โรคโปลิโอ เป็นโรคติดต่อที่สามารถทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งอาจจะไปทำลายระบบประสาทจนส่งผลเสียให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถที่จะเป็นอัมพาตได้ แล้วก็หายใจลำบากอีก หรืออาจจะถึงแก่ความตายได้เลย โดยส่วนใหญ่แล้วที่เชื้อโปลิโอจะสามารถที่จะแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยที่ผ่านการรับเชื้อที่ถูกขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระเข้าสู่ทางปาก
ในประเทศไทยของเรานั้นไม่พบผู้ป่วยที่เป็น โรคโปลิโอ มาหลายปีแล้ว โดยที่พบรายล่าสุดก็ปี พ.ศ. 2540 แต่ในเด็กทุกคนก็ยังคงจะต้องฉีดวัคซีนตามมาตราการ กวาดล้างโรคโปลิโอร่วมกับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เนื่องจากโปลิโอเป็นโรคที่ร้ายแรงมากเพราะสร้างความสูญเสียทั้งด้านร่างกายและเศรษฐกิจอีกด้วย และในปัจจุบันนี้ประเทศไทยก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกับโรคนี้ เพราะมีอาณาเขตที่ติดกับประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคโปลิโอ เช่น พม่า ลาว ที่พึ่งจะพบเชื้อโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2558 นี้เอง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคโปลิโอสามารถที่จะแบ่งออกเป็นได้ตามอาการดังนี้
กลุ่มที่ไม่แสดงอาการ หรือกลุ่มที่อาการคล้ายกับเป็นหวัด
พบได้ในปริมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการออกมาเล็กน้อยคล้าย ๆ กับอาการเป็นหวัด หรืออาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาเลย โดยระหว่างที่ติดเชื้อ ร่างกายของเราก็สามารถที่จะต่อสู้ และกำจัดเชื้อออกไปได้โดยที่ผู้ป่วยยังไม่ทันได้ทราบเลยว่าได้รับเชื้อของโรคโปลิโอ
กลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
พบได้ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ จะมีอาการคล้ายโรคหวัดร่วมกันกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสที่อยู่มาแล้วประมาณ 3-21 วัน และสามารถที่จะหายเองได้ โดยอาจจะแสดงอาการออกมาได้ดังนี้
- มีไข้
- เจ็บคอ
- อาเจียน
- ปวดศีรษะ/หัว
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- อาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง คอ แขน ขา
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บ ฟกช้ำ
- อาการของเยื่อหุ้มของสมองอักเสบ เช่น มีอาการมึนงง สับสน ปวดศีรษะมาก
อาการที่เป็นหลังจากเกิดโรคโปลิโอ
เป็นอาการที่อาจจะกลับมาเกิดได้กับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อไวรัสโปลิโอในช่วงประมาณ 30 ปีขึ้นไป หลังจากที่ติดเชื้อในครั้งก่อน โดยอาการทั่วไปมีอยู่ดังนี้
- อาการเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมาก
- มีความอดทนต่ออากาศหนาวน้อยลง
- มีภาวะซึมเศร้า หรืออาการแปรปรวน
- มีปัญหาเกี่ยวกับประบบประสาทส่วนกระบวนการเรียนรู้ เช่น ด้านความทรงจำ และด้านสมาธิ
- มีปัญหาทางด้านการกลืน หรือการหายใจ
- ความผิดปกติทางด้านการหายใจที่เกี่ยวกับเรื่องการนอนหลับ เช่น ภาวะของการหยุดหายใจไปในชั่วขณะ
- มีความอ่อนเพลียเล็กน้อย หรือมีอาการเมื่อยล้าตามเนื้อตัว
- กล้ามเนื้อของแขนขาผิดรูป โดยเฉพาบริเวณของสะโพก ข้อเท้า และเท้า
- ข้อต่อหด
- กล้ามเนื้อหดตัว หรือมีการลีบลง
- กล้ามเนื้อ หรือข้อต่อมีความอ่อนแรกมากขึ้นเรื่อย ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคหืดหอบในเด็ก อีกหนึ่งอันตราย ที่คุณแม่ควรเฝ้าระวังและเตรียมวิธีรับมือให้ลูกน้อยได้ทันท่วงที
สาเหตุที่ก่อให้เกิด โรคโปลิโอ
โรคโปลิโอเกิดจากไวรัสโปลิโอ ที่อาศัยอยู่ภายในร่างกายของคนเราเท่านั้น โดยไวรัสชนิดนี้ติดออกมาได้จากอุจจาระของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโปลิโอ หรือ การไอ จาม และการแพร่กระจายผ่านทางการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมาในอาหารหรือน้ำที่เรารับประมานเข้าไป นอกจากนี้แล้วการที่สัมผัสกับผู้ป่วนที่เป็นโรคนี้โดยตรงก็มีโอกาสได้รับเชื้อเหมือนกัน
ไวรัสโปลิโอจะนำเชื้อเดินทางเข้าสู่ปาก ผ่านส่วนของลำคอ ลำไส้แล้วจึงเริ่มที่จะสร้างจำนวนของไวรัสเพิ่ม หรือในบางกรณีก็สามารถที่จะเข้าสู่กระแสเลือดได้ และก็จะแพร่เข้าสู่ระบบของประสาทในที่สุด โดยจะสามารถที่จะแพร่กระจายจากผู้ป่วยได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มจะมีอาการแสดงไปจนถึงหลาย ๆ สัปดาห์ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา ก็ยังสามารถที่จะเป็นพาหะแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโปลิโอได้อีกด้วย
การให้วัคซีนก็เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคของโปลิโอได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่าในประเทศไทยจะไม่พบผู้ป่วยโรคนี้แล้วก็ตาม ผู้ที่ไม่รับการฉีดวัคซีนโปลิโอนั้นยิ่งมีความเสี่ยงต่อการคิดเชื้อและหากว่าอยู่ในภาวะเหล่านี้
- ทำงานในห้องปฏิบัติการที่สัมผัสใกล้ชิดกับไวรัส
- ผู้ที่ผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออกแล้ว
- เดินทางไปในพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโปลิโอ หรือผู้ที่ได้รับเชื้อมาแล้วไม่นาน
- เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโปลิโอ
- หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเด็กเล็ก
- มีความเครียดสะสม หรือกิจกรรมที่ใช้แรงหนักหลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?
