7 พฤติกรรมพ่อแม่ทำร้ายลูก มีอะไรบ้าง
7 พฤติกรรมพ่อแม่ทำร้ายลูก พ่อแม่ลองนึกดูว่า ตอนที่คุณอยู่กับลูก เวลาลูกดื้อ เวลาที่สอนลูก หรือ เวลาที่ลูกทำผิดคุณทำอย่างไรกับลูก แล้วลองมาดูกันว่า สิ่งที่คุณได้ทำกับลูกไปนั้น เข้าข่ายพฤติกรรมที่ทำร้ายลูก บ้างหรือเปล่า มาลองเช็กกันเลยค่ะ
1. ปล่อยให้ลูกหลีกหนีความรับผิดชอบ
เด็กจำเป็นต้องถูกปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบ พ่อแม่อย่าคิดว่าลูกเป็นเด็กทำอะไรก็ไม่ผิด เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกเกิดความเคยตัว และไม่รู้จักรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองกระทำไป แม้แต่เรื่องเล็กๆ อย่างการไม่ยอมเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ ไม่ยอมทิ้งขยะให้ถูกที่ หรือไม่ยอมถอดเสื้อผ้าลงในตะกร้าผ้าให้เป็นที่เป็นทาง พฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าพ่อแม่ฝึกฝนบ่อยๆ ลูกน้อยก็จะซึมซับและก็เข้าใจว่าทั้งหมดคือหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง รู้ถึงความสามารถ และสิ่งที่ตนเองควรกระทำค่ะ
2. ไม่ยอมปล่อยให้ลูกน้อยรู้จักผิดพลาด
บางครั้งความผิดพลาดอาจเป็นประสบการณ์หรือครูที่ดีสำหรับลูกน้อยได้ เข้าใจว่าพ่อแม่หลายคนมักจะเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการลูก คอยเข้าไปช่วยลูกอยู่ตลอดเวลา แต่การทำแบบนั้นจะทำให้ลูกไม่ได้พยายามด้วยตัวเองก่อน เมื่อลูกเคยชินกับสิ่งนี้บ่อยๆ เขาก็จะไม่ทำอะไรด้วยตัวเอง แต่จะร้องขอและรอคอยความช่วยเหลือจากคนอื่นทั้งๆ ที่ตัวเองก็ทำเองได้ หากเป็นไปได้แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปล่อยให้ลูกน้อยได้ลองทำอะไรด้วยตัวเองก่อนจะดีกว่าค่ะ ยกเว้นแต่ว่าลูกพยายามแล้วยังไม่สามารถทำได้ ให้คุณเข้าไปช่วยพร้อมแนะนำวิธีการด้วย
7 พฤติกรรมพ่อแม่ทำร้ายลูก
3. ปล่อยให้ลูกแสดงอารมณ์มากเกินไป
สำหรับพ่อแม่บางคนมองว่าการที่เด็กร้องไห้ แสดงอารมณ์โวยวาย ร้องกรี๊ด เห็นแล้วก็อดสงสารลูกไม่ได้อยากจะเข้าไปปลอบประโลมลูก อยากไปโอ๋ลูก พฤติกรรมของพ่อแม่เหล่านี้อาจทำให้ลูกสงบลงจริงแต่อาจส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และการเห็นคุณค่าในตัวเองของลูกน้อยในอนาคตได้ ทางที่ดีพ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเองจะดีกว่าค่ะ โดยอธิบายว่าตอนนี้ลูกม่อารมณ์อย่างไร เช่น หนูกำลังโมโหอยู่ใช่ไหม หรืออาจบอกว่าลูกกำลังโกรธอยู่ ลูกต้องไม่แสดงพฤติกรรมแบบนี้ออกมานะ ต้องใจเย็นๆ เป็นต้นค่ะ
4. แสดงความคิดด้านลบออกมา
