X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคพิษสุนัขบ้า โรคอันตรายรุนแรงถึงชีวิต ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าสายเกินแก้

บทความ 5 นาที
โรคพิษสุนัขบ้า โรคอันตรายรุนแรงถึงชีวิต ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าสายเกินแก้โรคพิษสุนัขบ้า โรคอันตรายรุนแรงถึงชีวิต ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าสายเกินแก้

โรคพิษสุนัขบ้า โรคที่แม้จะฉีดวัคซีนแล้ว แต่หากได้รับเชื้อรุนแรง ก็ตายได้! มักได้รับเชื้อจากสัตว์เลี้ยง ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกันเชื้อ อันตรายมาก ๆ สำหรับบ้านที่มีลูก หลาน ยังเล็ก เด็ก ๆ ทั้งหลาย ที่ชอบเล่นกับสัตว์ มาดูความรู้ และวิธีป้องกัน ให้ห่างไกลจาก โรคพิษสุนัขบ้า กัน

 

โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร?

โรคพิษสุนัขบ้า คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า (Rabies Virus) เป็นโรคที่มีการติดต่อมาจาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะ ซึ่งจะติดต่อสู่คนผ่านการถูก กัด ข่วน หรือ น้ำลาย ที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านการเลียแผล หรือ เข้าปาก เข้าจมูก เข้าตา เป็นต้น ซึ่งพาหะโรคที่พบมากที่สุด คือ สุนัข และ แมว แต่อาจมีเชื้ออยู่ในสัตว์อื่น ๆ ด้วย

 

โรคพิษสุนัขบ้า

 

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า

เมื่อได้รับเชื้อ และไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมีอาการ ภายใน 15-60 วัน หลังจากรับเชื้อ แต่ในบางราย อาจแสดงอาการภายหลังการรับเชื้อ เพียงไม่กี่วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และ บริเวณที่รับเชื้อ เช่น การรับเชื้อบริเวณใบหน้า จะเกิดการแพร่กระจาย เร็วกว่าการรับเชื้อบริเวณขา ซึ่งปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ หากได้รับเชื้อแล้ว อาจจะเสียชีวิตทุกราย 

 

อาการแรกเริ่ม จะคล้ายไข้หวัด มีอาการ ปวดศีรษะ เป็นไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร และมีอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • คันบริเวณแผลที่หายสนิทไปนานแล้ว จากนั้นลุกลามไปยังที่อื่น
  • ผู้ป่วยจะเกาจนมีเลือดออก
  • กลืนอาหารลำบาก เพราะกล้ามเนื้อลำคอหดเกร็ง
  • กลัวน้ำ
  • น้ำลายฟูมปาก
  • บ้วนน้ำลายบ่อย
  • กระวนกระวาย ตื่นเต้น
  • หงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว
  • ประสาทสัมผัสไวต่อการกระตุ้น
  • ตกใจง่าย หวาดผวา
  • กล้ามเนื้อแขน ขา เกร็ง กระตุก
  • เป็นอัมพาต หมดสติ

 

ซึ่งอาการเหล่านี้ จะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ตามการรับเชื้อ และระยะเวลาการรับเชื้อ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และ จะเสียชีวิตภายใน 2-7 วัน นับจากวันที่เริ่มแสดงอาการ

 

วิธีสังเกตสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการที่แปลกไป ดังนี้

  • ตื่นเต้น ตกใจง่าย
  • กระวนกระวาย
  • กระโดดงับลม แมลง หรือ สิ่งของแปลก ๆ
  • กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า
  • กินอาหารน้อยลง
  • ม่านตาขยาย
  • ไวต่อแสง สี เสียง
  • สัตว์อาจเป็นอัมพาต
  • เสียงเห่า หอน ผิดปกติ
  • หลังแข็ง
  • หางตก
  • ลิ้นห้อย
  • น้ำลายไหลย้อย
  • เดินไม่สะดวก
  • อ้าปากค้าง ขากรรไกรแข็ง

 

สัตว์ที่ติดเชื้อ จะเริ่มมีอาการต่าง ๆ และจะเป็นอัมพาตในช่วงระยะสุดท้าย อาการอัมพาตจะลุกลามไปทั่วร่างกาย และจะหมดสติ ชัก ตาย ภายใน 10 วัน ตั้งแต่มีอาการ

 

โรคพิษสุนัขบ้า

 

วิธีการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นวิธีป้องกัน และลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างดีที่สุด ซึ่งหลัก ๆ แล้ว คือการหลีกเลี่ยงการรับเชื้อ จากสัตว์จะดีที่สุด หรือ หากโดนกัด ให้รับทำความสะอาดแผลทันที และรีบพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนต่อจนครบ ซึ่งสามารถทำตามวิธีการป้องกันได้ ดังนี้

 

  1. ฉีดวัคซีนป้องกัน เมื่อต้องอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยง หรือ ต้องทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ต่าง ๆ
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ เมื่อต้องเดินทางไปในที่เสี่ยง มีการแพร่ระบาดของโรค
  3. สอนลูก หลาน ให้รู้ถึงอันตรายของโรค ไม่ให้ไปสัมผัสสัตว์ที่มีความเสี่ยง และคอยระมัดระวังบุตรหลาน อยู่เสมอ ๆ 
  4. เมื่อพบแผลคล้ายสัตว์ทำร้าย บนร่างกายของลูกหลาน ควรถามไถ่ถึงที่มาอย่างชัดเจน เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที
  5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์อื่น
  6. ป้องกันไม่ให้สัตว์ที่เป็นพาหะของโรค มาอาศัยอยู่บริเวณบ้าน เช่น หนู ค้างคาว เป็นต้น
  7. เมื่อพบเห็นสัตว์ ที่มีอาการคล้ายกับจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ เทศบาล มาดำเนินการจับ เพื่อไม่ให้เกิดโอกาสการแพร่กระจายของโรค

 

การวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่เป็นได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งสัตวแพทย์จะทำการตรวจดูว่า สมองของสัตว์ จะมีลักษณะ ที่แสดงถึงการติดเชื้อหรือไม่ หากไม่พบว่าเป็นโรค ผู้ที่ป่วย ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน หรือ รับการรักษา

 

การตรวจเชื้อพิษสุนัขบ้าในคน สามารถทำการวินิจฉัยได้ เมื่อมีอาการบ่งชี้แล้ว ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัย ได้จากการตรวจน้ำลาย เก็บตัวอย่างเลือด ตรวจของเหลวจากไขกระดูก และตัวอย่างผิวหนัง จากนั้นจึงส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติการ หากแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าสัตว์มีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ จะได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคแทน

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

โรคพิษสุนัขบ้า

 

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคอันตรายที่เป็นแล้วตายเท่านั้น แต่ในปัจจุบันยังมีอัตราการติดเชื้อที่ต่ำ และสามารถป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น ควรดูแลบุตรหลาน อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อ อันจะนำไปสู่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิต

 

 

ที่มาข้อมูล : พบแพทย์ , โรงพยาบาลรามคำแหง

บทความที่น่าสนใจ :

มีอาการท้องเสีย เมื่อมีอาการท้องเสียทำอย่างไร ท้องร่วงสิ่งที่ควรกินและไม่ควรกิน

ไข้ เป็นไข้อาการเป็นอย่างไร สาเหตุของไข้เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอาการไข้หรือไม่

ไข้หวัดใหญ่ สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่ พร้อมวิธีป้องกัน ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคพิษสุนัขบ้า โรคอันตรายรุนแรงถึงชีวิต ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าสายเกินแก้
แชร์ :
  • ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

    ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

app info
get app banner
  • ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

    ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