ทำอย่างไรเมื่อลูกถูกสุนัขกัด? โดย ผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี
ทำอย่างไรเมื่อลูกถูกสุนัขกัด? โดย ผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี
เมื่อถูกสุนัขกัด สิ่งที่ควรระวังมีอะไรบ้าง?
สิ่งที่ควรระวังเมื่อถูกสุนัขกัดประกอบด้วย 3 ข้อใหญ่คือ
- ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำลาย เข้าสู่ร่างกายเมื่อถูกกัด ข่วน หรือเข้าทางเยื่อบุผิว
- ติดเชื้อโรคบาดทะยัก ซึ่งเชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- แผลอักเสบติดเชื้อ จากแบคทีเรียในช่องปาก หรือเล็บ ของสุนัขที่กัดหรือข่วน
โรคพิษสุนัขบ้า โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำลาย เข้าสู่ร่างกายเมื่อถูกกัด ข่วน หรือเข้าทางเยื่อบุผิว
โรคพิษสุนัขบ้า มีอาการอย่างไร?
สัตว์ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า มักมีอาการได้ 2 แบบ คือ ดุร้าย หรือเซื่องซึม อาจมีอาการปากอ้าไม่ยอมหุบ ลิ้นมีสีแดงคล้ำห้อยออกมานอกปาก ลุกนั่ง และเดินไปมาบ่อย ๆ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด
คนที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการไข้ต่ำ ๆ อาจมีอาการคันหรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว จากนั้นจะค่อย ๆ มีอาการทางระบบประสาท เช่น ตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม กลัวเสียงดัง กลืนน้ำลำบากและเจ็บมากเวลากลืนน้ำลายไหลมาก เอะอะ และจะค่อย ๆ เซื่องซึมลง ชัก เป็นอัมพาต ความดันโลหิตต่ำลง ช็อคและเสียชีวิตได้ในที่สุด ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อนี้มีโอกาสเสียชีวิตสูง
สัตว์ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า มักมีอาการได้ 2 แบบ คือ ดุร้าย หรือเซื่องซึม
หากถูกสุนัขกัดควรทำอย่างไรบ้าง?
#1 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่บ้าน ควรรีบล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด แล้วเช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาโพวิโดนไอโอดีน
#2 หากเป็นสุนัขที่เลี้ยงเองอย่างดีไม่ได้ไปคลุกคลีกับสุนัขอื่น ๆ นอกบ้าน และฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเป็นประจำและสุนัขนั้นมีมูลเหตุจูงใจให้กัดหรือข่วนชัดเจนโดยไม่ได้มีอาการผิดปกติเหมือนติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ก็สามารถเฝ้าสังเกตอาการของสุนัขอย่างน้อย 10 วันได้ค่ะ
#3 หากหรือไม่แน่ใจว่าสุนัขอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่ หรือเป็นสุนัขจรจัด ก็ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ภายในวันนั้นทันที
คนที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการไข้ต่ำ ๆ อาจมีอาการคันหรือปวดแสบบริเวณที่ถูกกัด
#4 ควรไปพบคุณหมอเพื่อพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ซึ่งจะพิจารณาฉีดให้ตามลักษณะของแผลร่วมกับประวัติการได้รับวัคซีนบาดทะยักในอดีตค่ะ เนื่องจากในเด็กมีการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามวัยอยู่แล้ว บางครั้งจึงไม่ต้องฉีดซ้ำ จึงควรนำสมุดวัคซีนของลูกไปด้วยนะคะ
#5 คุณหมออาจให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแผลและให้ยาแก้ปวดตามอาการ
#6 หากมีอาการ แผลบวม แดง ร้อน ปวดแผลมาก ชา หรือ คันรอบ ๆ แผล หรือมีไข้ ให้รีบไปพบคุณหมอนะคะ เพราะอาจมีการติดเชื้อได้ค่ะ
ในกรณีของน้องเอฟ สุนัขที่กัดแข็งแรงปกติดี เลี้ยงในบ้านมาตลอด เพิ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อ 1 – 2 เดือนที่แล้ว มีเหตุจูงใจให้เข้ามากัดชัดเจน และคุณแม่ส่งรูปแผลมาให้ดูเป็นแค่รอยถลอกเล็ก ๆ จึงขอสังเกตอาการสุนัขก่อน ยังไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าค่ะ
หากมีอาการ แผลบวม แดง ร้อน ปวดแผลมาก ชา คันรอบ ๆ แผล หรือมีไข้ ให้รีบไปพบคุณหมอ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
โรงพยาบาล พญาไท – โรคพิษสุนัขบ้ากับเด็ก ๆ … เรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ต้องรู้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกเล่นกับสัตว์เลี้ยง มีดีกว่าที่คิด ประโยชน์จากการ ให้ลูกเล่นหมาแมว ที่พ่อแม่ควรรู้!
เตรียมสัตว์เลี้ยงให้พร้อม ก่อนสมาชิกใหม่ตัวน้อย จะย้ายเข้ามาในบ้าน
โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!