การวินิจฉัยของโรคโปลิโอ
โดยที่แพทย์ได้วินิจฉัยว่าโรคโปลิโอด้วยการที่ได้สอบถามอาการกับทางผู้ป่วยว่ารู้สึกเจ็บบริเวณที่หลัง และคอ หรือมีปัญหาทางด้านการกลืน หรือการหายใจอยู่หรือไม่ และตรวจดูปฏิกิริยาสะท้อนกลับของโรค รวมไปจนถึงการตรวจทางด้านน้ำเหลือง โดยการเก็บตัวอย่างในช่วงระยะเฉียบพลัน และระยะของการแฝของโรค ตรวจสารภูมิคุ้มกัน LGM หรือ LGG นอกจากนี้แล้วเพื่อที่ยจะเป็นการยืนยันให้แน่ใจอาจจะมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโปลิโอ ด้วยการที่เก็บตัวสารคัดหลั่งจากลำคอ อุจจาระ หรือที่น้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลังส่งตรวจโดยที่ห้องปฏิบัติการจะทำการตรวจต่อไป
การรับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ
การรักวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ทารกจะต้องเข้ารับวัคซีนชนิดแบบฉีดเมื่ออายุครบ 4 เดือน และเข้ารับวิธีแบบหยดจนครบ 5 ครั้ง ดังนี้
- ครั้ง ที่ 1, 2, 3 เมื่อมีอายุครบ 2, 4 และ 6 เดือน
- ครั้งที่ 4 เมื่อมีอายุครบ 1.5 ปี
- ครั้ง ที่ 5 เมื่อมีอายุครบ 4 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคที่มากับหน้าฝน มีอะไรบ้าง มาดูวิธีรับมือและป้องกันลูกน้อยจากโรคเหล่านี้กัน!!
การรักษาของโรคโปลิโอ
ในปัจจุบันนั้นโรคโปลิโอยังไม่มีวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาด แพทย์สามารถที่จะให้การรักษาตามอาการ เร่งการฟื้นตัว และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเท่านั้น โดยที่อาจจะให้ผู้ป่วยได้นอนพักผ่อน และให้ยาบรรเทาอาการปวด ให้รับประทานอาหารบำรุงร่างกาย และออกกำลังกายในท่าที่เบา ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ก้ามเนื้อสูญเสียการทำงาน และมีรูปร่างที่ผิดปกติ หรือในบางรายอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมไปด้วย
ในกรณีที่เกิดปัญหาในระยะยาวจากการติดเชื้อโปลิโอ ผู้ป่วยอาจจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องมีการทำกายภาพบำบัดเพื่อที่จะช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรืออาจจะต้องใช้อุปกรณ์ร่วมด้วย เช่น เฝือก หรืออุปกรณ์ช่วยพยุงแขนขาที่อ่อนแรง รวมไปถึงกิจกรรมบำบัดช่วยปรับการเคลื่อนไหวที่แสนจะยากลำบาก และเป็นไปได้ที่จะต้องผ่าตัดเพื่อจะแก้ไขข้อต่อที่ผิดรูปต่อไป
อย่างไรก็ตามนั้น อาการหลังการรักษาของโรคโปลิโอจะดีขึ้นมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับระดับของความสูญเสียที่ร่างกายได้รับจากเชื้อโปลิโอ ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเล็กน้อยอาจจะมีผลรักษาที่ดีขึ้น แต่อาการหลังการรักษาอาจจะแย่ลง หากว่าผู้ป่วยอยู่ในขั้นแสดงอาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกรณีที่ความสามารถในการกลืนสิ่งต่าง ๆ หรือการหายใจได้ลดลง นอกจากนี้แล้วในผู้ป่วยหลายคนก็ยังสามารถพัฒนาไปสู่อาการของโรคโปลิโอในระดับที่รุนแรงมากกว่าเดิม
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คางทูม อาการเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคคางทูมมาจากอะไร?
ที่มา : pobpad, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!