X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

บทความ 5 นาที
หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

หัดเยอรมัน โรคหัดเยอรมันจะมีความคล้ายกับ โรคหัด (Measles Rubeola) โดยที่มักจะมีอาการออกผื่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตเหมือนกัน แต่เป็นการคิดเชื้อไวรัสคนละชนิดแล้วก็ยังมีความรุนแรงของโรคมากกว่า โดยทั้งนี้ในประเทศไทยอาจจะมีชื่อเรียกอื่นว่า โรคเหือด หรือว่าโรคหัด 3 วัน และโรคนี้ก็ยังสามารถที่จะพบได้ทั้งตัวเด็กหรือผู้ใหญ่เองก็เช่นกัน

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565

 

หัดเยอรมัน

อาการของโรค หัดเยอรมัน

อาการที่สามารถจะสังเกตเห็นได้ในช่วงแรกค่อนข้างที่จะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลังจากที่ได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วันผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการดังนี้

  • มีไข้ต่ำ หรือปานกลาง (ประมาณ37-38 องศาเซลเซียส)
  • มีต่อมน้ำเหลืองโต ที่เป็นโดยเฉพาะบริเวณลำคอ ท้ายทอย หรือหลังหู
  • มีตุ่มนูน และมีผื่นแดงขึ้นที่บนใบหน้าก่อนแล้วค่อย ๆ ที่จะลามลงตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ เช่น แขน ขา และจะค่อย ๆ หายไป โดยที่ผื่นมักจะมีลักษณะกระจายอยู่บนลำตัว ไม่กระจุกหรือขึ้นเป็นกลุ่ม และเมื่อไหร่ที่ผื่นหายไม่ค่อยทิ้งรอยแผลจากผื่นทิ้งไว้ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการคันตามผิวหนังร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะ
  • ไม่ค่อยอยากกินอาหาร หรือเบื่ออาหาร
  • เยื่อบุของตามีอาการอักเสบ จนทำให้ตาแดง
  • คัดจมูก มีน้ำมูกไหล
  • ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ตามร่างกายมีอาการบวม
  • ปวดตามข้อ และข้อต่อบวม

แต่อย่างไรก็ตามแล้ว ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการของโรคเลยก็ว่าได้ อาการของโรคนั้นถ้าหากว่าเกิดขึ้นกับเด็กจะมีความร้ายแรงน้อยกว่า เมื่อเกิดกับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน ทั้งนี้แล้วอาการของโรคนี้จะอยู่ไม่นานประมาณ 3-5 วัน ยกเว้นในกรณีที่มีต่อมน้ำเหลืองมาอาการบวมอาจจะเป็นอยู่นานกว่าปกติ ดังนั้น หากว่าพบอาการคล้ายกันกับที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นนั้นก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์อาจจะส่งผ่านเชื้อไปยังลูกน้อยที่อยู่ภายในครรภ์ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคที่มากับหน้าฝน มีอะไรบ้าง มาดูวิธีรับมือและป้องกันลูกน้อยจากโรคเหล่านี้กัน!!

 

สาเหตุของ โรค หัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน เกิจากเชื้อของไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า รูเบลล่า ไวรัส ที่มีอยู่ในน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วย ซึ่งสามารถที่จะแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายมากด้วยการที่จาม ไอ สูดเอาเชื้อที่อยู่บริเวณของอากาศ เมื่อมีอาการที่ติดต่อกับผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสชนิดนี้ โดยรวมไปถึงการใช้สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากผู้ที่ป่วย หากว่าเป็นสตรีที่กำลังตั้งครรภ์จะสามารถที่จะส่งผ่านเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้ลูกน้อยในครรภ์ได้โดยทางกระแสเลือดนั้นเอง

ระยะของการฟักตัวของโรคจะอยู่ในช่วง 15-24 วัน โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 16-18 วัน ผู้ป่วยก็สามารถที่จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ตั้งแต่ที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกายถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกไป จนถึงหลังอาการของผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและหายได้โดยประมาณ 2-3 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคโปลิโอ มีอาการอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร?

 

หัดเยอรมัน

การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน

หากว่าแพทย์กำลังสงสัยว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ทำให้เกิด โรคหัดเยอรมัน ในขั้นตอนแรกจะมีการสอบถามข้อมูลเบื้องต้น และตรวจร่างกายภายนอกทั่ว ๆ ไป เช่น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ตรวจตามร่างกายว่ามีผื่นขึ้นไหม มีการติดต่อหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้หรือไม่ จากนั้นก็จะมีการตรวจน้ำลาย และตรวจเลือดเพื่อช่วยยืนยันของผลการติดเชื้ออีกครั้งหนึ่ง

 

การรักษาของโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันยังไม่มีวิธีการรักษาในแบบเฉพาะเจาะจง แต่ก็เป็นวิธีการรักษาตามอาการเป็นหลักโดยทั่วไปแล้วอาการของโรคจะไม่ค่อนรุนแรงมาก และมักจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน แพทย์อาจจะให้มีการรักษาได้เอง จากที่บ้าน เพื่อที่จะช่วยบรรเทาอาการขึ้นได้

ในบางรายที่มีไข้ขึ้นสูง แพทย์ให้ให้รับประทานยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาไอบูโปรเฟน หรือยาไทลินอล เพื่อช่วยให้ไข้ลดลง บรรเทาอาการปวด หรือปวดเมื่อย แต่ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี อาจจะต้องให้รับประทานยาที่เป็นพาราเซตามอลชนิดน้ำไปก่อน และก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน หรือต้องปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยา หากว่าอาการของไข้ไม่ลดอาจจะต้องทำการเช็ดตัวร่วมด้วยเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง

นอกจากนี้แล้วอาจจะเป็นการดูแลตนเองทั่ว ๆ ไป ซึ่งแพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยในแต่ละราย เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกัน ภาวะขาดน้ำ และบรรเทาอาการไอ รวมไปจนถึงควรมีการหลีกเลี่ยงสัมผัสผู้ที่ติดเชื่ออาจจะส่งผลทำให้อาการแย่ลง ทั้งนี้แล้วควรมีการหยุดเรียน หรือทำงานไปก่อนสักระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่ผู้อื่น

หากว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นหญิงตั้งครรภ์ แพทย์อาจจะให้รักษาด้วยการให้สารภูมิต้านทานที่เรียกว่า ไฮเปอร์ฮีมูน กลอบูลิน เพื่อที่จะใช้ในการต้านไวรัส และบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้น แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับเชื้อจากคุณแม่ได้ อาจจะต้องมีการพบแพทย์เป็นระยะควบคู่ไปด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : คางทูม อาการเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคคางทูมมาจากอะไร?

 

ภาวะแทรกซ้อนของหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันเป็นโรคการติดต่อด้วยเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง และจะไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมาก เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคหัดเยอรมันแล้วหรือได้รับการฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม จะทำให้มีภูมิต้านทางของโรคนี้ตลอดชีวิต แต่สำหรับบางรายก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคข้ออักเสบที่นิ้ว ข้อมือ ข้อเท้า และหัวเข่าที่พบเฉพาะในผู้หญิงอาจจะมีอาการอยู่ประมาณ 1 เดือน การติดเชื้อที่ใบหูจนกลายเป็นหูน้ำหนวก การอักเสบของสมองจนพัฒนาเป็นโรคไข้สมองอักเสบ หรืออาจจะเป็นโรคหัดเยอรมัน ตั้งแต่กำเนิดทารกเมื่อแม่ติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์

 

การป้องกัน โรคหัดเยอรมัน

โดยโรคหัดเยอรมันสามารถที่จะป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงในการคลุกคลีกับผู้ป่วย ซึ่งมันมีความเสี่ยงต่อการที่จะรับเชื้อมาได้โดยง่าย และก็ควรจะมีการฉีดวัคซีนโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า วัคซีนรวมเอ็มเอ็มอาร์ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้นเอง

ในตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขจะมีการฉีดวัคซีนรวม เอ็มเอ็มอาร์ ทั้งหมด 2 เข็ม โดยที่เริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กอายุระหว่าง 9-12 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2.5 ปี แต่ในบางรายอาจจะมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น เดินทางไปต่างประเทศ อยู่ในพื้นที่มีการระบาด หรือสัมผัสกับโรค แพทย์อาจจะให้คำแนะนำฉีดวัคซีนเร็วขึ้นภายใน 6 เดือนแรก และเข็บที่ 2 ภายในอายุ 2 ปี แต่ก็ควรที่จะมีระยะห่างของวัคซีนเข็มแรก และเข็มที่ 2 ประมาณ 3 เดือน

 

บทความอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง 

คอตีบคืออะไร โรคคอตีบมีอาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุเกิดมาจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่

โรคท้องร่วง อาการเป็นยังไง? วิธีดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคท้องร่วง

โรคฮีโมฟีเลีย hemophilia คืออะไร อันตรายอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกันรักษา

 

แหล่งที่มา : (1)

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

chonthichak88

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?
แชร์ :
  • หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไร

    หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไร

  • 5 อาการแทรกซ้อนแบบนี้ไม่ดีแน่แม่ท้องต้องระวัง

    5 อาการแทรกซ้อนแบบนี้ไม่ดีแน่แม่ท้องต้องระวัง

  • 9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

    9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไร

    หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไร

  • 5 อาการแทรกซ้อนแบบนี้ไม่ดีแน่แม่ท้องต้องระวัง

    5 อาการแทรกซ้อนแบบนี้ไม่ดีแน่แม่ท้องต้องระวัง

  • 9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

    9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