X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โควิดทำให้เด็ก ๆ ทำร้ายตัวเองเวลาโมโห ! คุณแม่ต้องระวัง !

บทความ 5 นาที
โควิดทำให้เด็ก ๆ ทำร้ายตัวเองเวลาโมโห ! คุณแม่ต้องระวัง !

ช่วงโควิด เด็กหลายคนซึมเศร้า หดหู่ เพราะไม่ได้ออกไปสนุกสนาน หรือใช้ชีวิตเหมือนอย่างเคย

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่โควิดระบาด หลาย ๆ คนยังคงไม่กล้าออกไปใช้ชีวิต และคุณแม่หลาย ๆ รายเอง ก็คงกลัวที่จะให้ลูกออกไปเล่นข้างนอก ช่วงที่โควิดระบาดแบบนี้ เด็ก ๆ หลายคนเกิดอาการซึมเศร้า เพราะไม่ได้ออกไปพบปะ หรือทำกิจกรรมโปรดเหมือนอย่างเคย เมื่อไม่นานมานี้ มีผลสำรวจจากต่างประเทศ ที่เผยว่า เด็กกำลังโต ทำร้ายตัวเองเวลาโมโห เพิ่มมากขึ้น เพราะโควิด theAsianparent Thailand ก็เลยจะมาเล่าให้ฟังว่า พฤติกรรมของเด็ก ๆ เหล่านี้ เกิดจากอะไร และเราเองในฐานะคนเป็นแม่ ควรดูแลสุขภาพจิตของลูก ๆ อย่างไรหากเกิดเหตุการณ์นี้

 

การทำร้ายตัวเอง คืออะไร

การทำร้ายร่างกายตัวเอง ถือเป็นพฤติกรรมหนึ่ง ที่เกิดจากการที่คน ๆ หนึ่งทำร้ายตัวเองให้ได้รับบาดเจ็บโดยไม่มีเหตุผล เพราะเชื่อว่าการทำร้ายตัวเอง จะช่วยผ่อนคลายอารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ๆ ซึ่งอารมณ์ที่ว่านี้ อาจจะเป็นอารมณ์เครียด อารมณ์โกรธ หรืออารมณ์เศร้าก็ได้ โดยปกติ การทำร้ายตัวเองจะเริ่มจากการรู้สึกแย่ ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม จนนำไปสู่อาการแพนิคและทำร้ายตัวเอง หลังจากทำร้ายตัวเองเสร็จ ก็จะรู้สึกผ่อนคลายจากอารมณ์นั้น ๆ และกลับมารู้สึกแย่กับตัวเองอีกครั้ง เป็นแบบนี้ วนไปเรื่อย ๆ

 

การทำร้ายตัวเอง แบ่งออกได้กี่ประเภท

การทำร้ายร่างกายตัวเอง แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น การใช้ของมีคมกรีดตามร่างกายตัวเอง การเผาตัวเอง รวมไปถึงการฝังตัวเอง เป็นต้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ชอบทำร้ายตัวเอง มักจะเลือกกรีดร่างกายตัวเอง ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ก็มักจะเลือกวิธีกินยาเพื่อให้ตัวเองทรมานแต่ไม่ถึงกับตาย ส่วนเด็กเล็กหรือเด็กวัยกำลังโต ก็มักจะดึงผมตัวเอง ทำให้ร่างกายมีรอยขีดข่วน หรือดึงทึ้งตัวเอง นอกจากนี้ คนที่ชอบทำร้ายตัวเอง อาจชอบตี ทำร้าย กัด หรือต่อยคนอื่น ๆ ไปทั่วด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นการทำร้ายตัวเองโดยทางอ้อม

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กก้าวร้าว หยาบคาย โมโหร้าย พ่อแม่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กแบบนี้หรือเปล่า?

 

 

โควิดกับสุขภาพจิตของเด็ก เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง

หลาย ๆ เดือนที่ผ่านมา มีผลสำรวจชี้ว่า โควิดเป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคนหนุ่มสาว แถมยังทำให้เด็ก ๆ ที่กำลังโต และวัยรุ่น ทำร้ายตัวเองเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ เด็ก ๆ ยังมีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมเสี่ยง ๆ อย่างอื่นด้วยเช่นกัน จากงานวิจัย พบว่าเด็กมากกว่า 47% พยายามทำร้ายตัวเองและมีความคิดว่าอยากฆ่าตัวตาย รวมทั้งในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2563 ก็ยังพบว่า เด็กประถมบางกลุ่ม พยายามทำร้ายร่างกายตัวเองโดยตั้งใจอีกด้วย

 

หากเราได้ดูข่าวจากหลาย ๆ มุมของโลก ก็จะเห็นว่ามีเด็กมากมาย ที่ต้องสูญเสียพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวจากโควิด และเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น เด็ก ๆ จึงไม่สามารถรับมือกับความสูญเสียและความเสียใจของตัวเองได้ ทั้งนี้ เด็กหลาย ๆ คน ก็อาจจะถูกตราหน้า หรือถูกรังเกียจจากคนในสังคม หากคนในครอบครัวเด็กติดโควิด หรือตัวเด็กเองเคยติดโควิดมาก่อน ซึ่งก็อาจทำให้เด็กเครียดสะสมจนทำร้ายตัวเองในที่สุด

 

