X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จุกหลอก ใช้แล้วอันตรายหรือไม่ ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้

บทความ 5 นาที
จุกหลอก ใช้แล้วอันตรายหรือไม่ ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้

จุกหลอกเป็นอาจเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณแม่บางบ้าน ในขณะที่บางบ้านก็ไม่เห็นด้วย เพราะว่าจุกหลอกนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่คุณแม่ควรชั่งน้ำหนักว่า ควรจะใช้หรือไม่ เรามีข้อมูลทั้งด้านดีและด้อยของจุกหลอกมาให้คุณแม่ประกอบการตัดสินใจค่ะ

จุกหลอก หรือจุกนมหลอก ที่คุณพ่อคุณแม่มักนำมาให้เด็ก ๆ ดูดแทนขวดนวด หรือแทนนิ้วมือนั้นอันตรายหรือไม่ บางคนก็ว่าไม่ดีต่อเด็ก บางคนก็ว่าดีต่อเด็ก แล้วไหนจะที่บอกว่าการที่เด็กติดจุกนมหลอกนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กปกติทั่วไปอีกด้วย มาดูกันค่ะว่า จุกนมหลอกนั้นเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของเราหรือไม่ และเลือกจุกหลอกแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับเด็ก

 

จุกหลอก หรือ จุกนมหลอก หัวนมหลอก คืออะไร

หากพูดถึงสิ่งที่สามารถทำให้เด็กทารกเลิกร้องไห้งอแง หรือเลิกดูดนิ้วมือได้ในช่วงวัยของพวกเขาคงหนีไม่พ้นการใช้จุกนมหลอกในการให้เด็กทารกดูด เพื่อยับยั้งพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น โดยจุกนมหลอกนั้นคือสิ่งที่ทำขึ้นมาเลียนแบบเต้านม หรือจุกของขวดนม เพื่อให้ทารกได้ดูดนั่นเอง ทั้งนี้จุกนมหลอกมีมากมายหลายรูปแบบ และมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในกระบวนการผลิตนั้นจะใช้ความร้อนในการขึ้นรูปให้มีความคล้ายคลึงกับจุกนมจริง ดังนั้นในการเลือกซื้อจุกนมปลอม คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ปลอดสารพิษ หรือมีการรับรองว่าไม่มีสารพิษให้กับทารกจะดีที่สุด

บทความที่น่าสนใจ : ขวดนมสำหรับเด็ก ขวดนมแบบไหนเหมาะกับลูกน้อย ขวดนมแบบไหนถึงจะดี

 

จุกหลอก 1 จุกหลอก จุกหลอกใช้ได้ตั้งแต่กี่เดือน

 

Advertisement

ประโยชน์ของจุกหลอก มีอะไรบ้าง?

อย่างที่ทุกคนทราบเป็นอย่างดีว่าจุกนมหลอกนั้นสามารถเป็นสิ่งแทนเต้านม หรือนิ้วมือของเด็ก ๆ ได้ในเวลาที่พวกเขาต้องการนำสิ่งของบางอย่างเข้าปาก หรือแม้แต่ในเวลางอแง เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า ประโยชน์ของจุกหลอกอื่น ๆ มีอะไรบ้าง

 

  • ทำให้เด็ก ๆ ไม่งอแง และมีความสุข

ทารกส่วนใหญ่มักจะมีความต้องการที่จะดูดสิ่งของบางอย่าง ซึ่งการติดการดูดของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระยะเวลาในการติด หรือแม้แต่สิ่งของ ซึ่งพวกเขาจะมีพฤติกรรมการดูดเมื่อรู้สึกเบื่อ เหนื่อย หรือต้องการความสบายใจ ดังนั้นการที่ผู้ปกครองอย่างเรานำจุกนมหลอกไปให้พวกเขาในเวลาที่เขางอแง หรือเวลาที่พวกเขาต้องการการดูดบางสิ่งบางอย่าง ทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจ และมีความสุขขึ้นมาได้นั่นเอง

