่ไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่ามีอาการมาจากสาเหตุใดมากกว่า หากเป็นผลกระทบจากการผ่าตัด หรืออาการบาดเจ็บจะทำให้อาการนี้เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งสามารถหายได้เอง ในขณะเดียวกันหากมีอาการอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย ในจุดนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และทำการรักษาขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

 

  • อายุไม่เกิน 40 ปี : มีโอกาสพบกับปัจจัยจากโรคได้น้อย เนื่องจากร่างกายยังคงสมบูรณ์อยู่ มักมาจากสาเหตุอื่น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ มักพบอาการเลือดออกแล้วหายไป หากอาการไม่กลับมาก็ไม่จำเป็นต้องมีความกังวล
  • อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป : ความเสี่ยงที่พบมักเกิดจากโรคบริเวณทางเดินปัสสาวะเป็นส่วนมาก ยิ่งอายุมากขึ้น และไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ แต่พบอาการดังกล่าว ควรเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อหาโรคร้ายที่ทำให้เกิดอาการทันที เพื่อให้ตรวจพบได้เร็ว และรักษาได้ทันเวลา

 

การรักษาอสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด

หลังจากเข้าพบแพทย์ และได้รับการวินิจฉัยจนพบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแล้ว แพทย์จะรักษาจากสาเหตุเหล่านั้นด้วยการให้ยา หรือวิธีอื่นที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ หากสามารถรักษาโรคต้นทางได้แล้ว จะสามารถส่งผลให้อาการเลือดออกหายไปด้วยในเวลาต่อมา โดยการรักษาอาจมีความแตกต่างกันในช่วงอายุของคุณผู้ชาย เนื่องจากหากอายุยังน้อยส่วนมากอาการเหล่านี้มักไม่เกี่ยวกับโรคจึงจะสามารถหายได้เอง หรือทำการรักษาโดยใช้เวลาไม่นานนั่นเอง

 

อสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด 2

 

การป้องกันไม่ให้เกิดอาการอสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด

การป้องกันเบื้องต้นคือการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่ทำให้เกิดอาการนี้ ยิ่งดูแลสุขภาพมากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงน้อยลงได้ แม้จะมีอายุมากกว่า 40 ปี แล้วก็ตาม

 

  • หากพบว่ามีอาการเหล่านี้หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ ควรหยุดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน เพื่อดูอาการ และเป็นการทำให้อาการอักเสบที่เกิดขึ้นบรรเทาลงไปก่อน
  • มีเพศสัมพันธ์ด้วยความระมัดระวังไม่รุนแรงจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงอาการอักเสบ และต้องป้องกันทุกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากโรค
  • ผ่อนคลายตนเอง หากมีความเครียดมากเกินไป เพราะจะส่งผลต่อร่างกาย และความดันโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นในการเกิดโรคร้ายชนิดอื่น ๆ
  • ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานพักผ่อนให้เพียงพอไม่ควรนอนน้อยจนเกินไป หมั่นทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • พยายามสังเกตอาการของตนเอง ว่ามีอาการผิดปกติที่เป็นความเสี่ยงโรคทางเดินปัสสาวะอีกหรือไม่ หากพบอาการให้เข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยไว้
  • หากมีอาการผิดปกติไม่ควรซื้อยามาทาเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากหากใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะไม่สามารถรักษาได้แล้ว ยังอาจทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงได้

 

ถึงแม้ความเสี่ยงของอาการดังกล่าวจะพบได้มากในเพศชายวัย 40 ปี ขึ้นไป นั่นไม่ได้หมายความว่าวัยรุ่นทั่วไปจะไม่พบอาการนี้ หากมีการดำเนินชีวิตประจำวันที่มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นไม่ต่างจากคนวัย 40 ปี ด้วยเช่นกัน

 

บทความที่น่าสนใจ

การเก็บตัวอสุจิจากอัณฑะโดยตรง เพื่อรักษาภาวะมีลูกยาก

วิธีทําให้น้ําอสุจิออกเยอะๆ ทำยังไง? วิธีบำรุงสเปิร์ม ทำให้อสุจิแข็งแรง

อยากได้ลูกชายหรือลูกสาว มีเทคนิคยังไง ต้องขยันแบบไหนถึงจะติด

 

ที่มาข้อมูล : 1 2

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อสุจิเป็นวุ้น อสุจิเป็นเลือด เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม เรามีคำตอบ
แชร์ :
  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