TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อข้องใจ! หมดประจำเดือน ในวัย 40 ถือว่าผิดปกติหรือไม่?

บทความ 5 นาที
ไขข้อข้องใจ! หมดประจำเดือน ในวัย 40 ถือว่าผิดปกติหรือไม่?

วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนเป็นผลมาจากรังไข่หยุดทำงาน จึงไม่มีการตกไข่ และหยุดสร้างฮอร์โมนเพศ โดยเฉลี่ยผู้หญิงไทยจะหมดประจำเดือนในช่วงอายุประมาณ 50 ปี แต่การเปลี่ยนแปลงร่างกายจะเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 30 ปลาย ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบช้า ๆ และพอเข้าสู่วัย 40 ระดับฮอร์โมนจะผันผวนอย่างชัดเจน ประจำเดือนหมดเร็วกว่าปกติ ซึ่งแสดงว่า สัญญาณของภาวะ หมดประจำเดือน ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วนั่นเอง

 

จะรู้ได้อย่างไรว่า เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ข้อบ่งชี้ว่าคุณแม่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน คือ การไม่มีประจำเดือนติดต่อกัน 12 เดือนในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่วมกับมีการผิดปกติ ต่อไปนี้

  • อาการร้อนวูบวาบ บางครั้งมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืนขณะนอนหลับ
  • นอนไม่หลับ หรือหลับยาก ตื่นบ่อย ๆ กลางดึก หรือตื่นเช้ากว่าปกติ
  • อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวหมดแรง เพราะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และซึมเศร้า
  • ช่องคลอดแห้ง และมีความรู้สึกทางเพศลดลง

แต่หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ก่อนวัย 40 ปี ถือว่าเข้าข่ายหมดประจำเดือนก่อนวัยค่ะ

 

สาเหตุที่ทำให้หมดประจำเดือนก่อนวัย ประจำเดือนหมดเร็วกว่าปกติ

สุขภาพของคุณแม่เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสมบูรณ์และความปกติของประจำเดือน หากสุขภาพโดยรวมดี ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะผลิตตอนกลางคืนเมื่อเรานอนหลับสนิท ก็จะหลั่งออกมาดี รังไข่ก็ทำงานเป็นปกติเพราะได้รับการกระตุ้น การผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนก็เป็นไปตามปกติ วงจรของการตกไข่ก็เกิดขึ้น

แต่ในปัจจุบันคุณแม่หลายท่าน ทำงานหนัก นอนดึก รับประทานอาหารไม่ถูกส่วน ไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมไม่ดี ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ได้ไม่ดีต่อเนื่องหลายปี หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ไม่ช้ารังไข่จะหยุดทำงาน ซึ่งเป็นที่มาของการหมดประจำเดือนก่อนวัย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประจำเดือนไม่มา อย่าชะล่าใจ เช็ก 8 สาเหตุที่อันตรายกว่าที่คิด

 

หมดประจำเดือน

 

เตรียมรับมือเมื่อหมดประจำเดือน

ปัญหาสุขภาพที่มักพบในวัยหมดประจำเดือน ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โดยผู้หญิงทุก ๆ 1 ใน 4 รายเป็นโรคกระดูกพรุนหลังหมดประจำเดือน อย่างไรก็ตาม โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันได้ โดยวิธีที่ดีที่สุดคือต้องสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี ดังนี้

  1. การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ไข่ ผักใบเขียว ผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่ว เต้าหู้
  2. ได้รับวิตามินดีให้เพียงพอ เนื่องจากวิตามินดีจะเป็นตัวช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งร่างกายเราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีได้จากแสงอาทิตย์
  3. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานและเค็มจัด เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้กระดูกพรุนได้ง่ายกว่าปกติ
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 15 – 20 นาทีเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงและเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก เช่น การเดิน การวิ่ง กระโดดเชือก ยกน้ำหนัก เป็นต้น

ที่กล่าวมาแล้วนั้นคือ อาการหมดประจำเดือนในวัย 40 และอาการหมดประจำเดือนก่อนวัย แต่หากคุณแม่ในวัย 40 มีอาการประจำเดือนผิดปกติ แต่ไม่มีอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนร่วมด้วย แสดงว่าไม่ใช่ภาวะหมดประจำเดือน แต่อาจมีความผิดปกติภายในอื่น ๆ ที่ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วค่ะ

 

ข้อควรระวัง เมื่อประจำเดือนผิดปกติ

ข้อควรระวังของผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปคือ หากคุณแม่ผิดปกติต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะเป็นอาการสำคัญว่า อาจเกิดจากโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูกได้

  • ประจำเดือนมามากหรือมานาน
  • ประจำเดือนมากะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน หรือมาไม่เป็นรอบ
  • ประจำเดือนหยุดไปหลายเดือนและอยู่ ๆ ก็มาอีกพร้อมกับมีเลือดออกมาก
  • ประจำเดือนหยุดไปแล้วครบ 1 ปี และกลับมามีอีก

คุณแม่ได้ทราบแล้วว่าวัยหมดประจำเดือนนั้นเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปซึ่งไม่ถือว่าผิดปกติ ซึ่งผู้หญิงทุกคนต้องเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การใช้ชีวิตให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรง และหมดประจำเดือนในวัยที่เหมาะสม การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณแม่รู้เท่าทันความผิดปกติของร่างกาย หากรู้เร็วก็จะสามารถรับมือได้ทันและบรรเทาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน

 

หมดประจำเดือน

 

ฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง

ผู้หญิงในช่วงวัยทองจะมีการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมาก ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา ปัจจุบันผู้หญิงบางกลุ่มจึงหันมาใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อลดปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และทางด้านอารมณ์ดังกล่าว รวมถึงช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง เป็นต้น

ฮอร์โมนทดแทนที่มีการใช้ในวัยทอง คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ร่างกายขาดไปนั่นเอง นอกจากนั้น ยังใช้สารอื่นที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ โปรเจสเตอโรน

 

รูปแบบการใช้ฮอร์โมน

  • โดยการกินยา ทำให้ระดับไขมันที่ดีสูงขึ้น แต่จะทำให้ฮอร์โมนในเลือดไม่คงที่จากตับถูกทำลาย
  • โดยการฉีด ยาจะไม่ผ่านตับ และระดับไขมันที่ดีจะไม่เพิ่มเหมือนชนิดกิน
  • การใช้แผ่นปิด (estrogen-filled patch)โดยใช้ปิดที่แขนหรือก้น สามารถใช้ได้หลายวัน
  • การฝังฮอร์โมน วิธีนี้จะทำให้ฮอร์โมนในเลือดสูงเกินมากกว่าปกติ 2-3 เท่า
  • ครีมฮอร์โมนทาที่ผิวหนัง
  • ครีมฮอร์โมนทาที่ช่องคลอด ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่มีอาการช่องคลอดแห้ง

 

ประโยชน์ของฮอร์โมนทดแทน

  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ลดอาการวัยทอง
  • ลดอาการร้อนวูบวาบ
  • ลดอาการช่องคลอดแห้ง และคัน ทำให้ช่องคลอดเต่งตึง ไม่แห้ง
  • ลดอาการปัสสาวะเล็ด
  • ใช้รักษาอาการร้อนวูบวาบ
  • ใช้ลดอารมณ์แปรปรวน และนอนไม่หลับ
  • ใช้ป้องกันโรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม มะเร็งลำไส้ และลดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 12 วิธีธรรมชาติในการปรับสมดุลฮอร์โมนของคุณ ฮอร์โมนไข่เพื่อสุขภาพคืออะไร

 

หมดประจำเดือน

 

ผลเสียของการใช้ฮอร์โมนทดแทน

  • เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ในปริมาณที่สูง และใช้ติดต่อกันนาน 10-15 ปี ซึ่งการใช้ฮอร์โมนทดแทน ไม่ควรใช้ติดต่อนานเกิน 5 ปี
  • มีโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้ำดี โดยเฉพาะการใช้แบบรับประทาน หากต้องการป้องกันโรคดังกล่าว ควรใช้แบบชนิดปิดหรือชนิดทา

 

ข้อแนะนำการใช้ฮอร์โมน

  • สำหรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทา ให้ทาวันละ 1 กรัม/ครั้ง
  • ใช้ทาบริเวณหน้าขา หรือแขน และสามารถทาโลชั่นอื่นได้ตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการทาบริเวณหน้าอก หน้าท้อง และอวัยวะเพศ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวใกล้อวัยวะภายใน ตัวยาอาจซึมเข้าสู่อวัยวะภายในผ่านต่อมน้ำนมได้

 

บทความจากพันธมิตร
Ask The Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ ลูกปลอดภัย ไกลยุงร้าย ง่ายนิดเดียว
Ask The Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ ลูกปลอดภัย ไกลยุงร้าย ง่ายนิดเดียว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

หมดประจำเดือน ในวัย 40 อาจเกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากฮอร์โมนรังไข่ สภาพของมดลูก และสุขภาพของคุณ แต่หากคุณแม่มีอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน และช่องคลอดแห้ง อาจเข้าข่ายหมดประจำเดือนก่อนวัยได้ ดังนั้น ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีรับมือต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประจำเดือนขาดกี่วันท้อง ประจำเดือนไม่มา ท้องหรือเปล่า

20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับประจำเดือน เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

10 เหตุผลทำไมประจำเดือนไม่มา มีเหตุผลอะไรบ้างที่แม่ขาดประจำเดือน

ที่มา : bumrungrad, haamor, library.stou, phukethospital

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไขข้อข้องใจ! หมดประจำเดือน ในวัย 40 ถือว่าผิดปกติหรือไม่?
แชร์ :
  • ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่นอนไม่เต็มอิ่ม เสี่ยงสุขภาพจิตพังทั้งครอบครัว!

    ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่นอนไม่เต็มอิ่ม เสี่ยงสุขภาพจิตพังทั้งครอบครัว!

  • เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

    เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่นอนไม่เต็มอิ่ม เสี่ยงสุขภาพจิตพังทั้งครอบครัว!

    ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่นอนไม่เต็มอิ่ม เสี่ยงสุขภาพจิตพังทั้งครอบครัว!

  • เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

    เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว