X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เสี่ยงแท้งลูก? คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความ 5 นาที
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เสี่ยงแท้งลูก? คุณแม่ไม่ควรมองข้ามโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เสี่ยงแท้งลูก? คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่ดีต่อคนท้องยังไง และส่งผลอันตรายต่อคนตั้งครรภ์ได้บ้าง? เป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้หากไม่ระวัง มาดูกันว่าโรคนี้เป็นยังไง อันตรายยังไง แล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง

 

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน คืออะไร?

อาการบ้านหมุน วิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ หรือที่เรามักเรียนกันว่า โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือทางการแพทย์จะเรียกว่า โรคเมเนียร์ (Meniere) ที่เป็นความผิดปกติของหูชั้นในที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ มีเสียงเหมือนบางอย่างในหู หรือหูอื้อ และความรู้สึกแน่น หรือกดทับในหู ซึ่งอาจส่งผลทำให้การสูญเสียการได้ยินได้ โดยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นจะเกิดขึ้นกับทุกเพศ และทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ถึง 60 ปีในอัตราส่วน 2 คนต่อ 1,000 คน

บทความที่น่าสนใจ : คนท้องหูอื้อ เกิดจากอะไร มีวิธีแก้อาการหูอื้อในคนท้องอย่างไรบ้าง

 

สาเหตุของโรคมาจากอะไร?

สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นยังไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด แต่ในวงการแพทย์ได้นิยามโรคนี้ว่ามาจากของเหลวที่ถูกสร้างขึ้นภายในส่วนหนึ่งของหูชั้นใน หรือที่เรียกว่าแลบบิรินท์ (labyrinth) ที่ทำหน้าที่ในการได้ยินเสียง และการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งการที่เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นคาดว่าเป็นการที่ของเหลวในชั้นหูนั้น หรือในร่างกายของเรามีปริมาณที่มากเกินไป จนไปรบกวนระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และมีปัญหาทางการได้ยิน โดยการที่ทางการแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้เพราะว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนี้ ที่อาจเป็นไปได้เพียงแค่หนึ่งปัจจัย หรือหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่

    • การระบายน้ำในหูไม่ดี เนื่องจากการอุดตัน หรือมีโครงสร้างของหูที่ผิดปกติ
    • การตอบสนองต่อภูมิต้านทานของเนื้อเยื่อในหู เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานถูกทำลาย
    • อาการแพ้บางอย่าง
    • ความเครียด ความเหนื่อยล้า
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน 5

ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

    • การติดเชื้อไวรัส
    • ความบกพร่องทางพันธุกรรม
    • การถูกทำร้ายที่ศีรษะ
    • ปวดหัวไมเกรน
    • ความกัดดัน ความเจ็บป่วยทางสภาพจิตใจ
    • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
    • การบริโภคอาหารบางชนิด หรือบริโภคเกลือมากเกินไป

บทความที่น่าสนใจ : ไมเกรน ปวดไมเกรนตอนท้องทำไงดี อันตรายไหม เป็นสัญญาณร้ายหรือเปล่า

 

อาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นอย่างไร?

สำหรับอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นมักจะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว และเรื่องของการได้ยิน หรืออาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับหูของเรานั่นเอง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    1. อาการเวียนศีรษะ คุณจะรู้สึกว่าทุกสิ่งรอบข้างตัวจะเริ่มหมุนอย่างช้า ๆ ซึ่งอาการนี้จะไม่มีอาการเตือนใด ๆ ก่อน และจะแสดงอาการประมาณ 20 นาทีถึงหลายชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ถ้าหากอาการเวียนหัวรุนแรง อาจส่งผลทำให้เกิดการอาเจียนขึ้นได้
    2. การสูญเสียการได้ยิน ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กับอาการเวียนศีรษะในช่วงเริ่มต้นของอาการ โดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะสูญเสียการได้ยินแบบถาวรชั่วครู่ หรือตลอดจนกว่าจะหายอาการเวียนศีรษะ
    3. มีเสียงอยู่ในหู อาจเป็นเสียงหวีด หรือเสียงคำรามบางอย่างดังก้องอยู่ในหูอยู่ตลอดเวลา หรือมีอาการคล้ายกับคนหูอื้อนั่นเอง

นอกจากนี้โรคน้ำในหูที่ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดแล้ว อาการแทรกซ้อนของโรคนี้ก็ไม่สามารถคาดเดาได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการที่คุณไม่คาดคิดอย่าง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดความเครียด ไปจนถึงผลกระทบต่อการที่เป็นโรคดังกล่าว อาจส่งผลทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุก็เป็นได้

 

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน 2

 

ทำไมคนท้องที่เป็นโรคนี้ถึงเสี่ยงต่อการแท้งลูก?