 

  • ลดความเสี่ยงของการกินนมมากเกินไป

เด็ก ๆ มักจะงอแงทุกครั้งที่หิว ในบางครั้งอาจเป็นการร้องเพื่อให้มั่นใจว่าแม่ยังอยู่กับเขา หรือเขาจะได้รับประทานทุกครั้งที่มีการร้อง ดังนั้นหากคุณคิดว่าทารกของคุณดื่มนมมากเกินจนอาจนำไปสู่การแน่นท้อง ท้องอืด หรือไม่สบายตัว การที่ใช้จุกหลอกในการให้ทารกดูดนั้นสามารถช่วยให้ทารกได้รับนมในปริมาณที่เหมาะสมได้ในแต่วัน

 

  • ควบคุมได้ง่ายกว่าการดูดนิ้ว

การดูดนิ้วของทารกเป็นเรื่องที่แก้ได้ยาก ซึ่งการดูดนิ้วนั้นทำให้ทารกเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค หรือไวรัสต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน หรืออาการเจ็บป่วย เพราะพวกเขายังไม่มีภูมิต้านทานที่มากพอ ดังนั้นการใช้จุกนมหลอกนั้นจะทำให้ทารกลดการดูดนิ้วมือ และลดการเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรค แต่จะต้องทำความสะอาดเป็นอย่างดี เพื่อความปลอดภัยของทารก

บทความที่น่าสนใจ : เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ให้ทารกเลิกดูดนิ้วได้อย่างไร ดูดมากไปไม่ดีนะ

 

  • หัวนมหลอก ช่วยให้หลับง่ายขึ้น

สำหรับทารกตั้งแต่ลืมตาดูดโลก ที่พวกเขาต้องการทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงคือการดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นการดื่มจากเต้านมแม่ หรือขวดนมก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านั้นทำให้พวกเขาเผลอหลับไปได้ในทุกครั้ง ดังนั้นจุกหลอกจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้พวกเขาหลับได้ง่าย โดยไม่ได้รับประทานมากจนเกินไป

 

จุกหลอก 2 จุกหลอก จุกหลอกใช้ได้ตั้งแต่กี่เดือน

 

ผลเสียของการที่ทารกติดจุกหลอก มีอะไรบ้าง? วิธีเลิกจุกหลอก

อย่างไรก็ดี มีข้อดีและย่อมมีผลเสีย การติดจุกนมหลอกของทารกก็เช่นกัน ซึ่งผลเสียเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจของคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่อยากให้ลูกน้อยนั้นใช้จุกหลอก โดยมีข้อเสียดังต่อไปนี้

 

  • จุกหลอกอาจสกัดกั้นการเจริญเติบโต

สำหรับเด็กบางคนอาจมีการดื่มนมที่มากเกินไปหากไม่ใช้จุกนมหลอก แต่สำหรับทารกบางคนอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าการดูดจุกนมหลอกนั้นเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของทารกที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งอาจนำไปสู่การที่ทารกมีการใช้พลังงานมากเกินกว่าพลังงานที่ได้รับต่อวัน ทำให้พวกเขามีการเจริญเติบโตที่ช้า หรือสามารถรับประทานได้น้อยกว่าเด็กทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่อ่อนแอ หรือร่างกายไม่แข็งแรง

 

  • เสี่ยงติดเชื้อ

การใช้จุกนมหลอกนั้นสามารถทำให้ลูกน้อยของเราเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการทำความสะอาดไม่ดีพอ หรือการที่จุกหลอกตกพื้นและทารกนำเข้าปากทำให้ได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ รวมถึงการที่ทารกใช้จุกหลอกต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลทำให้ความดันภายในหูชั้นกลางของทารกเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

