วัคซีนพิษสุนัขบ้า ควรฉีดหรือไม่? หลายคนอาจสงสัยในความจำเป็นนี้ และคิดว่าโรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่ห่างไกลตัว และยากที่เราจะมีโอกาสได้รับเชื้อ หากกำลังสงสัยถึงคำถามนี้ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบว่า วัคซีนพิษสุนัขบ้า จำเป็นต้องฉีดหรือไม่ ต้องฉีดอย่างไร และแม้ท้องฉีดได้หรือเปล่า
ทำไมต้องฉีด “วัคซีนพิษสุนัขบ้า?”
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ สู่คนที่มีอันตรายและร้ายแรงที่สุด เพราะเมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้ อีกทั้งโรคพิษสุนัขบ้า ยังสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด แต่สามาถพบได้บ่อยในสุนัข ที่เป็นสัตว์เลี้ยงแสนรัก หรือ สัตว์ที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของเราที่สุด
ใน 1 ปี มีคนที่ถูกสุนัขกัดในประเทศไทยกว่า 1 ล้านคน ซึ่งส่วนหนึ่งของคนเหล่านั้น จะเข้ามารับการรักษาที่สาธารณสุข และจำเป็นจะต้องรับวัคซีน อิมมูโนโกลบุลิน ซึ่งเป็น วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เพราะหากผู้ป่วยได้รับเชื้อและเกิดโรคพิษสุนัขบ้า อาจทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
วัคซีนพิษสุนัขบ้าคืออะไร?
วัคซีนพิษสุนัขบ้า คือ วัคซีนที่ป้องกันโรคเชื้อไวรัสเรบี (Rabies) หรือ เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า ซึ่งจะมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำเชื้อ เช่น สุนัข แมว ลิง ค้างคาว เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะได้รับเชื้อจากการกัด หรือข่วน ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกัน จะช่วยป้องกันผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยวัคซีนจะผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว เมื่อฉีดเข้าไป จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อพิษสุนัขบ้า
วัคซีนพิษสุนัขบ้าในไทยมีกี่ชนิด?
ปัจจุบันวัคซีนพิษสุนัขบ้า ที่ใช้ในประเทศไทย มีด้วยกัน 3 ชนิด ดังนี้
- วักซีนไข่ไก่ฟักชนิดบริสุทธิ์ (Purified Chick Embryo Cell Vaccine: PCECV) คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้น โดยการเพาะเลี้ยงเชื้อในไข่ไก่
- วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงบริสุทธิ์ (Purified Vero Cell Rabies Vaccine: PVRV) คือ วัคซีนที่ผลิต โดยการเพาะเลี้ยงเชื้อในวีโรเซลล์ (Vero Cells)
- วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงบริสุทธิ์ชนิดโครมาโทกราฟี (Chromatographically Purified vero cell Rabies Vaccine: CPRV) คือ วัคซีนที่ผลิตโดยการเพาะเลี้ยงเชื้อในวีโรเซลล์ (Vero Cells) และ ผ่านกรรมวิธีโครมาโทกราฟี เพื่อสกัดออกมาทำเป็นวัคซีน
การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น และต้องฉีดโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะการฉีดจำเป็นต้องทำตามเอกสารกำกับยาอย่างชัดเจน เพื่อปริมาณการใช้ยาที่ถูกต้อง ซึ่งการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า สามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
-
ฉีดป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้า
วัคซีนเพื่อการป้องกันพิษสุนัขบ้า ผู้ที่มีความเสี่ยงจะได้รับเชื้อ เป็นกลุ่มที่ควรฉีดป้องกัน เช่น กลุ่มที่ต้องทำงานในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ ผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ ผู้ที่ทำงานกับเชื้อไวรัส เป็นต้น
2. ฉีดเพื่อป้องกันเมื่อสงสัยว่าอาจได้รับเชื้อ
แพทย์จะพิจารณาการใช้วัคซีนเมื่อผู้ป่วยถูกสัตว์กัด หรือข่วน ซึ่งจะต้องพิจารณารับวัคซีนโดยเร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เพราะหากมีการติดเชื้อแล้ว ไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้
ผู้รับวัคซีนต้องปฏิบัติอย่างไร?
ในการฉีดวัคซีน ผู้รับวัคซีนควรรับอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด และต้องรับจนกว่าจะครบโดส เพื่อประสิทธิภาพของวัคซีน ทั้งนี้ หากผู้ป่วยได้รับวัคซีนไม่ครบ หรืออาจไม่สามารถมารับได้ตามกำหนด จะต้องรีบแจ้งแพทย์ผู้ดูแลโดยทันที หากมีการฉีดวัคซีนที่คาดเคลื่อนเพียง 2-3 วัน ก็สามารถฉีดต่อได้โดยไม่ต้องเริ่มโดสใหม่
คนท้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่?
คนท้อง หรือ คุณแม่ให้นมบุตร หากมีความจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน ควรทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคำแนะนำเกี่ยวกับประโยชน์ และโทษที่อาจได้รับจากวัคซีน เพราะตัวยาอาจมีการปนเปื้อนไปสู่น้ำนม หรือ ถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้
ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากวัคซีนพิษสุนัขบ้า
การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการ แต่ในบางรายอาจพบอาการข้างเคียงได้ อาการที่มักพบบ่อย มีดังนี้
- วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- มีอาการบวมแดง หรือปวดบริเวณที่ฉีด
- ปวดกล้ามเนื้อ หรือ ข้อต่อ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
หากผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงมากกว่าอาการข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ และต้องรีบพบแพทย์ มีดังนี้
- ปวดแสบปวดร้อน
- เกิดเหน็บชา
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีไข้ หนาวสั่น
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- มีอาการชัก เกร็ง
- มีแผลฟกช้ำ ปวด บวม บริเวณที่ฉีด
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง
- หายใจถี่ หายใจมีเสียงวี๊ด ๆ
- แขน ขา บวม
- ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ปกติ
กลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีโอกาสได้รับเชื้อไวรัส ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเป็นอย่างยิ่ง เพราะเชื้อพิษสุนัขบ้า เป็นเชื้อที่ไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้ หากติดเชื้อแล้ว อาจมีความอันตรายถึงชีวิตได้ หากไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องรับวัคซีนหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาร่วมกัน เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ที่มาข้อมูล pobpad dibukhospital
บทความที่น่าสนใจ
โรคพิษสุนัขบ้า โรคอันตรายรุนแรงถึงชีวิต ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าสายเกินแก้
ทำอย่างไรเมื่อลูกถูกสุนัขกัด? โดย ผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี
อุทาหรณ์! วัคซีนพิษสุนัขบ้า ถึงฉีดประจำแต่ถ้าได้รับเชื้อรุนแรงก็ทำให้ตายได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!