เนื่องจากอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นอาการที่พบส่วนใหญ่นอกจากมีปัญหาที่หูแล้ว ยังส่งผลเรื่องของการทรงตัวอีกด้วย หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เป็นโรคน้ำในหูขึ้นมาแล้วหละก็ อาจส่งผลทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง จนทรงตัวไม่อยู่ และทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างการหกล้ม หรือตกบันไดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนสามารถแท้งบุตรได้ ทั้งนี้อาการโดยรวมอย่างอื่นของโรคนั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มากนัก แต่คุณแม่ก็ต้องระวังในเรื่องของความเครียดขณะที่เป็นโรคนี้ด้วย เพราะอาการต่าง ๆ อาจส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่จนเกิดความเครียด หรือความวิตกกังวลได้

บทความที่น่าสนใจ :  ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อ การแท้งลูก แม่ท้องต้องรู้ก่อนสายเกินไป !

 

การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน มีวิธีการใดบ้าง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน นอกจากสาเหตุ และอาการแทรกซ้อนแล้ว วิธีการรักษาก็ยังไม่มีการระบุ หรือผลของการทดลองวิจัยสรุปว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่มีการรักษาที่ตายตัว หรือแน่ชัด โดยวิธีการรักษานั้นจะรักษาตามอาการของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถรักษาได้ตั้งแต่วิธีการใช้ยา ไปจนถึงการผ่าตัดเลยทีเดียว โดยรายละเอียดการรักษามีดังต่อไปนี้

 

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน 4

 

  • การบรรเทาอาการด้วยตัวเอง

หากคุณไม่มีอาการรุนแรงมากนัก คุณก็สามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยตนเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณชั่วขณะ เพื่อบรรเทาต่าง ๆ ดังนี้

    • อยู่นิ่ง หรือพักผ่อนระหว่างที่มีอาการเวียนศีรษะ ไม่ลุกเดินไปยังพื้นที่ต่างระดับ หรือที่ที่อาจก่อนให้เกิดความอันตรายหากล้ม
    • รับประทานอาหาร เพื่อช่วยควบคุมของเหลวในร่างกาย เพราะบางครั้งคุณแม่อาจทานเกลือ หรือโซเดียมในปริมาณที่มากจนเกินไป จนทำให้เกิดอาการบวมน้ำ และส่งผลถึงการมีน้ำในร่างกายมากจนเกินไป
    • จัดการความเครียด และความวิตกกังวลด้วยจิตบำบัด หรือยา
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่
  • การใช้ยาในการรักษา

เมื่อคุณไปพบแพทย์แล้วนั้น แพทย์จะสั่งจ่ายแก้อาการเมาให้กับคุณ เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หากมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วยแพทย์ก็จะสั่งยาเพิ่มให้กับคุณในเบื้องต้น นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งจ่ายยาขับปัสสาวะให้กับคุณ เพื่อช่วยลดปริมาณของเหลวในร่างกายได้อีกด้วย หรือแม้แต่การฉีดยาเข้าไปที่บริเวณหูชั้นใน และชั้นกลางเพื่อลดอาการวิงเวียนศีรษะที่รุนแรง

  • กายภาพบำบัด

วิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะให้ดีขึ้นได้ โดยการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟู และการรักษาสมดุลของร่างกายให้กลับมาเป็นดังเดิม ซึ่งการกายภาพบำบัดนี้จะต้องทำโดยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน 3

กายภาพบำบัดเป็นวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันให้ดีขึ้นได้ เพื่อการรักษาสมดุลของร่างกายให้กลับมาเป็นดังเดิม

  • ศัลยกรรม

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ เพราะการผ่าตัดนั้นเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ประสบความสำเร็จ ขั้นตอนการรักษาด้วยการผ่าตัด (Endolymphatic Sac Surgery) ก็เพื่อระบายน้ำในหูชั้นในออกนั่นเอง

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

 

การแท้งบุตรด้วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันของคุณแม่ไม่ได้เป็นสาเหตุจากโรคที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นสามารถแท้งบุตรได้โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมของอาการที่เกิดขึ้นของโรคเพียงเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรที่จะระวังให้มากขึ้น เพราะถึงแม้ว่าอาการของโรคจะไม่ได้ร้ายแรง แต่ผลของอาการอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณแม่ได้

 

บทความที่น่าสนใจ :

วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !

ผลไม้ ฤดูฝน สำหรับคนท้อง ผลไม้ชนิดไหนกินแล้วดี มีประโยชน์ต่อแม่และเด็ก

7 ประเภทอาหาร ดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ล้างสารพิษในลำไส้

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เสี่ยงแท้งลูก? คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
แชร์ :
  • โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

    โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

  • โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

    โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • 500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

    500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

app info
get app banner
  • โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

    โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

  • โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

    โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • 500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

    500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