X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แพ้ถั่ว มีอาการอย่างไร? รู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่ว จัดการทำยังไง

บทความ 5 นาที
แพ้ถั่ว มีอาการอย่างไร? รู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่ว จัดการทำยังไง

แพ้ถั่ว อาการที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็ก หรือผู้ใหญ่หลาย ๆ คน ทำให้เกิดอาการแพ้ และมีปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันดีกว่าค่ะว่า แพ้ถั่ว นั้นจะมีอาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่วหรือไม่ พร้อมกับวิธีรับมือเมื่อพบว่าลูกของเรานั้นมีอาการแพ้ ไปดูกัน

 

การแพ้อาหาร คืออะไร?

การแพ้อาหารมักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของตัวบุคคลนั้น ๆ ทำปฏิกิริยาตอบสนองกับอาหารที่ทานเข้าไปอย่างไม่เหมาะสม ขั้นตอนแรกของกระบวนการที่เรียกว่าการแพ้นั้นจะเริ่มจาก ร่างกายของคุณในส่วนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำการบันทึกไว้ว่าอาหารใดเป็นภัยคุกคามต่อร่างกายของคุณ และร่างกายจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อป้องกันร่างกายของคุณจากอาหารเหล่านั้น และกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารบางอย่าง เช่น ฮีสตามีน ที่ส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้นั่นเอง

 

 

ทราบได้อย่างไรว่า ลูกแพ้ถั่ว ?

การวินิจฉัยของแพทย์ว่าลูกน้อยของคุณมีอาการแพ้ถั่วหรือไม่นั้นจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนแรกมีการตรวจอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ในใจว่าทารกนั้นไม่ได้มีอาการแพ้ส่วนผสมอื่นในอาหารเพิ่มเติม หรือไม่ได้เป็นอาการแพ้ที่เกิดจากการแพ้อาหาร โดยการวินิจฉัยของอาการแพ้ถั่ว มีดังต่อไปนี้

1. สอบประวัติ

การสอบประวัติไม่ว่าจะเป็นการประวัติการรักษาอาการแพ้ หรือประวัติของครอบครัวนั้นถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะทารกบางคนอาจเคยมีประวัติการแพ้ในอดีต หรือมีสมาชิกภายในครอบครัวที่มีอาการแพ้อาหารชนิดเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้การสรุปเป็นไปได้ง่ายขึ้น

2. ตรวจร่างกาย

เมื่อซักประวัติแล้วแพทย์จะทำการตรวจตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็น ตรวจหู ตา จมูก ลำคอทั้งด้านนอก และด้านใน หน้าอก และผิวหนังของทารก และนอกจากนี้ยังมีการตรวจการทำงานของปอด และการเอกซเรย์ปอด หรือไซนัส เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการแพ้ที่เกิดจากอาหาร ไม่ใช้อาการจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

3. การทดสอบการงดอาหาร

หลังจากตรวจสอบแล้วมีแนวโน้มที่ทารกจะเกิดอาการแพ้ถั่ว แพทย์จะทำการสั่ง หรือขอความร่วมมือให้ผู้ปกครองงดเว้นอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วไปก่อน ในช่วงเวลาที่แพทย์กำหนด

4. การทดสอบที่ผิวหนัง

แพทย์บางท่านอาจมีการทดสอบทารกของคุณด้วยการทดสอบการแพ้ถั่วด้วยการนำส่วนผสมที่คาดว่าน่าจะแพ้ทิ่มลงไปบนผิวหนังของทารก เพื่อทดสอบอาการแพ้ แต่ทั้งนี้การทดสอบการแพ้ถั่วมักไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะว่าอาจส่งผลทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

Nuts allergy

 

แพ้ถั่ว สามารถเกิดขึ้นกับการทานถั่วชนิดใดบ้าง?