การที่พ่อแม่บอกกับลูกซ้ำๆ เช่น “แม่ไม่สามารถซื้อรองเท้าใหม่ๆ ให้ลูกได้ เพราะบ้านเรามีพื้นฐานครอบครัวที่ไม่ดีเหมือนคนอื่น” คำพูดนี้พ่อแม่บางคนอาจมองว่าก็ควรบอกลูกแบบนี้ถูกแล้ว ใช่ค่ะ การที่พ่อแม่พูดแบบนี้ลูกจะได้เข้าในสถานะทางครอบครัวของตนเอง แต่พ่อแม่ควรจะสอนลูกเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และแรงผลักดันให้กับลูกในอนาคตเพิ่มขึ้นด้วย โดยการพูดกับลูกในเชิงบวกต่อ เช่น “…แต่เราสามารถประหยัดเงินส่วนนั้นเพื่อเก็บเงินซื้อรองเท้าให้ลูกได้นะ หรืออาจบอกว่า “ถ้าลูกอยากได้ก็ต้องเก็บเงินซื้อ” เป็นต้นค่ะ เพื่อที่เด็กจะได้มีทางเลือกเช่นเดียวกัน
พฤติกรรมพ่อแม่ทำร้ายลูก
5. ปกป้องลูกมากเกินไป
การที่พ่อแม่คอยปกป้องลูกถือว่า เป็นเรื่องปกติ แต่ การที่พ่อแม่ปกป้องมากเกินไป เช่น พอเห็นลูกทำผิดก็ไม่ยอมรับว่าลูกทำผิด หรือคิดว่าลูกฉันเป็นเด็กน่ารัก เป็นเด็กดี แต่แท้จริงแล้วคนอื่นกลับไม่คิดเช่นนั้น พฤติกรรมแบบนี้ เหมือนเป็นการให้ทายลูก ซึ่งพอลูกโตขึ้นลูกจะกลายเป็นเด็กที่ไม่รู้จักถูกผิด และไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้น พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้เผชิญความจริงบ้างถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่คุณอาจจะยอมรับไม่ได้ค่ะ
6. ความหวังกับลูกสูงเกินไป
พ่อแม่มักต้องการให้ลูกเป็นเด็กอย่างที่ตัวเองคาดหวัง บางคนหวังว่าลูกต้องเก่ง ต้องสอบเข้าโรงเรียนดีๆ ได้ พอคาดหวังมากก็กดดันกับลูกมากเกินไป ถึงแม้ว่าบางครั้งลูกอาจจะทำดีแล้วแต่ก็ยังไม่ดีพอสำหรับพ่อแม่ ทำให้ลูกยิ่งกดดันต่อสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังขึ้นไปเอง จนสุดท้ายเด็กขาดความมั่นใจในตัวเองในที่สุด เพราะสิ่งที่เด็กทำมันดีแล้วแต่พ่อแม่กลับคิดว่ามันยังไม่ดีอย่างที่ต้องการค่ะ ซึ่งการที่พ่อแม่ตั้งเป้าหมายให้ลูกมันเป็นเรื่องที่ดี แต่เป้าหมายนั้นต้องเป็นเป้าที่ตกลงร่วมกัน ไม่ใช่แค่ของพ่อแม่เพียงอย่างเดียว
7. ลงโทษลูกโดยใช้ความรุนแรง
เด็กยังมีความซุกซน ยังต้องลองผิดลองถูก และ ต้องเรียนรู้อีกมากมาย หากพ่อแม่เห็นว่าลูกทำผิดแล้วโมโหลูก ทำโทษด้วนการตี การด่าทอด้วยอารมณ์โมโห หรือ โกรธอย่างรุนแรงเป็นสิ่งที่อาจทำให้เด็กกลัว หรือ หยุดพฤติกรรมไม่ดีได้ก็จริง แต่บางครั้ง เด็กมักจะมีคำถามเสมอว่า ตัวเองทำอะไรผิด ผิดยังไงไม่เข้าใจ ทำไมต้องตีขนาดนี้ ซึ่งพ่อแม่ควรเปลี่ยนมาใช้ วิธีการลงโทษแบบเชิงบวกดีกว่า เช่น ให้ลูกเข้ามุมเมื่อลูกทำผิด หรือ ลงโทษลูกด้วยการให้เวลาเล่นน้อยลง เป็นต้นค่ะ เพื่อที่ เด็กจะได้ไม่เกิดความเคยชินกับความรุนแรงและกลายเป็นการต่อต้านได้
ที่มา: cnbc
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
16 กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กเล็ก เกมสำหรับเด็กที่พ่อทำเองได้ ไม่ต้องเสียเงิน
งานบ้านพัฒนาสมองกว่าการบ้าน ฝึกสมองลูกให้ฉลาด มีวินัย สร้างระเบียบด้วยการช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่ เด็กไทยต้องแบกความคาดหวังของพ่อแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!