  • วิธีเลิกจุกหลอก เด็กจะพูดช้า

เมื่อจุกนมอยู่ในปาก และเด็กต้องการที่จะดูดจุกนมตลอดเวลานั้นส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาการการใช้ภาษา และการพูดที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป เพราะการที่จุกนมอยู่ที่ปากนั้นทำให้พวกเขามีความลำบากที่จะพูด และไม่อยากจะพูดในที่สุด

 

  • ฟันผิดรูป

ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะฟันผิดรูป แต่การใช้จุกนมอย่างไม่ถูกวิธีนั้นส่งผลทำให้เด็กที่มีการใช้จุกนมมีการขึ้นของฟันที่ผิดรูปไปได้ อาทิ ฟันยื่น ฟันเหยิน ฟันเก และรวมถึงสามารถทำให้รูปปากเปลี่ยนแปลงได้

 

จุกหลอก 4 จุกหลอก จุกหลอกใช้ได้ตั้งแต่กี่เดือน

บทความจากพันธมิตร
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
รีวิว นวัตกรรมนมผงสูตรล่าสุด สำหรับเด็กผ่าคลอด เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี มีดีครบ 3
รีวิว นวัตกรรมนมผงสูตรล่าสุด สำหรับเด็กผ่าคลอด เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี มีดีครบ 3
เจาะลึก เด็กยุค AI ต้องการสารอาหารอะไร นมผงสูตร 3 ยี่ห้อไหนตอบโจทย์ ช่วยเสริมสร้างสมองและการเรียนรู้ในอนาคตได้โดนใจแม่มากที่สุด
เจาะลึก เด็กยุค AI ต้องการสารอาหารอะไร นมผงสูตร 3 ยี่ห้อไหนตอบโจทย์ ช่วยเสริมสร้างสมองและการเรียนรู้ในอนาคตได้โดนใจแม่มากที่สุด

 

วิธีการใช้งานจุกนมหลอกที่ถูกต้อง วิธีเลิกจุกหลอก

การใช้จุกนมเป็นสิ่งที่บางบ้านไม่สามารถเลี่ยงได้ แต่เราสามารถทำให้การใช้จุกนมหลอกของเด็ก ๆ นั้นทำให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่าให้โทษ โดยวิธีดังต่อไปนี้

  • ก่อนหรือหลังการใช้งานให้นำจุกนมหลอกไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที และรอให้เย็นก่อนที่จะนำมาให้ทารกดูด
  • ควรมีจุกนมหลอกมากกว่า 1 อัน เพื่อใช้ทดแทนเวลาที่ทารกทำตกพื้น หรือทำหาย
  • หากอยู่ระหว่างการเดินทาง และมีความจำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดจุกนมหลอก สามารถใช้น้ำอุ่นร่วมกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเด็ก เพื่อทำความสะอาดจุกหลอกได้
  • ถ้าทารกร้องไห้ไม่หยุด และดึงจุกนมออก หรือไม่ต้องการใช้จุกหลอก ไม่ควรบังคับ หรือยัดจุกหลอกเข้าปากทารก แต่ให้ใช้วิธีการปลอบทารกด้วยวิธีอื่นทดแทน
  • การผูกจุกนมไว้กับคอของเด็กที่มีความยาวมากกว่า 6 นิ้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เนื่องจากจุกนมสามารถติดคอทารก หรือสายอาจพันคอทารกและเกิดการหายใจไม่สะดวกขึ้นได้

 

เลือกจุกหลอกอย่างไร จึงจะเหมาะสม

นอกจากจะต้องใส่ใจ และระวังเกี่ยวกับความสะอาดในการใช้จุกหลอกแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นสิ่งแรก ๆ คือการเลือกจุกหลอกที่เหมาะสมกับทารก เพราะไม่อย่างนั้นอาจเกิดอันตรายต่อทารกได้ โดยวิธีการเลือกที่เหมาะสม มีดังต่อไปนี้

 

  • ขนาด

การเลือกซื้อจุกนมในห้างสรรพสินค้า หรือร้านขายสินค้าสำหรับทารกมักจะมีป้ายเขียนกับในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับช่วงวัยของทารกไว้อย่างชัดเจน อาทิ อายุต่ำกว่า 6 เดือน 6-8 เดือน หรือ 6-12 เดือน ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะเป็นการแจ้งให้ทราบว่าขนาดไหนที่จะเหมาะสมสำหรับวัยของลูกคุณ เพราะถ้าหากเลือกจุกหลอกที่ใหญ่จนเกินไป อาจทำให้ทารกสำลักได้

บทความที่น่าสนใจ : ไซส์จุกนม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 42 เลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูก?

