คุณแม่และคุณสามีควรรู้ คลอดลูกเองที่บ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ยังมีคุณผู้หญิงอีกหลายคนที่อยากจะให้กำเนิดลูกน้อยที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล บทความนี้จะให้เหตุผลว่าคุณควรหรือไม่ควรที่จะเลือกคลอดลูกเองที่บ้าน
คุณแม่และคุณสามีควรรู้ คลอดลูกเองที่บ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร

คุณแม่ และคุณสามีควรรู้ คลอดลูกเองที่บ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร
สมัยก่อน ผู้หญิงมักจะคลอดลูกเองที่บ้าน แต่ด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การคลอดลูกเองที่บ้าน จึงไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป โดยคุณหมอจะแนะนำ ให้มาคลอดที่โรงพยาบาลหรือถ้าเป็นต่างจังหวัด ก็อาจจะเป็นที่สถานีอนามัยแทน แต่ก็ยังมีผู้หญิงอีกหลาย ๆ คนที่ต้องการคลอดลูกเองที่บ้านมากกว่า
เมื่อใดที่จะคลอดลูกเองที่บ้านได้
การคลอดที่บ้านเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงที่
- มีครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความเสี่ยงต่ำ
- มีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ที่มีผ่านการอบรมและมีประสบการณ์คอยดูแล
- วางแผนห้องและจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ไว้พร้อมใช้งาน
- บ้านที่จะใช้เป็นสถานที่คลอดตั้งอยู่ใกล้โรงพยาบาล เผื่อในกรณีฉุกเฉิน จะได้ส่งตัวคุณแม่ไปยังโรงพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็ว

วางแผนห้อ งและจัดเตรียม เครื่องมือเครื่อง ใช้ต่าง ๆ ไว้พร้อมใช้งาน
เมื่อใดที่ไม่ควรคลอดลูกเองที่บ้าน
ในทางกลับกัน การคลอดลูกเองที่บ้านไม่แนะนำสำหรับคุณผู้หญิงที่
- เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง
- ไม่มีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ ที่มีผ่านการอบรมและมีประสบการณ์คอยดูแล
- คิดว่าไม่สามารถทนอาการปวดท้องคลอดได้
- เคยมีประสบการณ์ในการคลอดที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกไม่กลับหัวหรือมีส่วนนำเป็นก้น
- มีประวัติการผ่าคลอดหรือการผ่าตัดมดลูก
- คู่สมรสไม่สนับสนุนการคลอดที่บ้าน

สามารถให้ นมลูกได้ทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ ยอดเยี่ยมทั้ง สำหรับลูกน้อย และตัวคุณแม่เอง
ข้อดีของการคลอดลูกเองที่บ้านสำหรับคุณแม่ที่อายุไม่มาก
- ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและผ่อนคลาย แวดล้อมไปด้วยครอบครัวและเพื่อน ๆ
- สามารถเลือกอยู่ในภาวะแวดล้อมที่ต้องการได้ จึงสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดครั้งนี้ได้มากกว่า
- มีอิสระเต็มที่ ในการทำให้ตนเองรู้สึกสบายอย่างที่ต้องการ
- ได้อยู่สบาย ๆ ในบ้านของตัวเอง
- ไม่ต้องเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ได้รับความใส่ใจดูแลจากพยาบาลผดุงครรภ์มากกว่าในโรงพยาบาล
- มีความรู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นในการเป็นคุณแม่มากขึ้น
- เกิดความผูกพันใกล้ชิดกับลูกน้อยทันที
- สามารถให้นมลูกได้ทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมทั้งสำหรับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง
- ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการคลอดที่โรงพยาบาล
ความเสี่ยง
ก่อนที่จะตัดสินใจคลอดลูกเองที่บ้าน คุณจะต้องพิจารณาถึงข้อด้อยต่าง ๆ ได้แก่
- ถ้าคุณทนการเจ็บท้องคลอดไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว คุณจะไม่มีทางเลือกที่จะขอบล็อกหลัง
- หากเกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น เช่น อาการเหนื่อยอ่อนจากการคลอด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทารกอยู่ในภาวะเครียด สายสะดือพลัดต่ำ หรือมีการตกเลือด คุณจะต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- ครอบครัว เพื่อน ๆ และคุณหมออาจไม่เห็นด้วยหรือไม่สนับสนุนความคิดนี้
- คุณต้องเป็นผู้ตัดสินใจ หรือเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดที่บ้านเองทุกอย่าง
- อาจไม่มีความเป็นส่วนตัวเนื่องจากครอบครัวและเพื่อน ๆ อาจเข้ามายุ่งกับการคลอด

คุณควรมี แผนสำรอง ที่จะช่วยให้ การพาคุณ ส่งโรงพยาบา] ใกล้บ้านเป็นไปได้ เร็วขึ้น
ทำอย่างไรจึงปลอดภัย
เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะคลอดลูกเองที่บ้าน สิ่งที่คุณจะต้องพิจารณา และเตรียมพร้อมเพื่อความปลอดภัยได้แก่
- จ้างพยาบาลผดุงครรภ์ที่ได้รับใบอนุญาต พร้อมสูติแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการทำคลอดที่บ้าน สัมภาษณ์นางพยาบาลที่จะมาช่วยดูแลการคลอดของคุณ ทำความรู้จักกับเธอและขอคำแนะนำ ในการเตรียมรับมือกับอาการเจ็บท้องคลอดและเรื่องอื่น ๆ ที่คุณอาจต้องทราบ
- เตรียมแผนสำรอง ในกรณีที่เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น คุณควรมีแผนสำรองที่จะช่วยให้การพาคุณส่งโรงพยาบางใกล้บ้านเป็นไปได้เร็วขึ้น
- เตรียมหากุมารแพทย์ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้คุณหมอมาดูลูกน้อยของคุณได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ดีและไม่มีปัญหาใด ๆ
- เตรียมอุปกรณ์และข้าวของที่จำเป็นสำหรับการคลอด นอกเหนือจากเครื่องมือที่พยาบาลผดุงครรภ์จะนำมาแล้ว คุณจะต้องสอบถามด้วยว่าคุณควรจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
หากคุณกำลังตั้งครรภ์และพิจารณาการคลอดที่บ้านอยู่ ขอให้คุณชั่งน้ำหนักให้ดี ระหว่างข้อดีและข้อด้อยของการคลอดแบบนี้ ไม่มีใครบอกได้ว่า อะไรดีที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือการตัดสินใจของคุณ จะมีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกน้อย
ที่สุดในชีวิต กับการคลอดลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้ง ด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่า ควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไร ให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Med Thai.com – การคลอดฉุกเฉิน (คลอดกระทันหัน) รับมืออย่างไร ?
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
22 สิ่ง ที่ควรทำ ในเดือนสุดท้าย เช็คลิสต์ก่อนคลอด มีอะไรบ้าง ไม่ควรพลาด
5 สารอาหาร ที่คนท้องควร ได้รับก่อนคลอด สำคัญอย่างไร มีสารอาหาร อะไรบ้าง
ท้องแก่สามารถ ปั๊มนมก่อนคลอด ได้ไหม ปั๊มนมให้ลูกก่อน เป็นอันตราย หรือเปล่า