อาการแพ้ถั่วนั้นมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าอาการแพ้อื่น ๆ และส่วนใหญ่มักจะเริ่มรู้ว่าทารกแพ้ถั่วหลังจากที่พวกเขาเริ่มหย่านม หรือเริ่มรับประทานอาหารที่แข็งได้แล้ว โดยคนทั่วไปนั้นสามารถแพ้ถั่วได้มากกว่า 1 ชนิด โดยถั่วที่คนส่วนใหญ่มักเกิดอาการแพ้ มีดังต่อไปนี้

  • ถั่วลิสง

ถั่วลิสง นั้นเป็นถั่วชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก และจะพบว่ามีปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าถั่วอื่น ๆ ซึ่งการได้รับปริมาณถั่วลิสงเพียงเล็กน้อยในผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วลิสงก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้จากการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าหากทารกที่มีอาการแพ้ถั่วลิสงนั้น มักจะไม่มีปฏิกิริยา หรืออาการแพ้ถั่วอื่นเพิ่มเติม

  • ถั่วเหลือง

การแพ้ถั่วเหลืองนั้นเป็นเรื่องปกติมากที่สามารถหาได้ทั่วทุกมุมโลก พบว่าอาการแพ้นมถั่วเหลืองนั้นมีมากกว่าการแพ้นมวัว ไข่ ถั่วลิสง และปลา เป็นต้น ซึ่งอาการแพ้ถั่วเหลืองจะไม่รุนแรงเท่ากับการแพ้ถั่วชนิดอื่น โดยปฏิกิริยาส่วนใหญ่ของร่างกายที่มีต่อถั่วเหลืองนั้นจะเกี่ยวข้องกับบางส่วนของร่างกายเท่านั้น อาทิ ลมพิษบนผิวหนัง หรือมีอาการบวมในปาก เป็นต้น

บทความเพิ่มเติม : เปรียบเทียบสารอาหารในนม นมแพะ นมวัว นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมแบบไหนเหมาะกับเบบี๋?

 

อาการแพ้ถั่วในทารกมีอะไรบ้าง?

อาการของโรคภูมิแพ้ถั่วจะแตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน สำหรับทารกบางคนอาจมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการที่รุนแรง โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

  • อาการแพ้ส่งผลกระทบต่อผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยจะขึ้นเป็นผื่นบวมแดง และถ้าหากมีอาการที่รุนแรงจะเกิดเป็นผื่นลมพิษได้
  • รู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการคันในปาก ลำคอ ริมฝีปาก หรือทั่วใบหน้า
  • ปวดท้อง เหมือนท้องเสีย หรือมีอาการคล้ายลำไส้บีบตัว
  • อาเจียน และไอ
  • หายใจมีเสียงดังฮืด ๆ
  • หายใจลำบาก และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น
  • เกิดภูมิแพ้อย่างรุนแรง หรือ Anaphylaxis ซึ่งทำให้หายใจไม่ออก และหายใจลำบาก

 

ลูกแพ้ถั่ว ทำอย่างไรดี?

การจัดการกับโรคแพ้ถั่ว หรือการลดความรุนแรงของอาการนั้นสามารถทำได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำอย่างถูกวิธี หรือทำตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น โดยเบื้องต้นสามารถช่วยลูกได้ดังต่อไปนี้

  • ใช้น้ำเกลือล้าง

หากลูกน้อยของคุณมีอาการคันจมูกเนื่องจากอาการแพ้ การล้างสวนจมูกอาจช่วยบรรเทาอาการคันได้ แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องไปเรียนรู้วิธีการ และปริมาณน้ำเหลือที่จะใช้จากแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของทารก

  • ทาครีม หรือใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์

เนื่องจากอาการแพ้ถั่วที่ไม่รุนแรงนั้นมักจะมีแค่เพียงการระคายเคืองทางร่างกายที่อาจทำให้เกิดผื่นแดงขึ้นตามร่างกายของทารก ดังนั้นจะใช้ครีม หรือคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบทาบริเวณที่เกิดผื่นขึ้นนั้นจะทำให้บรรเทาอาการลมพิษ และผดผื่นได้

  • ยาแก้แพ้

อีกหนึ่งตัวช่วยที่ได้ผลชะงัด แต่ก็อันตรายมากมาย โดยยาในกลุ่มยาแก้แพ้นั้นจะช่วยให้อาการจาม อาการคัน อาการน้ำมูกไหล และลมพิษเบาลงได้ แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ควรใช้สำหรับเด็กเล็ก และการรับประทานที่ถูกต้อง เพื่อยับยั้งอาการดังกล่าว

  • การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ทางจมูก

การฉีดพ่นสเปรย์คอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไปทางจมูกของทารกนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้ทางจมูกได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปแล้วจะช่วยบรรเทาอาการบวมที่อาจเกิดจากการที่น้ำมูกไหล และคันอย่างต่อเนื่อง

แต่ถึงอย่างไรก็ตามจากวิธีการข้างต้นนั้น คุณไม่ควรให้ยาภูมิแพ้ หรือทำการกระทำใด ๆ ด้วยตนเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เป็นอันขาด เพราะแพทย์นั้นจะคำนึงถึงอายุของทารก ความรุนแรงของอาการ และสุขภาพด้านอื่น ๆ ของทารกเพื่อทำการรักษาด้วย ซึ่งจะปลอดภัยมากกว่าการที่คุณตัดสินเองว่าทารกของคุณควรให้ยาอะไร และปฏิบัติอย่างไรในช่วงที่มีอาการ

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

 

Nuts allergy

 

สามารถป้องกันลูกจากการแพ้ถั่วได้หรือไม่

การหลีกเลี่ยงอาการแพ้ถั่วนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะว่าถ้าหากคุณหมั่นสังเกต และใส่ใจในการเลือกอาการที่จะให้แก้ทารกแล้วนั้นก็สามารถหลีกเลี่ยงอาการแพ้ถั่วได้เป็นอย่างดี โดยสามารถป้องกันลูกน้อยของคุณจากอาการแพ้ถั่วได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

ถ้าเป็นไปได้ คุณควรให้ทารกห่างไกลจากถั่วมากที่สุด หรือเท่าที่จะทำได้ หรือถ้าหากทารกแพ้ถั่วแค่บางชนิด คุณก็สามารถนำถั่วอื่น ๆ มาประกอบอาหารให้แก้พวกเขาได้ ถ้าหากพวกเขาไม่เกิดอาการแพ้ หรือคุณสามารถเข้าพูดคุยกับนักโภชนาการ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาอาหารที่ดีที่สุด เพื่อมาทดแทนถั่วในอาหารของทารกได้

  • ตรวจสอบฉลาก

ถั่วมักจะถูกใส่ลงไปในอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป ซึ่งในบางครั้งคุณอาจนึกไม่ถึง ดังนั้นการที่คุณซื้ออาหารมาจากนอกบ้าน หรือผลิตภัณฑ์สะดวกทานมาจากซูเปอร์มาร์เก็ตควรตรวจสอบส่วนผสมในฉลากให้เป็นอย่างดี เพราะในอาการอาจพบสารก่อให้เกิดภูมิแพ้แก่ทารกได้

  • พยายามทำอาหารทานเอง

การเลือกทำอาหารทานเองที่บ้าน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ถั่วได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถึงอย่างไรคุณก็ควรตรวจสอบฉลากให้เป็นอย่างดี และมั่นใจว่าอาหารนั้นปลอดภัย หรือไม่ก็เลือกเมนูอื่นที่ทำจากผักสด ผลไม้สด เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการ

ในทางกลับกันที่คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องของอาการแพ้ของทารก แต่ส่วนใหญ่แล้ว ทารกจะมีการเติบโตมากกว่าอาการแพ้เสียอีก แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็ยังจะต้องระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้

 

บทความเพิ่มเติม : อาหารสำหรับเด็ก วัย 4-12 เดือน รวมตัวอย่างเมนูอาหารทารก พร้อมวิธีทำง่าย ๆ

 

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับอาการแพ้ถั่วในเด็ก ถึงแม้ว่าอาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปก็อย่านิ่งนอนใจไปนะคะ เพราะอาการแพ้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งนี้การจัดการกับอาการแพ้ในระยะยาวนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยาก เพราะว่ามีอาหารอีกมากมายที่จะสามารถทดแทนถั่วได้ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสอบถามแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำได้นะคะ

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แพ้เหงื่อ มีอาการอย่างไร คนท้องแพ้เหงื่อ จะเป็นอันตรายหรือไม่

ลูกแพ้ขนสัตว์ควรจัดการอย่างไร? เมื่อมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน

ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • แพ้ถั่ว มีอาการอย่างไร? รู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่ว จัดการทำยังไง
แชร์ :
  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