โรคไข้รากสาดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่อาจอยู่รอบตัวคุณ และในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ ผู้คนมักนิยมท่องเที่ยว กางเต๊นท์ เดินป่า รับลมหนาว ชมหมอกสวย ๆ แต่ท่ามกลางบรรยากาศดี ๆ เหล่านั้น อาจมีเชื้อแบคทีเรียของ โรคไข้รากสาดใหญ่ อาศัยอยู่ก็เป็นได้
โรคไข้รากสาดใหญ่ คืออะไร?
โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือ โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ซึ่งมีไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค โดยไรอ่อนนี้มักจะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือ ทุ่งหญ้าต่าง ๆ เมื่อคนเราได้รับเชื้อ อาจทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ โรคไข้รากสาดใหญ่ ยังมักเกิดการแพร่ระบาดในแถบชนบท และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น
![โรคไข้รากสาดใหญ่](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2022/01/shutterstock_1161162673-300x200.jpg?width=700&quality=95)
สาเหตุของการเกิดโรคไข้รากสาดใหญ่
สาเหตุของโรคไข้รากสาดใหญ่ คือ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่ในกลุ่ม ริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ที่มีชื่อว่า โอเรียนเทีย ซูซูากมูชิ (Orientia Tsutsugamushi) โดยมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คน โดยการกัดผิวหนังของคน ซึ่งตัวไรอ่อน มักจะพบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ และจะพบมากในพุ่มไม้ ในทุ่งหญ้า หรือ ป่าละเมาะ และสามารถแพร่กระจายได้ดีในช่วงฤดูฝน
อาการของโรคไข้รากสาดใหญ่
เมื่อถูกตัวไรอ่อน ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค จะใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน จะพบว่า มีอาการไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น ไอ ตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย บริเวณที่ถูกตัวไรอ่อนกัด อาจพบผื่นแดง นูน หรือ มีขนาดใหญ่ขึ้น และอาจพบแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ ซึ่งสามารถหายได้เองในบางราย แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น อาการปอดอักเสบ สมอง และเยื้อหุ้มสมองอักเสบ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยโรคไข้รากสาดใหญ่
อาการของโรคไข้รากสาดใหญ่ จะมีอาการคล้ายคลึงกับหลาย ๆ โรค ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรค จะต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับตนเอง
เมื่อผู้ป่วยพบแพทบ์ แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยแยกโรคได้ และอาจต้องทดลองในห้องปฏิบัติการ อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์จึงจะทราบผล ดังนั้น แพทย์จะเริ่มต้นรักษา โดยอาจวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
- การตรวจน้ำเหลือง (Serological Test) เป็นการตรวจในห้องทดลอง เพื่อเป็นนำผลมายืนยันต่อการวินิจฉัย
- การตรวจภูมิคุ้มกัน (Complement-Fixation) สามารถตรวจหาเชื้อได้แบบรวมทั้ง 5 สายพันธุ์ แต่อาจไม่สามารถระบุแยกได้ ว่าเป็นเชื้อจากสายพันธุ์ใด
- การตรวจ IFA (Indirect Immunofluorescence Antibody) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจหาเชื้ออีกวิธีหนึ่ง
- การตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อ ด้วยการตรวจหาจากเนื้อเยื่อของผื่นที่ผิว หรือ ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
![โรคไข้รากสาดใหญ่](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2022/01/shutterstock_1141297325-300x200.jpg?width=700&quality=95)
การป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่
เนื่องจากโรคไข้รากสาดใหญ่นี้ ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ ทำให้คนเรายังมีโอาสที่จะเสี่ยงติดเชื้อ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และสร้างการป้องกันได้ ดังนี้
- สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ที่มีการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บริเวณที่มีพืช และ พื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยพุ่มไม้ หรือ ต้นไม้ขนาดเล็ก เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของตัวไรอ่อน
- ใช้ยากันแมลง ที่มีส่วนผสมของสารต้านตัวไรอ่อน หรือ สาร DEET 20-30% ในแบบที่ใช้ได้กับทั้งเสื้อผ้า และผิวหนัง และควรใช้ตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัดเท่านั้น
- ใช้สารเพอร์เมทริน ทาลงบนเสื้อผ้า หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น รองเท้า เสื้อ หรือ อุปกรณ์ตั้งแคมป์ต่าง ๆ ซึ่งสารเพอร์เมทรินนี้ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าตัวไรอ่อน แม้เราจะทำการซักผ้าแล้ว สารเหล่านั้นก็ยังคงชวยป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม ควรอ่านฉลาก และรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และไม่ควรให้สารเพอร์เมทรินมาสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง เพราะสารนี้ เหมาะสำหรับการใช้บนเสื้อผ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่านั้น
วิธีป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่สำหรับเด็ก
- ให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด ที่สามารถปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้ผ้าบาง ๆ ระบายอากาศได้ดี คลุมรถเข็นเด็ก และ เตียงนอนที่มุ้งด้วยที่กันยุงอีกที
- ไม่ควรใสช้สารไล่แมลง หากเด็กมีอายุต่ำกว่า 2 เดือน
- ระมัดระวังไม่ให้สารไล่แมลงสัมผัสมือ ตา หรือ ปาก ของเด็ก รวมถึงบริเวณผิวหนังที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
โรคไข้รากสาดใหญ่ สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ หากไม่นำตนเองไปอยู่ในจุดที่เสี่ยง ที่อาจมีตัวไรอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องเดินทางไปในที่ที่มีโอกาสเสี่ยงการระบาดของโรค ควรป้องกันตนเองอยางเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการติดโรค
ที่มาข้อมูล pobpad siphhospital
บทความที่น่าสนใจ
ไข้เลือดออก คืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เป็นภัยร้านหน้าฝนที่ควรระวัง!!
หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?
โรคหัด คืออะไร อันตรายไหม หากลูกเป็นโรคหัดควรทำอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!