ทำไมเด็กถึงทำร้ายตัวเอง

สาเหตุที่เด็กทำร้ายตัวเองนั้น อาจมาจากการที่เด็กไม่สามารถจัดการกับอารมณ์หรือความรู้สึกของตัวเองได้ ไม่มีใครให้ระบาย หรือไม่มีที่พึ่ง เด็กจึงเชื่อว่าการทำร้ายตัวเองจะช่วยแก้ปัญหาได้ ทั้งนี้ เด็กก็อาจคิดด้วยว่าตัวเองสามารถรับมือกับความเจ็บปวดทางร่างกายได้ดีกว่าความเจ็บปวดทางด้านอารมณ์ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า เด็กวัยรุ่นบางคนที่ทำร้ายตัวเองจนได้รับบาดเจ็บนั้น รู้สึกดี เพราะการทำให้ตัวเองเจ็บ ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองยังมีชีวิตอยู่ ยังรู้สึกรู้สาได้เหมือนคนทั่วไป รวมทั้งการทำร้ายตัวเอง ยังทำให้เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงอารมณ์ของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น

 

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กทำร้ายตัวเอง

เด็ก ๆ อาจเลือกทำร้ายตัวเองเพื่อรับมือกับอารมณ์เครียด โกรธ โมโห หรืออารมณ์เศร้า ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเกิดมาจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ หรือไม่ ก็อาจเกิดจากการที่เด็กมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ พ่อแม่ หรือคนที่ตัวเองสนิท

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

ทำร้ายตัวเองตอนโมโห4

ทำร้ายตัวเองเวลาโมโห เด็ก ทำร้ายตัวเอง ลูก ทำร้ายตัวเอง รับมือยังไง (ภาพโดย lookstudio)

การที่เด็กทำร้ายตัวเองมากขึ้นในช่วงโควิดนั้น ก็อาจเป็นไปได้ว่า ในช่วงโควิดระบาด เด็กต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตแบบใหม่ ต้องเรียนออนไลน์ที่บ้าน ไม่ได้ออกไปเจอเพื่อน ๆ ไม่ได้ออกไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมที่ตัวเองเคยทำ เด็กจึงเครียด เกิดอารมณ์ซึมเศร้า จนรับมือกับอารมณ์ไม่ไหว ท้ายที่สุด จึงเลือกที่จะทำร้ายตัวเองนั่นเอง

 

สังเกตยังไงเมื่อลูกกำลังจะทำร้ายตัวเอง

ให้คุณพ่อคุณแม่หมั่นสังเกตลูก ๆ ว่ามีนิสัยหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหรือไม่ หากเด็ก ๆ เริ่มโมโหง่าย อารมณ์ฉุนเฉียว มีรอยช้ำตามร่างกาย ตามตัวมีแผล นิสัยการกินและนิสัยการนอนเปลี่ยนไป หรือชอบเก็บตัวเงียบ ให้ตั้งข้อสังเกตหรือข้อสงสัยเอาไว้ก่อนได้ ว่าอาจมีบางสิ่งเกิดขึ้นกับลูกของเรา เด็กที่ทำร้ายตัวเองบ่อย ๆ มักเป็นเด็กที่รู้สึกว่าตัวเองต้อยต่ำ และสิ้นหวัง หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าน้อง ๆ มีพฤติกรรมข้างต้นนี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจอย่างเด็ดขาดนะคะ

 

เมื่อลูก ๆ ทำร้ายตัวเอง พ่อแม่ควรทำอย่างไร

หลังจากเราสังเกตเห็นพฤติกรรมที่แปลก ๆ ของลูกแล้ว แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือดังต่อไปนี้ได้ค่ะ

 

  • อย่าตื่นตระหนกเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกตกใจได้
  • เข้าพูดคุยกับลูก โดยให้ลูกเป็นฝ่ายพูดมากกว่า และพ่อแม่ควรเป็นผู้รับฟังที่ดี
  • ถามลูก ๆ ว่าลูกต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ และคอยอยู่ข้างลูกเมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือ
  • ค่อย ๆ ถามว่าทำไมลูกถึงทำร้ายร่างกายตัวเอง มีใครชวนให้ทำ หรือเห็นใครทำมาหรือไม่ หากเด็กบอกว่าเห็นมาจากอินเทอร์เน็ต ให้คุณพ่อคุณแม่พยายามกันลูกออกจากการใช้อินเทอร์เน็ตไปก่อน
  • แสดงความเห็นอกเห็นใจลูก เพื่อให้ลูกอุ่นใจว่ายังมีคนที่เข้าใจเขา
  • ไม่ปฏิบัติตัวกับลูกแปลกไป ให้ใช้ชีวิตตามปกติ
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าสอบถามหรือขอคำแนะนำจากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้

 

อย่างไรก็ตาม วิธีรับมือที่เราเลือกใช้ อาจแตกต่างกันออกไปตามความสนิท อายุเด็ก เพศเด็ก หรือความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูก ๆ ซึ่งการพูดคุยกับเด็ก ๆ ในช่วงแรกอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่ก็ให้ค่อย ๆ พูดคุยและจัดการความรู้สึกของลูก สถาบันครอบครัว คือ สถาบันหลักที่สำคัญสำหรับเด็ก ๆ เพราะฉะนั้น เราควรแสดงให้ลูกเห็น ว่าไม่ว่าจะยังไง เราก็อยู่ข้างลูก ๆ ของเราเสมอนะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

โรคซึมเศร้า คืออะไร เป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ หรือไม่? แล้วมีอาการเป็นอย่างไร!!

ล้อเลียน ! ทำร้ายจิตใจเด็ก ! 6 เรื่องที่คุณไม่ควรนำมาล้อเด็ก ๆ ไม่ดี อย่าทำ

7 พฤติกรรมพ่อแม่ทำร้ายลูก เตือนพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกในทางที่ผิด ระวังลูกเสียคน!!

ที่มา : 1 , 2 , 3

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • โควิดทำให้เด็ก ๆ ทำร้ายตัวเองเวลาโมโห ! คุณแม่ต้องระวัง !
แชร์ :
  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