 

  • วัสดุจุกหลอก

เนื่องจากจุกหลอกเป็นสิ่งที่จะต้องใช้ในการดูด หรือทารกจะต้องนำสิ่งนั้นเข้าไปในปากของพวกเขา คุณต้องมั่นใจว่าวัสดุที่นำมาทำจุกหลอกนั้นปลอดภัยสำหรับลูกของคุณ สำหรับทารกบางคนอาจใช้จุกหรอกไม่ได้เนื่องจากอาจมีอาการแพ้ยาง หรือซิลิโคน

 

  • กรอบป้องกันจุกนม

ถ้าสังเกตจุกนมหลอกจะเห็นได้ว่าในส่วนฐานของจุกหลอกนั้นจะมีวัสดุอีกหนึ่งชิ้นที่คล้ายกับโล่ป้องกัน ซึ่งนั่นเป็นวัสดุที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกนั้นกลืนจุกหลอกเข้าไป โดยส่วนใหญ่แล้วควรมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป เพื่อป้องกันการสำลัก

 

จุกหลอก 6 จุกหลอกใช้ได้ตั้งแต่กี่เดือน

 

สำหรับท่านใดที่กำลังตัดสินใจในการใช้จุกหลอกก็อยากให้คิดดี ๆ นะคะ เพราะว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ของแต่ละครอบครัว ลองชั่งใจดูว่าสำหรับลูกน้อยของคุณแล้วนั้นจุกนมหลอกนั้นมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร หรือจะปรึกษาแพทย์เพื่อเป็นการช่วยตัดสินใจก็ได้นะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยของคุณ

 

บทความที่น่าสนใจ : 

ขวดนมสำหรับเด็ก ขวดนมแบบไหนเหมาะกับลูกน้อย ขวดนมแบบไหนถึงจะดี

ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน รู้ไหมว่า แค่ล้างแล้วใช้ยาวๆไม่พอนะ

จุกนมหลอก จุกนมปลอม เสี่ยงทำให้ลูกพูดช้า ฟันไม่สวย ฟันเก จริงไหม

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการใช้จุกหลอก ได้ที่นี่!

จุกหลอก ให้ทารกใช้แล้วอันตรายไหมคะ แล้วมีวิธีเลือกอย่างไรบ้างคะ

ที่มา : Mayoclinic, Healthline, Webmd, Whattoexpect

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • นมแม่และนมผง
  • /
  • จุกหลอก ใช้แล้วอันตรายหรือไม่ ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้
แชร์ :
  • แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
    บทความจากพันธมิตร

    แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด

  • MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
    บทความจากพันธมิตร

    MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

  • รีวิว นวัตกรรมนมผงสูตรล่าสุด สำหรับเด็กผ่าคลอด เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี มีดีครบ 3
    บทความจากพันธมิตร

    รีวิว นวัตกรรมนมผงสูตรล่าสุด สำหรับเด็กผ่าคลอด เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี มีดีครบ 3

  • แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
    บทความจากพันธมิตร

    แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด

  • MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
    บทความจากพันธมิตร

    MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

  • รีวิว นวัตกรรมนมผงสูตรล่าสุด สำหรับเด็กผ่าคลอด เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี มีดีครบ 3
    บทความจากพันธมิตร

    รีวิว นวัตกรรมนมผงสูตรล่าสุด สำหรับเด็กผ่าคลอด เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี มีดีครบ 3

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว