คนท้องนวดได้ไหม คำถามที่แม่ท้องมักกังวล อยากเข้าสปาทำได้หรือเปล่า..

แม่ท้องที่เข้าสู่ในปลายไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 จะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ทั้งปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งน้ำหนักในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อมีการขยายและยืดหยุ่น การได้นวดผ่อนคลายจะช่วยให้คุณแม่คลายปวด ลดความเครียด ช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีมากขึ้น
คนท้องนวดได้ไหม
คำถามที่แม่ท้องมักกังวล คนท้องนวดได้ไหม อยากเข้าสปานวดคลายเมื่อยทำได้หรือเปล่า ต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงอะไร ไปนวดสปาอย่างไรถึงปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ท้อง
แม่ท้องนวดได้ไหม กลัวพลาดแล้วลูกแท้ง
คนท้องนวดคอบ่าไหล่ได้ไหม
ปัจจุบันมีการนวดสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเข้าสปาเพื่อไปนวดตัว นวดคอบ่าไหล่ได้นะคะ เช่นเดียวกับการนวดเท้า ที่คนท้องสามารถนวดได้เช่นกัน แต่ควรเลือกร้านที่มีผู้เชี่ยวชาญในการนวดสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ เพราะวิธีการนวดจะไม่เหมือนปกติทั่วไป จึงควรเลี่ยงการนวดกดจุดสะท้อนในบริเวณต่าง ๆ เพราะอาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ได้
เท้าคุณแม่สัมพันธ์กับลูกในท้องอย่างไร?ถ้าจะถามหาอวัยวะที่รับบทหนักมากที่สุดเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ คงหนีไม่พ้น “เท้า” ที่ถือว่าเป็นอวัยวะที่แบกน้ำหนักของแม่และลูกที่ตั้งท้องไว้ด้วยกัน และเมื่อเจ้าหนูน้อยโตขึ้น ท้องใหญ่ขึ้น ก็ยิ่งทำให้น้ำหนักที่เท้าต้องแบกรับมากขึ้นตามไปด้วย ไม่แปลกเลยค่ะที่คุณแม่ตั้งท้องจะเมื่อยเท้าแบบสุดๆ ทำให้คุณแม่ตั้งท้องอาจเริ่มมองหาทางเลือกในการบรรเทาอาการนั่นก็คือการนวดฝ่าเท้านั่นเอง
หากคุณแม่เลือกนวดน้ำมัน ควรเลือกใช้น้ำมันที่ไม่มีกลิ่น เพราะกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยบางตัวจะมีผลต่อครรภ์ และที่สำคัญเมื่อมาทำการนวดทุกครั้งควรแจ้งถึงระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้พนักงานทราบด้วย

คนท้อง นวดได้ไหม 2
สิ่งที่ควรระมัดระวังในการไปทำสปาสำหรับแม่ท้อง
-
ความร้อน แม่ท้องระวังเสี่ยงแท้ง
แม่ท้องควรหลีกเลี่ยงการทำทรีทเม้นท์ที่มีความร้อนสูง เช่น การอบไอน้ำ การเข้าซาวน่า หรือการแช่นำพุงในช่วงตั้งครรภ์ เพราะการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงเกินไป อาจมีผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือดและระบบการส่งอาหารไปเลี้ยงทารกได้
มีงานวิจัยระบุว่า การได้รับอุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่า 38.3 องศา จะมีผลต่อความเสี่ยงภาวะการแท้งได้ โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนแรก
-
การทำทรีทเม้นท์หน้าระหว่างตั้งครรภ์ แม่ท้องนวดหน้าได้ไหม
สิ่งที่ต้องระวังคือการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ที่อาจมีโอกาสแพ้ได้มากกว่าตอนไม่ตั้งครรภ์ หากใช้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายและไร้กลิ่นจะปลอดภัยที่สุด ชนิดที่ไม่มีสารเรตินอลหรือเรตินอยด์ที่เป็นประเภทหนึ่งของวิตามินเอ ซึ่งอาจมีผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้หากใช้มากเกินไป

คนท้อง นวดได้ไหม 1
-
การทำเล็บระหว่างการตั้งครรภ์
แม่ ๆ ที่ทำสปา อยากทำเล็บสวย ๆ การใช้สีทาเล็บหรือน้ำยาล้างเล็บระหว่างตั้งครรภ์สามารถใช้ได้ แต่คุณแม่ต้องทราบว่าสารเคมีบางตัวหากได้รับมากเกินไปก็อาจมีผลกระทบต่อครรภ์ได้ เพื่อความปลอดภัยคุณแม่ควรเลี่ยงการไปร้านทำเล็บในช่วงสามเดือนแรกดีกว่าค่ะ
ที่มา : www.thaispacenter.com
ไม่ต้องนวดก็หายเมื่อยได้
พญ.กุลธิดา ทรัพย์สมุทรชัย สูตินรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 แนะนำว่า กรณีที่มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เช่น ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพก ต้องหาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากอะไร อาจเกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น
- เดินหรือนั่งหลังค่อม
- การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมหรือเตียงนอนแข็งหรือนุ่มเกินไป
- อาชีพที่ต้องนั่งหรือยืนนานๆ

คนท้อง นวดได้ไหม 3
วิธีแก้ปวดเมื่อยของคนท้อง แม่ ๆ ควรแก้ไขที่สาเหตุก่อน เช่น
- เดิน นั่ง หลังตรง
- ใส่รองเท้าที่ส้นไม่สูงหรือเตี้ยเกินไป
- ลุกขยับตัวขณะทำงาน เปลี่ยนท่าทางหรือเปลี่ยนฟูกที่นอนให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย

คนท้อง นวดได้ไหม
สำหรับการนวดคนท้อง นอกจากต้องใช้ความเชี่ยวชาญแล้ว ยังต้องระมัดระวังไม่นวดรุนแรงเกินไป โดยเฉพาะบริเวณท้องที่หากมีการกระทบกระเทือนมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการแท้งได้ ดังนั้น หากแม่ ๆ ปวดเมื่อยมาก อยากนวด ก็ต้องหาร้านที่ได้มาตรฐาน คนนวดได้รับการฝึกฝนหรือเรียนรู้วิธีนวดคนท้องอย่างถูกต้อง จะได้ไม่เสี่ยงอันตรายทั้งแม่และลูกในท้อง
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อซึ่งยึดติดกับกระดูก ช่วยในการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกาย โดยเกิดจากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ หากเราใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งจนเกิดอาการปวดได้ การนวดจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งอ่อนนิ่มลง ทำให้ของเสียที่คั่งในกล้ามเนื้อไหลเวียนออกไปได้ รู้สึกผ่อนคลาย อาการปวดเมื่อยต่างหายไป ผู้ที่ได้รับการนวดจึงรู้สึกตัวเบาสบายนั่นเอง
คุณแม่ตั้งครรภ์ปวดเมื่อย เพราะสรีระเปลี่ยน
ขณะตั้งครรภ์ มดลูกที่อยู่บริเวณท้องน้อยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก น้ำหนักจะทิ้งลงมาข้างหน้า ร่างกายจึงพยายามชดเชยโดยเลื่อนจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายมาทางด้านหลัง ทำให้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เดินหลังแอ่น ประกอบกับข้อต่อต่างๆ ของร่างกายหลวมขึ้น ทำให้ท่าทางของร่างกายเปลี่ยนไป จึงมักมีอาการปวดหลังมาก โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ช่วงอายุครรภ์ 7-9 เดือน เกิดความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อจากการตั้งครรภ์ อาจจะมีอาการปวดขา หรืออ่อนแรงบริเวณแขนร่วมด้วยได้
การปรับเปลี่ยนท่าทางบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นระหว่างการตั้งครรภ์ได้
- ท่านั่ง ควรนั่งตัวตรงให้สะโพกและหลังเหยียดตรง ถ้านั่งบนเก้าอี้ควรวางขาให้สบายและหาเก้าอี้ตัวเล็กมาวางเท้า หรือถ้านั่งพื้น ควรขัดสมาธิหลวมๆ จะช่วยลดอาการปวดหลังได้
- ท่ายืน ควรยืนตัวตรงเท้าแยกห่างกันเล็กน้อย และลงน้ำหนักให้เท่ากันทั้ง 2 ข้าง
- ท่าก้มหยิบของ ยืนให้ห่างจากของที่ต้องการหยิบเล็กน้อย ก้าวเท้าหนึ่งไปด้านหน้า ค่อยๆ ย่อตัวลงและคุกเข่า ใช้ปลายเท้าอีกข้างยันพื้นไว้ ยกของลุกขึ้นหลังตรง
- ท่านอนหงาย ควรนอนโดยใช้หมอนใบหนึ่งรองศรีษะและใช้หมอนอีกใบรองใต้เข่า ให้เข้างอเล็กน้อย ส่วนท่านอนตะแคงตวรใช้หมอนรองบริเวณศรีษะและหัวไหล่ อีกใบหนึ่งสอดรองบริเวณระหว่างขา
ระหว่างตั้งครรภ์ไปนวดได้หรือไม่?
แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12-28 สัปดาห์ หรือในช่วงตั้งแต่ 4 เดือนเป็นต้นไป สามารถนวดผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดได้ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากอาจมีการกดจุดที่ผิดหรือใช้แรงในการนวดมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ เสี่ยงต่อการแท้งได้
ข้อควรระวังการนวดระหว่างตั้งครรภ์
ครวนวดด้วยความนุ่มนวล ไม่ลงน้ำหนักมือมากจนเกินไป และไม่ควรนวดบริเวณท้อง หากมีอาการปวดท้องน้อยซึ่งเกิดจากมดลูกบีบรัดตัวมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด ควรใช้วิธีการลูบสัมผัสบริเวณหน้าท้อง ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และที่สำคัญคือไม่ควรกดจุดในตำแหน่งที่อันตรายต่อการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ สตรีส่วนใหญ่จะมีอาการเส้นเลือดขอดได้ง่ายบริเวณขาและน่อง การนวดบริเวณดังกล่าวอาจทำให้ลิ่มเลือดไหลไปอุดตันบริเวณที่สำคัญต่อร่างกายจนเกิดอันตรายเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
นวดหลังคลอดมีประโยชน์อย่างไร?
การนวดเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวจากการอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ หรือหลังจากการทำงานหนัก ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้มีความยืดหยุ่นดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเตรียมกล้ามเนื้อก่อนการอยู่ไฟหลังคลอดได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยหลังจากการดูแลทารกได้ เช่น บริเวณกล้ามเนื้อบ่า หลัง ขาและกล้ามเนื้อบริเวณ ที่ต้องใช้เวลาอุ้มลูกและให้นม การนวดจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดลมและน้ำเหลืองดีขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นน้ำนม อีกทั้งยังช่วยลดอาการบวมของกล้ามเนื้ออีกด้วย
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา : herkids
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สามีไปนวดสระอู๋ เรียกว่านอกใจหรือไม่
คลิปทำสปาให้ทารกแรกเกิด เพื่อให้ทารกผ่อนคลาย
6 ข้อดีของการนวดเรียกนม นวดเรียกนมแล้วดีอย่างไร จากกูรูด้านการให้นม
แม่รู้ยัง…นวดท้องไล่ลม ลูกง่ายนิดเดียว