X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

บทความ 5 นาที
เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ภาวะท้องนอกมดลูก ที่ไม่ได้รับการรักษา บางกรณีอาจพัฒนาไปสู่การกลายเป็น ทารกหิน บทความนี้จะเล่าให้คุณแม่ฟังว่า ทารกหินคืออะไร? อันตรายแค่ไหน?

ภาวะท้องนอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนฝังตัวนอกโพรงมดลูก ซึ่งเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน แต่หากไม่ได้รับการรักษา บางกรณีอาจพัฒนาไปสู่การกลายเป็น “ทารกหิน” (Lithopedion) บทความนี้จะเล่าให้คุณแม่ฟังว่า ทารกหินคืออะไร อันตรายแค่ไหน? 

 

ท้องนอกมดลูก ภาวะอันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

โดยปกติแล้ว เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ตัวอ่อนจะฝังตัวและเติบโตในโพรงมดลูก แต่ในภาวะ “ท้องนอกมดลูก” ตัวอ่อนกลับไปฝังตัวในที่ที่ไม่ใช่ เช่น ท่อนำไข่ (ซึ่งพบบ่อยที่สุด) รังไข่ หรือแม้แต่ในช่องท้อง

อะไรคือสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้? ก็มีหลายอย่าง เช่น การเคยมีการ อักเสบในอุ้งเชิงกราน การเคยผ่าตัดที่ท่อนำไข่ หรือการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ก็อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดท้องนอกมดลูกได้

อาการที่บ่งบอกถึงภาวะนี้มักจะรุนแรง เช่น ปวดท้องอย่างเฉียบพลัน มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หน้ามืด หรือ เป็นลม

“ท้องนอกมดลูก” ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายต่อทั้งแม่และเด็ก หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หากตรวจพบท้องนอกมดลูกในระยะเริ่มต้น และยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์จะพิจารณา ผ่าตัดเพื่อนำตัวอ่อนออก หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ให้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์โดยไม่ต้องผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าทึ่งคือ ผู้หญิงบางคนสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายสิบปีโดยที่ทารกในครรภ์ที่เสียชีวิตแล้วยังคงอยู่ในช่องท้อง และร่างกายจะค่อยๆ สร้างแคลเซียมมาห่อหุ้มจนกลายเป็นเหมือนหิน ซึ่งเรียกว่า “ทารกหิน” (lithopaedion) นั่นเอง

 

ทารกหิน

 

Advertisement

ทารกหิน คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เมื่อเกิดภาวะท้องนอกมดลูกและไม่ได้รับการรักษา ร่างกายจะพยายามจัดการกับการตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้นี้เอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดสิ่งที่เรียกว่าทารกหิน แต่ต้องย้ำว่ากรณีนี้ เกิดขึ้นได้ยากมากๆ เพราะส่วนใหญ่แล้ว ท้องนอกมดลูกจะถูกตรวจพบและรักษาได้ก่อนที่จะพัฒนาไปถึงขั้นนี้

กลไกการเกิดทารกหินมี 2 รูปแบบหลักๆ คือ

  • Lithokelyphos : ร่างกายจะเริ่มสะสมแคลเซียมมาห่อหุ้มรอบๆ ตัวอ่อนที่เสียชีวิตแล้ว แต่เยื่อหุ้มไข่ยังคงอยู่ ทำให้เกิดเป็นเหมือนเปลือกหินแข็งๆ หุ้มตัวอ่อนไว้
  • Lithopedion : แคลเซียมจะเข้าไปสะสมโดยตรงบนตัวอ่อนที่ตายแล้วและเนื้อเยื่อรอบๆ ทำให้ตัวอ่อนทั้งหมดกลายเป็นเหมือนหิน

 

ทารกหิน อันตรายแค่ไหน?

แม้ว่า ทารกหิน อาจดูเหมือนเป็นเรื่องแปลก แต่การมีสิ่งนี้อยู่ในร่างกายเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น

  • การกดเบียดอวัยวะภายใน ทารกหินที่อยู่ในช่องท้องอาจไปกดทับอวัยวะข้างเคียง ทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นผิดปกติ
  • การอักเสบเรื้อรัง ร่างกายอาจเกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมนี้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
  • การเกิดพังผืด การอักเสบอาจนำไปสู่การสร้างพังผืด ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งและอาจดึงรั้งอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดอาการปวดหรือการทำงานที่ผิดปกติ
  • การติดเชื้อ แม้จะไม่พบบ่อยนัก แต่ก็มีความเสี่ยงที่ทารกหินจะกลายเป็นแหล่งของการติดเชื้อได้

อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีทารกหิน ได้แก่ ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืด ท้องผูก หรือ ปัสสาวะลำบาก

ถึงแม้บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ แต่แพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังแนะนำให้ ผ่าตัดนำทารกหินออก เนื่องจากอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ การผ่าตัดจึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

ทารกหิน เรื่องราวน่าทึ่งจากทั่วโลก

รายงานของ Daniel Tien ในปี 1949 ได้ศึกษาเรื่องทารกหินอย่างละเอียด โดยรวบรวมกรณีที่เคยมีรายงานไว้ถึง 247 เคส 

จากการศึกษาพบว่า 2 ใน 3 ของกรณีที่ข้อมูลชัดเจน เกิดจากการ ตั้งครรภ์ที่ท่อนำไข่ ในขณะที่เพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่เกิดจากการตั้งครรภ์ในช่องท้อง รายงานยังระบุด้วยว่า ทารกหินมักจะเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วง เดือนที่ 4 ถึงครบกำหนดคลอด โดยเฉลี่ยคือประมาณ เดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์

ทารกหินถูกตรวจพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 23 ถึง 100 ปี (เฉลี่ย 55 ปี) และมากกว่าครึ่งหนึ่งตรวจพบหลังจาก หมดประจำเดือน แล้ว 

ที่น่าทึ่งคือ ก่อนที่จะถูกค้นพบ ทารกหินอยู่ในร่างกายผู้หญิงเป็นเวลานานตั้งแต่ 4 เดือนไปจนถึง 60 ปี (เฉลี่ย 22 ปี) 

มีผู้หญิงถึง 9 คนที่ไม่รู้ตัวว่ามีทารกหินอยู่ในท้องนานกว่า 50 ปี ก่อนที่จะตรวจพบ! ที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าคือ ในหลายกรณี ผู้หญิงยังสามารถ ตั้งครรภ์และคลอดลูกได้ตามปกติ โดยที่ในร่างกายยังมีทารกหินอยู่ด้วย

 

ทารกหิน

 

ทารกหินอยู่ในท้องนานถึง 37 ปี

รายงานอีกชิ้นของ Craig Frayer และ Milo Hibbert ในปี 1999 เล่าถึงกรณีของผู้หญิงอายุ 67 ปี ที่พบว่ามี “ทารกหิน” อยู่ในท้องนานถึง 37 ปี โดยที่ไม่เคยรู้ตัวมาก่อน สาเหตุเกิดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูกในช่องท้องที่ไม่ได้รับการตรวจพบ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ผู้หญิงคนนี้มาโรงพยาบาลฉุกเฉินด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เมื่อเอ็กซ์เรย์ก็พบโครงกระดูกทารกอยู่ในช่องท้องระหว่างกระดูกเชิงกรานกับซี่โครง ผลตรวจการตั้งครรภ์เป็นลบ และการตรวจภายในก็พบว่ามดลูกมีขนาดปกติสำหรับผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว เธอเคยได้รับการวินิจฉัยเมื่อ 37 ปีก่อนว่า “ตั้งครรภ์ไม่สมบูรณ์” แต่ตอนนั้นเธอปฏิเสธการรักษา และหลังจากนั้นก็ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ที่น่าทึ่งคือ ในช่วง 37 ปีนั้น เธอยังตั้งครรภ์และคลอดลูกเองได้ตามปกติ อีกด้วย!

 

ฝาแฝดกลายเป็นหิน

อีกกรณีศึกษาที่หายาก เป็นเคสที่เกี่ยวข้องกับฝาแฝด จากรายงานในปี 1952 โดย Keeling Roberts

ประมาณ 1 ปีครึ่งหลังจากคลอดลูก หญิงอายุ 29 ปีคนหนึ่งไปหาหมอเพราะประจำเดือนมาไม่ปกติ หมอตรวจร่างกายแล้วบอกว่าเธอน่าจะตั้งครรภ์ได้ 5-6 สัปดาห์ อีกสองเดือนต่อมา เธอปวดท้องน้อยด้านขวา และหมอตรวจพบว่ามดลูกของเธอขยายใหญ่ขึ้นเกือบถึงสะดือ

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 30 สัปดาห์ หมอได้ยินเสียงหัวใจทารกเต้นเพียงคนเดียว และเมื่อเอ็กซ์เรย์ก็ยืนยันว่ามีทารกปกติแค่คนเดียว ส่วนตัวผู้ป่วยเองก็ดูแข็งแรงดี เดือนต่อมา หมอตรวจพบว่าทารกอยู่ในท่าก้น แต่ก็สามารถแก้ไขให้กลับหัวได้ง่ายๆ

เมื่อเลยกำหนดคลอดไปสองสัปดาห์ หมอจึงตัดสินใจกระตุ้นให้คลอด และการคลอดก็เริ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่ สิ่งที่ทุกคนต้องตกใจก็คือ พบว่ามี ทารกอีกคนหนึ่งที่มีหินปูนเกือบทั้งหมดห่อหุ้มอยู่ ติดอยู่ที่ด้านหลังศีรษะของทารกที่กำลังจะคลอด! บริเวณรกมีเนื้อเยื่อตายบ่งบอกตำแหน่งของสายสะดือที่เคยเชื่อมไปยังทารกหิน ซึ่งน่าจะเสียชีวิตไปในช่วงประมาณครึ่งทางของการตั้งครรภ์

จะเห็นได้ว่า ทารกหินเป็นผลจากการที่ร่างกายพยายามตอบสนองต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ และแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันน่าทึ่งและความซับซ้อนของร่างกายผู้หญิง แม้ว่าจะยังไม่พบเคสทารกหินในประเทศไทย แต่การท้องนอกมดลูก ก็เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ดังนั้น คุณแม่ควรฝากท้องแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะสามารถตรวจพบภาวะท้องนอกมดลูกได้อย่างทันท่วงที และรักษาได้ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ทารกหินนั่นเองค่ะ

 

ที่มา : psychologytoday

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องฝันว่าแท้ง ฝันว่าแท้งลูก ฝันว่าทำแท้ง ทำนายฝันว่าอะไร จะแท้งจริงไหม

13 วิธีช่วยบรรเทา คนท้อง ร้องไห้ แม่ท้องเครียดเสี่ยงแท้ง ลูกเสี่ยงซึมเศร้า

7 โรคติดเชื้อที่คนท้องต้องระวัง อันตรายต่อลูกในท้อง!

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว