ระวัง! เชื้ออี.โคไลในซูชิข้างถนน
ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย ในโครงการ “พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก” สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการเลือกทานซูชิข้างทาง หลังจากที่ได้สุ่มเก็บตัวอย่างซูชิจำนวน 5 ตัวอย่างในกรุงเทพฯ และพบว่า 3 จาก 5 ตัวอย่างมีปริมาณการปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตราฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดไว้
ซูชิตัวอย่างจากย่านพญาไท และย่านพระนครมีเชื้ออี.โคไลสูงมากจนน่าตกใจ ซึ่งเชื้ออี.โคไลนั้นเป็นแบคทีเรียที่อยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ เชื้อมักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ และมือของผู้ประกอบอาหาร เชื้อเหล่านี้อาจพบได้ในอุจจาระ
ผู้ที่ได้รับเชื้ออี.โคไลจะมีอาการท้องร่วงตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจมีเลือดปน มีไข้ อาเจียน
บทความแนะนำ: รักษาอาการอาหารเป็นพิษ
ซูชิที่มีทั้งปลาดิบ และอาหารทะเลอื่น ๆ ที่ทั้งดิบและไม่ดิบ หากการปรุงไม่ได้มาตราฐานและไม่สะอาดจริง เลี่ยงมันดีกว่า โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ แล้ว อาการท้องร่วงอาจจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่มาก
ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน
การกินอาหารของทารกในครรภ์
ลูกในท้องกินอาหารอย่างไร การกินอาหารของทารกในครรภ์ คนท้องกินอย่างไรให้ลูกแรกเกิด คลอดออกมาแล้วน้ำหนักตามเกณฑ์
การกินอาหารของลูกในท้องช่วงไตรมาสแรก
ประมาณ 1 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ เซลล์มวลภายในสร้างเนื้อเยื่อ 2 ชนิด ที่เรียกว่า ไฮโปบลาส และเอพิบลาส
- ไฮโปบลาส จะสร้างถุงไข่แดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งสารอาหารต่าง ๆ จากมารดาไปสู่ตัวอ่อนในระยะต้น
- เซลล์จาก เอพิบาส จะสร้างเนื่อเยื่อที่เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ ซึ่งมีตัวอ่อนอยู่ข้างใน ซึ่งต่อมา คือทารกในครรภ์ เจริญเติบโตไปจนกระทั่งคลอด
ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน
การกินอาหารของลูกในท้องผ่านถุงไข่แดง
ถุงไข่แดง (Yolk Sac) เป็นถุงที่ติดอยู่กับตัวอ่อน ประกอบไปด้วยเส้นเลือดเล็ก ๆ มากมาย โดยเลือดจะถูกลำเลียงไปยังผนังของถุงไข่แดง และไหลเวียนกลับไปยังหัวใจของตัวอ่อน สารอาหารก็จะถูกดูดซึมจากถุงไข่แดงและลำเลียงไปยังตัวอ่อนในครรภ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ก่อนที่รกจะถูกพัฒนาสมบูรณ์และมาทำหน้าที่ในการส่งอาหารไปยังตัวอ่อนแทนถุงไข่แดงในเวลาต่อมา ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ 5 เมื่อตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดสามารถพบถุงการตั้งครรภ์และถุงไข่แดงได้แล้ว
เมื่อตัวอ่อนมีการพัฒนาเพิ่มขนาดและอวัยวะขึ้น แต่ถุงไข่แดงยังคงขนาดเท่าเดิม อาหารจากถุงไข่แดงจึงไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาดูดซึมอาหารผ่านสายรกแทน และถุงนั้นก็จะสลายไป และในปลายสัปดาห์ที่ 12 รกของทารกได้มีการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้วและทำหน้าที่แทนถุงไข่แดง ในการนำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงทารก และยังเป็นที่แลกเปลี่ยนของเสียจากเลือดทารกไปยังมารดาอีกด้วย
ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน
การกินอาหารของทารกในครรภ์ผ่านรก
รกเป็นอวัยวะที่อยู่นอกร่างกายของลูก ภายหลังการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่จนมาถึงมดลูก และฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารก และรก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้มรก
ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน
รกจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูก เชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก โดยมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจน จากแม่ท้องไปยังทารกในครรภ์ และขับถ่ายของเสียจากลูกออกมาให้แม่กำจัด
ที่มา: สสส.
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!