ปวดกล้ามเนื้อ เรียกได้ว่าเป็นภาวะที่หลาย ๆ คนจะต้องเคยพบเจอ ซึ่งถือเป็นอาการที่ทรมานร่างกายมาก ๆ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นประจำบ่อยครั้งก็จะมีอาการปวดหลัง ปวดขา ปวดคอ เป็นต้น ซึ่งอาการปวดเหล่านั้นล้วนเกิดการจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน หรือไม่ก็เกิดจากบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย บทความวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อว่าเกิดขึ้นจากอะไร และมีอาการอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และวิธีป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ ไปดูกันเลยค่ะ
ปวดกล้ามเนื้อเกิดจากอะไร
ปัญหาการปวดกล้ามเนื้อถือเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนจะต้องเคยพบเจอ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การออกกำลังกายผิดท่า จนทำให้ได้รับการบาดเจ็บ หรือการใช้กล้ามเนื้อบริเวณเดิมซ้ำ ๆ จนทำให้กล้ามเนื้อนั้นเริ่มตึง ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะความเครียด หรือไม่ก็อาจจะเป็นการนั่งทำงานด้วยท่าทางการนั่งที่ผิด เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้น
อาการปวดกล้ามเนื้อ
เมื่อคุณใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักบริเวณเดิมซ้ำ ๆ คุณก็จะเริ่มมีอาการปวดระบม และปวดร้าวในกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการปวดระบมสามารถเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อเพียงจุดเดียว หรือกล้ามเนื้อทั่วร่างกายได้ ซึ่งหลายระดับความปวดระบมของกล้ามเนื้อสามารถปวดเพียงเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงจนทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นได้ ซึ่งการอักเสบของกล้ามเนื้ออาการส่วนใหญ่ที่จะเกิดขึ้นก็จะมีอาการบวมแดง และเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนั้น ถ้าหากเข้าข่ายมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันทีนะคะ
ภาวะแทรกซ้อนอาการ ปวดกล้ามเนื้อ
สำหรับการปวดกล้ามเนื้อก็อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้เช่นกันค่ะ อย่างเช่น อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ซึ่งโรคนี้จะเป็นโรคของกลุ่มอาการปวดเรื้อรัง เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้นเป็นประจำ ก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจียขึ้นได้ ซึ่งโรคนี้มักจะมีการปวดตามร่างกายเกิดขึ้นหลายจุด โดยเฉพาะเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออ่อน เป็นต้น
นอกจากนี้ จะมีความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ เนื่องจากเมื่อร่างกายนั้นมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายเกิดขึ้น ก็อาจจะส่งผลต่อการนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่สนิท และจะต้องคอยจัดท่าทางการนอนให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเกิดขึ้นค่ะ
ปวดกล้ามเนื้อ กี่วันหาย
สำหรับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น ถ้าหากไม่ได้มีอาการหนักมากระยะเวลาที่จะหายเองก็คือ 1-5 วัน หรือไม่ก็สามารถนำยามาทาแก้ปวด หรือสเปรย์ฉีดแก้ปวดมาใช้ในการรักษาเบื้องต้นได้ค่ะ ก็จะช่วยให้อาการทุเลาลงเร็วขึ้น และถ้าหากรู้สึกว่ามีอาการปวดที่หนักขึ้นก็ควรไปพบแพทย์ให้ทำการตรวจสอบอาการ และรักษาตามขึ้นที่เห็นสมควร ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง และทำให้ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!
การตรวจวินิจฉัยอาการปวดกล้ามเนื้อ
สำหรับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เริ่มแรกแพทย์จะเริ่มด้วยการสอบถามอาการปวดที่เกิดขึ้นว่าอยู่ในระดับไหน รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น มีไข้ ร่วมด้วยไหม เป็นต้น และถ้าหากใครเคยมีประวัติในการรักษาก่อนหน้านี้ รวมถึงโรคประจำตัวต่าง ๆ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจจะมีการสอบถามเพิ่มเติมค่ะ พอสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเสร็จสิ้นแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะทำการตรวจร่างกาย เพื่อระบุสาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น ซึ่งวิธีการตรวจร่างกายที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจก็จะมีวิธีการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็เป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
วิธีป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ
- การป้องกันการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง เช่น ก่อนที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเป็นหลัก แนะนำให้ยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายร่างกายก่อนนะคะ เพราะการยืดกล้ามเนื้อก่อนที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้น จะถือเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บในระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้
- ควรปรับท่าทางให้เหมาะสม เพื่อความสมดุลของร่างกาย ไม่ควรก้มคอ หรือหลังมากจนเกินไป หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น นั่งนาน ๆ เกิน 2-3 ชั่วโมง แล้วก็ไม่ควรเกร็งกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานานเช่นกัน เช่น สะพายกระเป๋าที่หนักเกินไปจนเกิดอาการเกร็งบริเวณกล้ามคอ ไหล่ และหลัง
- ถ้าหากใครที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งทำงาน ด้วยการลุกขึ้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อในบางครั้ง เพื่อที่จะได้ช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ ซึ่งวิธีป้องกันนี้จะช่วยให้นั่งทำงานได้สบายขึ้น ลดโอกาสในการเกิดความปวดเมื่อยตามร่างกายเกิดขึ้น
- การที่คุณอยู่ในภาวะที่เกิดความเครียด ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อขึ้นได้ เพราะกล้ามเนื้อจะเกิดอาการเกร็งอัตโนมัติ ซึ่งบริเวณส่วนใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้นก็จะมี บริเวณหลัง ไหล่ และคอ เป็นต้น เมื่ออาการเครียดของคุณได้หายไปก็จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น หรือถ้าหากใครที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากความเครียด ก็สามารถยืดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดความตึงเครียดในกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นได้นะคะ จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ดีขึ้น แต่ทางที่ดีพยายามอย่าทำให้ร่างกายนั้นเกิดความเครียดสะสมจะดีที่สุดค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : โยคะแก้ปวดหลัง รวมท่าแก้ปวดหลัง โยคะง่าย ๆ ทำตามได้ที่บ้าน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับ สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน อาการ ปวดกล้ามเนื้อ ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรียกได้ว่าเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็น จากการนั่ง การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ความเครียด รวมไปถึงการเสื่อมของกระดูก เป็นต้น ซึ่งอาการปวดของกล้ามเนื้อก็จะมีระดับความเจ็บปวดที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความรุนแรง ซึ่งอาการปวดกล้ามเนื้อสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 24-72 ชั่วโมง เมื่อมีอาการเกิดขึ้นควรทำการรักษาทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนเกิดอาการเรื้อรังนะคะ
หรือถ้าหากใครมีอาการที่ไม่รุนแรงมากก็สามารถใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้ ซึ่งยาคลายกล้ามเนื้อในปัจจุบันจะมีทั้งแบบเม็ดยา แบบทา แบบสเปรย์ ซึ่งจะมีฤทธิ์ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลงได้ค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คุณแม่ตั้งครรภ์นวดได้หรือไม่? แล้วการนวดแบบไหนที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่
คนท้องว่ายน้ำได้ไหม ว่ายน้ำแล้วลดอาการปวดเมื่อย ช่วยให้คลอดง่ายจริงมั้ย?
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อะไรคือสาเหตุทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง?
ที่มา : pobpad, thaihealth, medparkhospital
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!