ไอกรนในเด็ก ทำให้ปอดอักเสบอันตรายถึงชีวิตลูก พ่อแม่ต้องระวัง!
คุณพ่อคุณแม่คะ หากลูกหลานไอนาน ๆ จนเกิดกลายเป็นอาการเรื้อรัง ให้รีบพาลูกหลานไปหาหมอนะคะ เพราะลูกอาจจะเป็นโรคอันตรายโรคหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่า "โรคไอกรน" โดยไม่รู้ตัว ซึ่งการ ไอกรนในเด็ก ทำให้ปอดอักเสบอันตรายถึงชีวิตลูกจน เสียชีวิตได้

มาทำความรู้จักกับโรคไอกรน
ไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอที่มีลักษณะไอ ซ้อน ๆ ติด ๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ทำให้เด็กหายใจไม่ทัน เสียงไอของโรคนี้เป็นการไปที่มีเอกลักษณ์ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Whooping cough เป็นการไอลึก ๆ เป็นเสียงวู้ป สลับกับการไอเป็นชุด ๆ บางครั้งอาจมีอาการเรื้อรังนาน 2-3 เดือน

สาเหตุการเกิดโรคไอกรน
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bordettella โรคนี้ติดต่อกันง่ายมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทานจะติดเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันมีโอกาสมากถึง 80 – 100% ถึงแม้จะมีภูมิต้านทานก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20 % โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่ในละอองของเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และจะติดต่อไปยังผู้อื่นต่อไป ไอกรนจะพบได้บ่อยในเด็กส่วนใหญ่จะติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว โรคไอกรนเป็นได้ตั้งแต่เดือนแรก เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราการตายสูง ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตมักจะเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ความรู้ว่า “โรคไอกรน” เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและพบมากในเด็ก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยมากขึ้น สาเหตุเกิดจาก “เชื้อแบคทีเรีย” สามารถติดต่อกันได้ง่ายจากการ “ไอ-จาม” และสัมผัสเชื้อโดยตรงจากผู้ที่ป่วย

สิ่งที่ต้องระวัง คือ “ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน” หากได้รับเชื้อมีโอกาสเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 90 ซึ่งจากการศึกษาของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบว่าในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไอติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน แต่ไม่ได้เป็นวัณโรคและโรคหืด ตรวจพบเชื้อไอกรนถึงร้อยละ 19 ซึ่งระยะฟักตัวของ “โรคไอกรน” จะใช้เวลาประมาณ 6-20 วัน แต่หากเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ ก็แสดงว่า “ไม่ติดโรค”
การรักษาผู้ป่วย “โรคไอกรน” ในระยะแรกสามารถใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดความรุนแรงของโรค และถ้าให้ยาปฏิชีวนะหลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการไอแล้ว อาจไม่ค่อยมีผลดีต่อการดำเนินโรค แต่จะช่วยลดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ดังนั้นผู้ป่วย “โรคไอกรน” ควรพักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นทำให้มีอาการไอมากขึ้น เช่น ฝุ่นละออง ควัน อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคได้
ที่ต้องระวังอีกประการ คือ ภาวะแทรกซ้อนของ “โรคไอกรน” อาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ “เสียชีวิต”
“โรคแทรกซ้อนทางระบบหายใจที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กเล็ก และยังมีภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ผู้ป่วยอาจมีอาการชัก เกร็ง หรือซึมลงด้วย”

การป้องกันโรคไอกรน
การป้องกัน “โรคไอกรน” ที่ดีที่สุด สามารถทำได้ด้วยการ “ฉีดวัคซีนป้องกัน” ซึ่งวัคซีนไอกรนเป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้รับ ดังนั้น เมื่อถึงเวลานัดฉีดวัคซีน
1.โรคไอกรนมีวัคซีนสำหรับป้องกัน ในเด็กเล็กต้องได้รับการฉีดวัคซีนช่วงอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15 – 18 เดือน ในรูปของวัคซีนรวม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หลังจากนั้นเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง
2.ในช่วงอายุ 11-12 ปี ปกติเด็กควรจะได้รับวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก กระตุ้นอีก 1 เข็ม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบไอกรน บาดทะยัก แทนการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
3.สำหรับแม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับการฉีควัคซีนไอกรน เพราะช่วยป้องกันโรคไอกรนในแม่และลูกที่คลอดมา ซึ่งเป็นที่รู้ว่า เกินร้อยละ 50 ของลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรน ติดมาจากเชื้อโรคไอกรนในแม่ ซึ่งหากลูกเป็นโรคไอกรนใน 3 เดือนแรก ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต แต่หากฉีดวัคซีนไอกรนให้แม่ สามารถป้องกันโรคไอกรนในลูกที่คลอดออกมาได้ตั้งแต่ 2-6 เดือน
คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าลืมพาน้องไปฉีดยาให้ตรงเวลากันนะคะ
ที่มา: เดลินิวส์
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 วัคซีนจำเป็น ที่ต้องพาลูกไปฉีด
รู้หรือไม่ การฉีดวัคซีนโรคไอกรนนั้นสำคัญไฉน
แม่เล่า ลูกแรกเกิดอยู่รพ. นานเกือบเดือนเพราะโรคไอกรน
เศร้า! แม่แชร์คลิปทารกไอหนัก ป่วยโรคไอกรนจนเสียชีวิต
ทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายในเด็ก ที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีนรวม เพียงเข็มเดียว
พ่อแม่ต้องอ่าน 20 โรคหน้าร้อนในเด็ก 2020 เตรียมพร้อมรับมือ ดูแลลูกให้ดีกว่าเดิม
โรคไอกรน ในเด็กเล็ก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!